ความหมาย : สำนวนนี้ใช้กล่าวถึงคนที่ชอบพูดโกหก หลอกลวง เป็นเด็กเลี้ยงแกะ จนขาดความน่าเชื่อถือ พูดอะไรใครก็ไม่เชื่อ แม้จะพูดเรื่องจริงก็ตาม คนฟังก็จะคิดว่า คำฑูดนั้นไม่จริง โกหก ซึ่งอาจจะเป็นผลร้ายกับตัวเองหากมีเหตุร้ายเกิดขึ้นกับตัวเอง การขอความช่วยเหลือจากคนอื่น ก็จะไม่มีใครให้ความช่วยเหลือเพราะไม่เชื่อว่าเป็นเรื่องจริง

ตัวอย่าง :

การทำตัวเองเป็น เด็กเลี้ยงแกะ ไม่ใช่เรื่องดี เพราะการพูดโกหกบ่อยๆ จนคนอื่นมองว่าเราเป็นคนที่ชอบโกหก ก็จะไม่มีใครเชื่อถือ พูดอะไรออกไปก็จะไม่มีใครสนใจ ด้วยคิดว่าเรากำลังพูดโกหก

สำนวน เด็กเลี้ยงแกะ มีที่มาจากการที่เด็กที่เลี้ยงแกะต้องระวังหมาป่า ที่จะมากินแกะ จึงนึกสนุกด้วยการแกล้งตะโกนบอกชาวบ้านว่า มีหมาป่าจะมากินแกะ แต่พอชาวบ้านพากันมาช่วย ก็ปรากฏว่าโดนหลอก เด็กโกหก จนกระทั่งหมาป่ามาจริงๆ ก็ไม่มีใครเชื่อ สุดท้าย แกะก็โดนหมาป่าจับกิน ทำให้ตัวเองเดือดร้อนจากการทำตัวเป็น เด็กเลี้ยแกะ ชอบพูดโกหกคนอื่น

บางครั้ง เราก็ไม่ได้อยากทำตัวเป็น เด็กเลี่้ยงแกะ เพียงแต่การที่ต้องเฝ้าระวังทรัพย์สิน หากเกิดความตกใจ หรือกลัว อาจจะทำให้ขาดสติพิจารณาให้รอบคอบ จึงพูดในเรื่องที่ไม่จริงออกไป ดังนั้นก่อนจะพูดอะไร บอกอะไรใคร ก็ควรพิจารณาให้ดีเสียก่อน เพราะหากคนอื่นมองว่า เราเป็นเด็กเลี้ยงแกะ ไปแล้ว คราวนี้ จะทำอะไร ก็จะลำบาก เพราะขาดความน่าเชื่อถือ ผู้คนรอบข้างพากินคิดว่า เราเป็นคนชอบโกหก

สำนวน สุภาษิตที่ คล้ายกัน :

บางคนแก่แล้ว ก็ชอบทำตัวเป็นเด็กเลี้ยงแกะ แกล้งป่วย เพื่อเรียกร้องความสนใจจากลูกหลาน จนเมื่อถึงเวลาป่วยจริงๆ บางทีลูกหลาน คิดว่า แกล้ง หรือโกหก จึงไม่สนใจ ปล่อยให้เจ็บป่วยอยู่อย่างนั้น การทำตัวเป็นคนชอบโกหกจึงไม่เป็นผลดีต่อตัวเอง เพราะหากเป็นเรื่องจริง คนก็จะไม่เชื่อ ทำให้ตัวเองเดือดร้อนได้