บทที่ 4
คอมพิวเตอร์กับการสร้างอาชีพ

 

นอกจากการศึกษาเนื้อหาคอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ แล้ว ควรศึกษาหาช่องทางที่จะนำความรู้ ไปประยุกต์ใช้ด้วย เป็นการหารายได้เสริมอีกทางหรือหากคุณมี อาชีพหลักด้านคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว ก็จะได้มีช่องทางในการสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น

 

อาชีพเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์สามารถนำไปประยุกต์สร้างเป็นอาชีพต่างๆ ได้มากมาย ซึ่งผู้เขียน ขอแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มพนักงานบริษัทและกลุ่มอาชีพ อิสระ

พนักงานบริษัท
ส่วนมากจะเป็นผู้ที่จบมาทางด้านคอมพิวเตอร์โดยตรง หรือไม่ก็ศึกษาด้วยตนเองและมีผลงาน ด้านคอมพิวเตอร์มาเสนอ ขณะสมัครงานด้วย หากเป็นงานที่เกี่ยว กับการวางระบบ การพัฒนาโปรแกรม โอกาสที่จะรับผู้ที่ไม่ได้จบมาโดยตรงจะค่อนข้างน้อยกว่า บางที่ให้ความสำคัญมาก เพราะผู้จบมา โดยตรงย่อมมีพื้นฐาน สามารถอบรมเพิ่มเติมได้ไม่ยาก

ตำแหน่งงานต่างๆ ของกลุ่มพนักงานบริษัท
1. Programmer, Computer Support, นักวิเคราะห์ระบบ นักออกแบบโปรแกรม ตำแหน่ง เหล่านี้จะเน้นรับผู้ที่จบมาโดยตรง
2. Computer Graphic เป็นตำแหน่งที่เน้นรับผู้ที่จบมาด้านศิลปที่สามารถใช้คอมพิวเตอร์ โปรแกรมออกแบบกราฟิคได้ด้วย งานนี้อาจมีลุ้นสำหรับบุคคลทั่วๆ ไป ขอเพียงมีผลงานดีๆ นำ เสนอบวกกับมีฝีมือดี ก็หางานได้ไม่ยาก
3. ช่างซ่อม-ประกอบเครื่อง ติดตั้งโปรแกรม ด้านนี้เน้นผู้มีประสบการณ์มากกว่า ไม่จำเป็น ต้องจบโดยตรง หรืออาจไม่จำเป็นต้องมีวุฒิปริญญาด้วยซ้ำ (ทางร้าน จะได้กดค่าแรงได้ต่ำๆ หน่อย)
4. อาจารย์สอนคอมพิวเตอร์ตามสถาบันต่างๆ เน้นผู้ที่จบด้านการสอน และมีความสามารถ ด้านคอมพิวเตอร์ เพราะสามารถฝึกหัดได้ง่าย แนวนี้ถ้าคุณจบ ปริญญาตรีขึ้นไป สาขาไหนๆ ก็ตาม ขอเพียงมีความสามารถด้านการสอนและคอมพิวเตอร์

อาชีพอิสระ
เป็นกลุ่มที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ที่ต้องการประกอบธุรกิจของตนเอง เป็นเจ้านายตัวเอง ซึ่งก็มีมากมายหลายอาชีพเช่น
1. บริษัทจำหน่ายซอฟท์แวร์ อาจผลิตเพื่อจำหน่ายเอง หรือนำเข้ามาจำหน่าย หรือรับหน้าที่ เป็นตัวแทนจัดจำหน่าย

2. โปรแกรมเมอร์ อาจเป็นการรวมตัวกันตั้งเป็นบริษัทหรือลุยเดี่ยว ขึ้นอยู่ความเก่งกาจและ ลักษณะโปรแกรมที่พัฒนา ถ้าเป็นการพัฒนาหรือรับเขียน โปรแกรมที่เกี่ยวกับงานบัญชี ระบบงาน ขนาดใหญ่ คงต้องทำเป็นทีม หลายคนช่วยกัน หากเป็นงานขนาดเล็ก ออกแบบโปรแกรมสำหรับงาน ในโรงเรียนหรือหน่วย งานขนาดเล็กก็สามารถลุยเดี่ยวทำคนเดียวได้ แต่งานอาจหนักหน่อยถ้าเป็นการ ผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายเอง เพราะจะต้องรอบรู้หลายด้านประกอบกัน เช่น งานผลิต โปรแกรมเกี่ยวกับ ซีดีสอนต่างๆ คุณต้องรู้ทั้งเนื้อหาของงานที่จะทำรู้วิธีสอน วิธีการออกแบบผลิตภัณฑ์ การหาตลาด ฯลฯ
ลักษณะการเขียนโปรแกรมหรือพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูป ที่น่าจะยังไปได้ดี ยังพอมีทางทำ ตลาดได้ (แต่ก็ขึ้นอยู่กึ๋นด้านธุรกิจของคุณด้วย) เช่น

