ความหมาย : สำนวนนี้มักจะใช้พูดเพื่อนสอนในเรื่องการพูด หากเรื่องใดไม่เป็นประโยชน์ ก็นิ่งเสีย ไม่พูดอะไรเลยจะดีกว่า พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง พูดไปก็ไม่มีประโยฃน์ คนฟังไม่ยอมฟัง

ตัวอย่าง :

สำหรับคนที่เอาแต่ความคิดตัวเองเป็นใหญ่ ไม่พังใคร คนแบบนี้มีมากมายรอบตัวเรา การพูดกับคนประเภทนี้ไม่มีประโยชน์ พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง นิ่งเงียบไม่พูดอะไรเสียดีกว่า บางคนนั้นนิสัยแย่มาก อยากจะพูดให้คนอื่นฟัง แต่จะไม่ฟังเวลาคนอื่นพูด ทำเป็นไม่สนใจ หากเจอะเจอคนประเภทนี้ ต้องใช้การเงียบ และหากอีกฝ่ายเป็นคนพูดมาก ก็ระวังอย่าไปฟังมาก ต้องหลีกเลี่ยงคู่สนทนาแบบนี้

การพูดแต่สิ่งดีๆ มีประโยชน์ สิ่งไม่ดี ไม่เหมาะสมก็จะไม่พูด นิ่งเงียบไว้ดีกว่า พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง การรู้จักพูดให้ถูกกาละเทศะอย่างนี้ บางทีก็ไม่เป็นเรื่องดีเหมือนกัน เพราะคนเรานั้น มักจะชอบฟังในสิ่งที่ตัวเองอยากจะฟัง แม้สิ่งที่จะพูดเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์ แต่ตัวเองไม่อยากจะฟัง ก็ไม่ควรพูดอะไรออกไป นิ่งเสียจะดีกว่า

การเป็นคนพูดน้อยเป็นเรื่องดี พูดในเรื่องที่สมควรพูด เรื่องไม่ควรพูดก็นิ่งเสีย เงียบไม่ต้องพูดอะไร พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง โดยเฉพาะกับคนบางประเภท ซึ่งต้องการความช่วยเหลือ แต่ต้องเป็นทรัพย์สินเงินทอง ไม่ใช่การให้ความรู้ หรือการแนะนำในเรื่องอาชีพ ซึ่งคนประเภทนี้บางคนไม่ต้องการทำงาน แต่ต้องการเงิน ต้องการความช่วยเหลือ ไม่ได้ต้องการคำแนะนำหรือความรู้ เพราะไม่ได้อยากจะลงมือทำ คนไม่ขยันทำมาหากิน ขี้เกียจ มีอยู่ไม่น้อยรอบตัวเรา โดยเฉพาะในสังคมระดับล่างๆ ดังนั้น การนิ่ง เงียบ ย่อมจะดีกว่า การแนะนำ หรือพูดอะไร แม้จะเป็นสิ่งที่ดีก็ตาม

การพูดมากเกินไป อาจไม่เป็นเรื่องดี โดยเฉพาะการสนทนากับคนที่เพิ่งรู้จักกันใหม่ๆ ควรสังเกตุ พิจารณาวิธีคิด ความสนใจ และตัดสินให้ได้ว่า คนๆ นั้นมีลักษณะที่ไปกันกับเราได้ หรือไม่ หรือเป็นคนละแบบกับเรา เพื่อจะได้เตือนตัวเอง ในเรื่องการพูด พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง กับคนที่มีความคิดต่างไปจากเรา ไม่มีประโยชน์ที่จะคุยด้วย เพราะบางคนนั้น โดยเฉพาะคนสูงวัย มีอายุมากแล้ว บางคนมีความคิดอย่างไร ก็ต้องเป็นอย่างนั้น ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงอย่างเด็ดขาด บางคนพื้นฐานเป็นคนเห็นแก่ตัว เวลาพูดอะไร คิดอะไร ก็จะมีแต่เรื่องที่คิดถึงแต่ตัวเองไว้ก่อน คนประเภทนี้ นิ่งเสียจะดีกว่า พูดอะไรออกไปก็ไม่มีประโยชน์