ความหมาย : สำนวนนี้มักจะใช้พูดเปรียบเทียบคุณลักษณะของคนที่เก่ง แต่ไม่แสดงออกให้ใครรู้ และก็ดูไม่ออกว่าเป็นคนเก่ง จะรู้ก็ต่อเมื่อลงมือทำจริง

ตัวอย่าง :

การเป็นคนประเภท คมในฝัก นั้นเป็นเรื่องดี ไม่อวดรู้ อวดเก่งว่าตัวเองเก่งให้คนอิจฉาริษยา และก็ดูไม่ออกด้วยว่าเป็นคนอย่างไร ดูเป็นคนธรรมดามาก แต่จะรู้ว่าเป็นของจริง เก่งจริง ก็ต่อเมื่อได้ลงมือทำ

ในที่ทำงาน ก็มีคนประเภท คมในฝัก ไม่น้อย บางคนก็เลือกที่จะไม่ทำอะไร ไม่แสดงตัว เพราะอาจจะทำให้เดือดร้อน ใครเก่งคนนั้นก็มักจะได้รับหมอบหมายงานมากกว่าคนอื่น คนเก่งบางคน จึงเลือกจะเป็นคนที่คมอยู่ในฝัก เก่ง รู้จริง แต่ไม่แสดงออกให้ใครรู้ และก็ดูไม่ออกเลย

คนเราทุกวันนี้ หากเจอใครที่เป็นคนเก่ง เป็นคนมีความสามารถ ส่วนใหญ่มักจะไหว้วานหรือรบกวนขอควาช่วยเหลือ การวางตัวเป็นคนที่ คมในฝัก บางทีก็เป็นเรื่องดี ทำให้สิ่งที่ควรทำ ช่วยคนที่ควรช่วยจะดีกว่า ช่วยคนเห็นแก่ตัวที่หวังจะมาให้คนอื่นช่วยเหลือโดยไม่ช่วยพยายามช่วยเหลือตัวเอง

ในการสอบเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยนั้น นักเรียนหลายคนจะเป็นประเภท คมในฝัก เวลาเรียนในห้องเรียน เกรดที่ได้ ก็ไม่ดีนัก แต่กลับสอบเข้าที่เรียนดีๆ ได้ แต่เด็กเรียนเก่งบางคนสอบที่ไหนก็ไม่ติดสักที่