2.1. โปรแกรมประเภทรวมความรู้หรือเรื่องน่าสนใจ อาจมีราคาไม่แพงนัก เน้นการหา สปอนเซอร์มาเป็นทุนในการผลิต อาจจัดทำเป็นแผ่นซีดีรอมหรือหนังสือ พร้อมซีดีรอมประกอบ เนื้อหา ด้านในอาจมีแบนเนอร์โฆษณาของแต่ละสปอนเซอร์ที่ให้ทุนมา ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ แต่คงนึกกัน หัวหมุนเหมือนกันว่าจะเขียน โปรแกรมเกี่ยวกับอะไรดี สำหรับตัวอย่างที่มีวางจำหน่ายบ้างแล้ว เช่น ซีดีรวมหมายเลขโทรศัพท์ ซีดีรอมรวมสถานที่ท่องเที่ยวในเมืองไทย เป็นต้น

2.2. ซีดีรอมสอนการใช้โปรแกรมต่างๆ หรือเสริมการเรียน ติวเตรียมตัวสอบ ตลาดแนวนี้ แม้จะมีคู่แข่งมาก แต่ก็ยังพอไปได้เรื่อยๆ ความเสี่ยงก็ไม่มากนัก จะ หนักหน่อยก็การลงทุนครั้งแรก ต้องทำซีดีอย่างน้อย 1000 แผ่น ลงทุนประมาณ 35000 บาท ตกแผ่นละ 35 บาท ส่วนราคามักตั้งกัน ค่อนข้างสูง ความเสี่ยงน้อย มาก แต่ควรเลือกโปรแกรมที่เป็นที่นิยมมากๆ และเลือกผลิตให้แหวกแนว จากที่คนอื่นๆ ผลิตออกมาด้วย เพื่อความสบายขายคล่อง

2.3. โปรแกรมเฉพาะทาง เป็นโปรแกรมที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของโปรแกรมเมอร์ แต่ละคน เช่น โปรแกรมแปลไทย ช่วยให้การแปลข้อความ ภาษาอังกฤษเป็นไทยทำได้ง่ายขึ้นแนวนี้ทำ ตลาดยาก ไม่ใช่เพราะโปรแกรมไม่ดี แต่คนนิยมก็อปปี้มากกว่าซื้อของแท้ โปรแกรมเมอร์ดีๆ แบบนี้ เลยรอดยาก เพราะคนไทยเราเก่งเรื่องการแก้ ป้องกันอย่างไร ไทยแก้ได้หมด นี่นับว่าเป็นความอัจฉริยะ ประการหนึ่ง การพัฒนาโปรแกรมบางตัว จึงกลายเป็นไปในลักษณะเพื่อ ประโยชน์ส่วนรวมไปเลย ไม่ได้ เบี้ยแต่ก็ได้บุญ ส่วนบางโปรแกรมที่ยังมีขายอยู่บางทีก็แพงเกินไป ( คิดๆ ไปก็สมควรแล้วที่โดนก็อปปี้)

