สรุปข้อมูลของ มะรุม พืชผักที่มีประโยชน์มาก ทั้งใช้เป็นเมนูอาหาร ขนม อาหารเสริม และยังมีสรรพคุณ ในการใช้ มะรุม เป็นยารักษาอาการ เจ็บป่วย ต่างๆ หรือ บำรุงสุขภาพ ตลอดจนตัวอย่างการแปรรูป มะรุม เป็นสินค้าแบบต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจ ปลูกไว้เป็นอาหาร หรือ ปลูกไว้ขายเพื่อสร้างรายได้

 

ข้อมูลทั่วไปของ มะรุม

มะรุม เป็นพืชผักพื้นบ้าน ที่นำยิมปลูก ตามริมรั้ว มีชื่อภาษาอังกฤษว่า moringa ส่วนชื่อภาษาไทย นั้นมีหลายชื่อ ตามภูมิภาค เช่น มะรุม อีฮุ้ม มะค้อนก้อม กาแน้งดิน มะรุมเป็นไม้ยืนต้นที่ค่อนข้างทนแล้ง ปลูกง่าย นิยมปลูกตามข้างรั้ว บางคนไม่นิยมปลูกไว้ในบ้าน เพราะเชื่อว่าจะนำมาซึ่ง ปัญหารุมเร้า แต่บางคนก็ปลูกไว้หน้าร้าน เชื่อว่าให้มีคนมารุม มาเข้าร้านเยอะๆ มะรุมเป็นต้นไม้ที่ดูแลง่าย บางคนปลูกไว้หน้าบ้านริมถนน ไม่เคย ต้องรดน้ำ ก็ออกดอก ออกฝักทั้งปี

 

มะรุม ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ทั้ง ดอก ใบ ยอดอ่อน ฝักอ่อน เมล็ด เปลือก ความสูงของต้นอาจจะไม่มาก ตามแต่สภาพดิน และปัจจุบันก็ยังมี การพัฒนาเป็นพันธุ์เตี้ยด้วยเช่นกัน บางพันธุ์ออกดอกในหน้าหนาว บางพันธุ์ออกดอก ออกฝักแทบตลอดปี ดอกมีรสขม เมล็ดแห้งมีรสขมออกหวาน กินแล้ว ต้องกินน้ำเย็นๆ ตามไปด้วย จะให้รสหวานหอมมาก ฝักอ่อนนิยมนำมาแกะเอาเนื้อ ทำแกงส้ม หรือใช้ทั้งฝัก โดยไม่แกะเนื้อก็ได้

 

การนำ มะรุม ไปประกอบอาหารแบบต่างๆ

มะรุม เป็นพืชผักพื้นบ้านที่สามารถนำมาทำอาหารได้หลายอย่าง เช่น
1. ง่ายที่สุด นำดอก นำยอดอ่อนมาลวก จิ้มน้ำพริก หรือ นำดอกไปดองกินกับน้ำพริกเช่นกัน หรือกินกับลาบ ก้อย
2. เมนูไข่เจียวดอกมะรุม
3. ยอดอ่อน นำไปผัดไฟแดง (ผัดคล้ายผักบุ้ง) หรือนำไปทำแกงใบมะรุมใส่หมู 3 ชั้น เลือกใบที่ไม่อ่อน และ แก่เกินไป


4. ฝักอ่อนนำมาแกะ ปอกเอาแต่เนื้อ นำไปทำแกงส้มแบบต่างๆ บางคนก็ไม่แกะ แค่ตัดเป็นท่อน แต่เวลากินจะลำบากสักหน่อย เพราะจะมีกาก
5. ฝักอ่อนนำมาแกะ ปอกเอาแต่เนื้อ นำไปทำผัดกับไข่
6. ฝักอ่อนนำมาแกะ ปอกเอาแต่เนื้อ นำไปดอง เพราะฝักจะออกจำนวนมาก กินไม่ทันแน่นอน ก็ต้องหาวิธีถนอมอาหาร เพราะหากปล่อยไว้ จนฝักแก่ ก็จะกินไม่ได้แล้ว เหนียว
7. ฝักอ่อนนำมาแกะ ปอกเอาแต่เนื้อ นำไปทำตำส้มตำ
8. ฝักอ่อนนำมาแกะ ปอกเอาแต่เนื้อ นำไปทำแกงอ่อม
9. ฝักอ่อนนำมาแกะ ปอกเอาแต่เนื้อ นำไปทำต้มจีด