2.4. โปรแกรมด้านฐานข้อมูล การบริหารงานในหน่วยงานขนาดเล็ก แนวนี้ก็ยังไปได้เรื่อยๆ ยังมีทางทำตลาดได้ บางท่านทำ โปรแกรมสำหรับงานโรงเรียนโดย เฉพาะ โดยเน้นการขายตรงมากกว่า ติดต่อลูกค้าที่เป็นโรงเรียนต่างๆ ด้วยตนเอง มีการแก้ไขข้อมูลบางอย่างให้เหมาะสมกับโรงเรียนนั้นๆ โดยเฉพาะเช่นเครื่อง หมายประจำโรงเรียน ทำให้ยากต่อการก็อปปี้ เพราะในการพิมพ์ ใบประกาศนียบัตร ต่างๆ ที่ต้องมีเครื่องหมายประจำโรงเรียน เมื่อก็อปปี้ไปแล้วก็ไม่สามารถนำไป ใช้ได้ คุณอาจนำเทคนิคนี้ ไปประยุกต์ใช้ก็ได้ แต่จะเหนื่อยหน่อย เพราะหาลูกค้าได้น้อยกว่า และต้องติดต่อโดยตรงเองทุกรายด้วย และแต่ละรายก็เชื่อเหลือเกินว่า จะต้องมีการตัดแปลงจนกว่าจะสมใจลูกค้า ก็ไม่เป็นไร เพราะกินยาว อยู่แล้ว ทุกครั้งที่โปรแกรมมีปัญหา ก็ต้องเรียกเราไปจัดได้ วางกับดักไว้ปีละครั้ง ก็ได้กินทุกปี ความคิด ชั่วร้ายจริงๆ ให้ตายเถอะ!!! รูปแบบสินค้าอาจทำออกมาเป็นแผ่นซีดีรอม แผ่นดิสก์แล้ว แต่ความใหญ่ เล็กของโปรแกรม

3. อาจารย์สอนคอมพิวเตอร์ ช่วงหลังๆ เศรษฐกิจค่อนข้างแย่ สถาบันสอนคอมพิวเตอร์ หลายที่พากันปิดตัวลง อาชีพแนวนี้ก็เลยลำบากหน่อย แต่การสอนตาม บ้านหรือหน่วยงานต่างๆ ก็ยัง พอมีทางไปได้ แต่ต้องเตรียมตัวพอสมควร เตรียมเอกสารประกอบการสอน แบบฝึกหัด ศึกษา โปรแกรมต่างๆ ให้รอบรู้ลึกซึ้งพอ สมควร และจะให้ดีผู้สอนควรสอบประกาศนียบัตรต่างๆ เพื่อเสริม บารมีให้กับตัวเอง โอกาสในการหางานจะได้ง่ายขึ้น เช่น สอบประกาศนียบัตรต่างๆ เกี่ยวกับการ สอน โปรแกรมของบริษัทไมโครซอฟท์ Microsoft Windows 98 Microsoft Office ฯลฯ จะทำให้ดู มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น เพราะจะเป็นตัวยืนยันว่า คุณเป็นผู้รู้ จริงเกี่ยวกับโปรแกรมนั้นๆ สำหรับผู้มี เงินทุนหนาสักหน่อย อาจเปิดสถาบันสอนคอมพิวเตอร์ สำหรับช่วงนี้ก็มีเปิดกันพอสมควร โดยเฉพาะ เนื้อหาที่เกี่ยวกับ อินเตอร์เน็ต กราฟิคสามมิติ การซ่อมประกอบเครื่อง ค่อนข้างจะไปได้ดี

4. บริการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ (Maintenance) เป็นงานที่ค่อนข้างเหนื่อยหน่อย แต่หาก มีการจัดการที่ดี ก็น่าสนใจ มีหลายบริษัทที่รับดูแลระบบ คอมพิวเตอร์ให้กับองค์กรต่างๆ โดยคิดค่า บริการเป็นรายเดือนหรือรายปีหรือตามแต่จะเรียกใช้ แนวนี้ลงทุนน้อย ใช้สมองเป็นส่วนมาก ควรจะมี เพื่อนๆ ช่วยกัน หลายคน เพื่อกระจายกันทำงาน แต่ต้องกำหนดขอบเขตการบริหาร ให้ชัดเจนให้ลูกค้า รู้ว่า ขอบเขตบริการจำกัดเพียงใด ไม่เช่นนั้นเหนื่อยตายแน่ เพราะลูกค้าส่วน ใหญ่จะแยกไม่ออกว่า ส่วน ใดที่เป็นส่วนที่ต้องบริการ เช่น บริการดูแลเฉพาะระบบมีปัญหา โปรแกรมทำงานแปลกๆ รวนบ่อย แต่มีลูกค้าที่ใช้โปรแกรมบางตัวไม่เป็น ก็ถามปัญหาเกี่ยวกับวิธีใช้โปรแกรมเหล่านั้นๆ กรณีนี้ต้องชี้ ให้เห็นข้อแตกต่างชัดๆ ลงไปเลยว่า เกินความรับผิดชอบ เป็นต้น อีกเรื่องที่สำคัญก็คือเรื่องเงิน บริหาร ให้ดีก็แล้วกัน ทำให้เพื่อนๆ แตกคอกันได้ง่ายๆ

5. จัดตั้งศูนย์ซ่อมคอมพิวเตอร์ เน้นบริการ ไม่ขูดรีดให้มากนัก รับประกันการซ่อม หรือจัด ทำเป็นสมาชิกรายปีสำหรับลูกค้าที่เป็นบริษัท ก็ยังพอมีช่องทางไป ได้

6. รับออกแบบกราฟิคสื่อสิ่งพิมพ์ เกี่ยวกับการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ช่วงนี้เป็นช่วงขาลง ไม่ค่อย มีงานเข้ามาเท่าไรนัก แต่ก็สามารถดัดแปลงไปได้เรื่อยๆ จาก เดิมที่เคยรับทำสิ่งพิมพ์ ก็เปลี่ยนมาถ่าย สติ๊กเกอร์แทน ออกแบบโฮมเพจ แสกนภาพ ฯลฯ ประยุกต์ไปตามสถานการณ์ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับกึ๋นของคุณ แต่ข้อเสียก็คือ การ ลอกเลียนแบบ เมื่อคุณทำออกมาประสบความสำเร็จก็จะมีคนเลียนแบบ บางทีก็แย่ เหมือนกัน กว่าจะคิดออก ก็ตั้งนาน ยังไม่คุ้มทุน ก็มีคู่แข่งตามมาเพียบ

7. Web Designer รับบริการออกแบบเว็บเพจ โฮมเพจ งานแนวนี้ก็ไม่ต่างกับงานออกแบบ สิ่งพิมพ์เท่าไรนัก ช่วงนี้มีนักออกแบบเว็บมากมาย เกิดขึ้นมาราวกับ ดอกเห็ด ประกอบกับได้มีการสร้าง โปรแกรมช่วยในการสร้างเว็บไซท์ที่ใช้งานง่ายมากกว่าเดิมมาก ทำให้แนวโน้มการหางาน ทำได้ไม่ง่ายนัก นอกจากจะมีลูกเล่น แพรวพราวและรู้เทคนิคชั้นสูงที่คนส่วนใหญ่เป็นกันน้อย เช่น การเขียน CGI หรือ ASP การสร้างเว็บไซท์เพื่อติดต่อกับฐานข้อมูล การจัดทำระบบอินทราเน็ต ซึ่งไม่ เป็นเพียงการสร้าง โฮมเพจอย่างเดียว แต่ต้องรู้เรื่องระบบเน็ตเวิร์คด้วย แนวนี้ค่อนข้างยากเกินกว่าคนส่วนใหญ่จะทำได้

8. นักเขียน เป็นงานที่ต้องใช้ความอดทน ทุ่มเทอย่างมากถึงมากที่สุด กว่าจะนำอักษรแต่ ละตัวมาประสมกันจนกลายเป็นหน้า กว่าจะรวมแต่ละหน้าเป็นเล่มทั้ง เล่ม เนื้อหามีความสัมพันธ์กัน และพอเป็นเล่มแล้วต้องขายได้ด้วย ไม่เช่นนั้นก็จบกัน แต่หากผลงานเข้าตาประชาชน ก็หาเงินแสนมา นอนกอดได้ไม่ยาก อาจเริ่ม ต้นจากการเป็นนักเขียนให้กับนิตยสารเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ต่างๆ โดยส่ง บทความไปให้ทางกองบรรณาธิการพิจารณา แล้วค่อยๆ พัฒนาฝีมือ เขียนเป็นเล่มเสนอ สำนักพิมพ์ต่างๆ แต่ถ้าเล่มไหนที่คิดว่าขายได้แน่ๆ และมีเงินทุนพอ ก็ทำเองไปเลย คุ้มกว่า ความเสี่ยงน้อยมาก อย่างไร ก็ไม่ขาดทุนอยู่แล้ว ในการทำหนังสือต้อง พิมพ์อย่างน้อย 3000 เล่ม ใช้ทุนมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่ กับความหนาบางของหนังสือ ปีหนึ่งๆ ผลิตผลงานดีๆ คุณภาพคับแก้วสักสองสามเล่ม ก็ไม่ต้องไปทำ อะไรอย่างอื่นแล้ว รับรองมีเงินเหลือเฟือ เผื่อไว้ใช้ปีหน้าได้สบาย แต่บอกไว้ก่อนว่าไม่ง่ายอย่างที่คิด ไม่เช่นนั้นก็คงจะมีนักเขียนกันเกลื่อนเมือง ถนนสายนี้เหมาะ สำหรับผู้ที่ชอบเข็นครกใบโตขึ้นภูเขาหรือ ฝนทั่งให้เป็นเข็มที่เล็กและดีที่สุดในโลกเท่านั้น
ความเสี่ยงสูงพอสมควรสำหรับหนังสือแนววิชาการ โดยเฉพาะด้านคอมพิวเตอร์ ก็เพราะไอ้การ ลอกเลียนแบบอีกนั่นแหละ ก็ปล่อยวาง เป็นเรื่องของตลาด การค้า เสรี อย่าไปคิดมาก ปวดหัว