 

คุณค่าทางโภชนาการชอง มะรุม

มะรุม มีแร่ธาตุ และวิตามินต่างๆ ที่เป็นจุดเด่น เช่น
1. วิตามิน เอบี6 บี2 ใบมีวิตามินซี สูง
2. มีแร่ธาตุ แคลเซียม แมกนีเซียม ใบมีธาตุเหล็ก
3. มีโปรตีน

 

สรรพุคณทางยา บำรุงร่างกาย ของ มะรุม

การใช้ มะรุม เป็นยารักษานั้น จะต้องศึกษาให้ดีเสียก่อน เพราะไม่ว่าจะเป็นยาแผนปัจจุบัน หรือ สมุนไพรจะมีผลข้างเคียงเสมอ มะรุมจะมีจุดเด่น ในการดังนี้
1. อาหารเสริม บำรุงสายตา สมอง ป้องกันมะเร็ง
2. ลดน้ำตาลในเลือด
3. ลดไขมันในเลือด
4. ช่วยบำรุงผิว
5. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย
6. ส่วนต่างๆ ของมะรุมมีส่วนช่วยป้องกันมะเร็ง
7. บำรุงสายตา
8. รักษาโรคที่เกี่ยวกับเลือด

 

โทษของ มะรุม

พืชผักทุกชนิด จะมีสรรพคุณทางยา หรือมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ขณะเดียวกัน ก็จะมีโทษด้วยเช่นกัน หากทานมากเกินไป กรณีของ มะรุม ก็ เช่นกัน เช่น
1. ในหญิงตั้งครรภ์ อาจจะทำให้แท้งบุตรได้
2. ไม่เหมาะสำหรับคนเป็นโรคเกาต์
3. ไม่เหมาะสำหรับคนเป็นโรคเกี่ยวกับเลือด
4. การกินเมล็ดมะรุมแก่จะเป็นยาระบาย ถ่ายท้อง จึงไม่ควรกินขณะเดินทาง
5. ในเด็กเล็กไม่ถึง 4 ขวบ อาจจะทำให้เกิดอาการท้องเสีย
6. รากมะรุม และสารสกัดจากราก ต้องศึกษาก่อนใช้งาน เพราะอาจจะเป็นพิษต่อร่างกาย

 

การปลูก มะรุม

การปลูกมะรุมมีหลายแบบ เช่น

ปลูกจากเมล็ด

การปลูกจากเมล็ด น่าจะเหมาะสำหรับคนที่ต้องการปลูกจำนวนมาก จะมีขายซองละสิบกว่าบาท ลองค้นหาได้จาก Google หรือร้านการเกษตร ใกล้บ้าน แต่ถ้าในพื้นที่ที่อยู่อาศัยจะมีต้นมะรุม ก็นำฝักแก่มาแกะเอาเมล็ดเพื่อปลูกได้เลย

 

 

ปลูกด้วยการปักชำกิ่ง

การปลูกด้วยการปักชำกิ่ง อาจจะซื้อยอดอ่อนจากตลาดสด นำมาแช่น้ำเครื่องดื่มชูกำลังกับกะปิ เพื่อเร่งราก หรือปักชำ ลองวิธีนี้ก่อน จะตัดสินใจ ซื้อเมล็ด หรือต้นจากเน็ตมาปลูก สำหรับมือให่ม่ที่ไม่แน่ใจว่า แบบใดจะได้ผล ก็ลองหลายแบบ เช่น ใช้ยอดอ่อน ใช้กิ่งเล็ก กิ่งใหญ่ ทดลองหลายแบบ จะไม่เสียเวลา เพราะอาจจะได้ผลสักทาง

 