9. อินเตอร์เน็ตคาเฟ่ เป็นบริการให้เช่าใช้อินเตอร์เน็ตควบคู่กับการเสริฟอาหารและเครื่องดื่ม ต่างๆ ก็พอไปได้ ส่วนมากจะไม่เปิดอินเตอร์เน็ตอย่างเดียว อาจมีเกมให้เล่นด้วย บางทีก็มีหนังสือ การ์ตูนให้เช่าด้วย มีรายได้จากอันนั้นนิดอันนี้หน่อย แต่รวมๆ แล้วก็อยู่ได้สบาย สิ่งสำคัญก็คือทำเล หากมีงบและทำเลดี ก็ น่าลงทุน แต่ควรศึกษาเกี่ยวกับการเซ็ตระบบให้เป็นด้วย จะได้แก้ปัญหาเองได้ นอกจากนี้หากไม่มีงบมากพอ การรับบริการติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ก็เป็นอีก อาชีพหนึ่งที่น่าสนใจ แต่จัดบริการให้ดีก็แล้วกัน เพราะร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่มีปัญหาเกิดขึ้นกันได้ทั้งวัน สุดท้ายก็เตรียม ยาแก้ปวดหัวไว้ด้วย

10. ร้านบริการพิมพ์งาน เข้าเล่ม หากคุณเปิดร้านออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ก็อาจบวกบริการนี้เพิ่ม เข้าไปด้วยก็ได้ ลงทุนไม่สูงมากนัก หาทำเลใกล้ๆ สถานศึกษา ก็ ยังพอมีงานเข้ามาเรื่อยๆ

11. บริการสร้างสื่อแบบมัลติมีเดีย ตัดต่อวิดีโอ บันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดี สร้างงานนำเสนอข้อมูล หรือสินค้าในรูปแบบมัลติมิเดีย

12. ครอบจักรวาล หากคุณแน่ใจว่าได้ศึกษาวิทยายุทธด้านคอมพิวเตอร์อย่างลึกซึ้งแล้วละก็ สร้างทีมให้แกร่งเสียก่อน แล้วรับบริการให้หมด ทั้งเขียนโปรแกรม ออกแบบเว็บ สื่อสิ่งพิมพ์ บริการ ดูแลระบบ นักเขียน ขายเครื่องซ่อมเครื่อง ฯลฯ รับรองว่ารวยเละเลยครับ เจ้านาย (แต่อายุอาจไม่ยืน เพราะทำงานหนัก วัดส่วนสูง ส่วนหนาของร่างกาย เผื่ออืด แล้วก็หาวัดเผื่อไว้เผาด้วย เอ้อ... สาธุ)
การประกอบอาชีพด้านนี้ที่ไม่ค่อยจะมีความเสี่ยง ก็ต้องทำแบบข้ามาคนเดียว คือ ต้องฝึกตน เองให้เก่งหลายๆ ด้าน ไม่ต้องเปิดเป็นสำนักงานหรูหราให้เปลืองค่า เช่า เน้นการบริการแบบเข้าถึงตัว ลูกค้า เช่น การเขียนโปรแกรม งานสอน งานขาย ผู้เขียนเองก็มีชีวิตแบบนี้ ทำงานเสร็จส่งงานให้ ตัวแทนขาย เวลาที่เหลือก็พักผ่อน ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม หามุขใหม่ๆ มาสร้างงานต่อ สิ่งสำคัญที่ต้อง ระวังให้จงหนัก ก็คืออย่าทำอะไรเกินตัวและไม่แน่ใจว่าจะคุ้มค่าหรือไม่กับเงินที่ลงไป มองหา ช่องว่าง และจังหวะเด็ดๆ แล้วค่อยเสียบ