การซื้อกล้าต้นมะรุมมาปลูก

ทุกวันนี้สามารถหาซื้อต้นมะรุมได้จากเน็ต ส่งถึงบ้าน ต้นเล็กหน่อย ก็ขายประมาณ 17 บาท ยังไม่รวมค่าส่ง ต้นใหญ่ก็ร้อยกวาบาท อาจจะซื้อต้น ใหญ่มาปลูก เพราะได้ทันใช้เลย การปลูกอาจจะเน้นแต่งกิ่ง ไม่ให้สูง ไว้กินใบ กินดอก หากพื้นที่มีจำกัด

 

ลงกระถางเอาไว้กินใบ กินยอด

การปลูกลงกระถาง ให้ตัดรากแก้วออก เพื่อไม่ให้ต้นใหญ่เกินไป ก็จะสามารถปลูกในกระถางได้ เอาไว้กินใบ กับดอก เป็นหลัก ส่วนมะรุมไว้กินฝัก ก็ต้องเน้นพันธุ์ฝักใหญ่

 

การปลูกมะรุมลงดิน

ในเรื่องนี้ก็เป็นการสังเกตุเป็นความคิดเห็นส่วนตัว มะรุมที่อยู่ในบริเวณที่อยู่อาศัยนั้น จะปลูกบนดินที่ไม่สมบูรณ์นัก เป็นดินถม ดินลูกรัง และ ปลูกไว้หน้าบ้าน ติดถนน ต้นไม่สมบูรณ์ ตามรูป แต่ออกดอก ออกฝักทั้งปี และทยอยออกอยู่เรื่อยๆ น้ำก็ไม่เคยรด ไม่เคยใส่ปุ๋ย ได้น้ำเฉพาะในหน้า ฝนเท่านั้น การตัดแต่งกิ่ง ก็เป็นอีกวิธีที่บางคนใช้วิธีนี้ ทำให้ออกดอก และดอกฝักบ่อยๆ แต่ฝักอาจจะไม่ค่อยสมบูรณ์ ฝักเล็ก

 

การแปรรูป มะรุม เป็นสินค้าแบบต่างๆ

สำหรับมะรุม จะมีการปลูกแล้วนำไปแปรรูปเป็นสินค้าได้หลายอย่าง ให้เลือกได้ตามสะดวก และงบ เช่น
1. การขายเมล็ดมะรุมตากแห้ง ทั้งแบบแกะแล้ว และยังไม่แกะเปลือก
2. การขาขเมล็ดพันธุ์ สำหรับนำไปเพาะปลูก ให้เน้นการพัฒนาพันธุ์ที่มีฝักใหญ่
3. การขายต้นกล้า ต้นมะรุม การส่งต้นไม้เล็กๆ เหล่านี้ผ่านโปรษณีย์ไม่ใช่เรื่องยาก
4. การนำเมล็ดมะรุมมาสกัดเป็นผง หรือทำเป็นแคปซูล หรืออัดเม็ด
5. การนำใบมะรุมมาบดเป็นผง หรือทำเป็นแคปซูล หรืออัดเม็ด
6. การนำใบมะรุม หรือ เมล็ดแก่ มาบดเป็นผง ไว้ชงดื่ม
7. การขายใบตากแห้ง
8. นำฝักอ่อน มาบูดเอาแต่เนื้อ เพื่อนำไปดอง
9. การขายฝักมะรุมสด เพื่อนำไปทำอาหาร ยอดนิยมอย่างแกงส้ม
10. การนำเมล็ดมะรุมสด ไปสกัดเอาน้ำมัน เพื่อนำไปเป็นส่วนประกอบในการทำเครื่องสำอางค์
11. นำเมล็ดไปสกัดเป็นน้ำมันมะรุม
12. ฝักที่แกะเมล็ดแล้ว นำไปทำปุ๋ย
13. ใบใช้เป็นอาหารสัตว์
14. ใช้เปลือก ราก สกัดเป็นยา 

 

 

สรุป

สำหรับข้อมูลของ มะรุม ก็หวังว่า คงจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านใดที่สนใจ ทั้งเพื่อนำมาใช้เป็นอาหาร เป็นยารักษาความเจ็บป่วยของร่างกาย บำรุงร่างกาย หรือ ปลูกเพื่อแปรรูปเป็นสินค้า ในรูปแบบต่างๆ ไว้สร้างรายได้ ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา