บทความแนะนำความรู้เรื่องการย่อขยายขนาดภาพ ลดขนาดภาพ ด้วย โปรแกรม PhotoShop เพื่อนำภาพไปใช้งานใน ด้านต่างๆ ให้ตรงตามวัตถุประสงค์

 

การลดขนาดภาพให้เล็กลง ส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เพื่อนำภาพไปใช้ส่งทางโซเชียล เว็บบอร์ด ทำเว็บไซต์ ทำสิ่งพิมพ์แต่ ภาพที่เราถ่ายไว้ มักจะเป็นภาพขนาดใหญ่มาก จึงจำเป็นต้องลดขนาด เพราะหลายเว็บไซต์บังคับให้ต้องลดขนาด


1. ตัวอย่างภาพที่ถ่ายไว้ด้วยกล้อง 14MB จะได้ภาพขนาด 4320 x 3240 pixels เรื่องที่หลายคนไม่รู้ก็คือ ภาพใหญ่ขนาดนี้ เราจะถ่ายเพื่อเอาไปทำอะไร หลายคนเอาไว้ดูเพราะความคมชัดสวยงาม แต่หากดูที่ขนาดของภาพแล้วจะใหญ่มากถึง 4.79 MB การส่งภาพใหญ่ๆ แบบนี้ให้กันผ่านอินเตอร์เน็ต ไม่ควรทำ เปลืองการใช้งานอินเตอร์เน็ตโดยใช่เหตุ ฝ่ายคนรับก็ลำบาก เช่นกัน


2. ไฟล์ภาพถ่ายขนาด 14MB เมื่อแปลงหน่วยวัดจากพิกเซ่ลเป็นเซนติเมตรแล้วจะได้ขนาดใหญ่มากเกิน 1 เมตร ภาพแบบนี้ จึงเหมาะสำหรับนำไปปริ๊นต์ทำป้ายหน้าร้าน หรือนำไปทำสิ่งพิมพ์ หนังสือ นิตยสาร
imagesizeandpixel006


3. ส่วนการใช้งานภาพกันส่วนใหญ่ เช่น โพสต์ใน Facebook, ส่งทาง Line, อีเมล์, ใช้ในเว็บไซต์ ฯลฯ ส่วใหญ่ใช้ภาพขนาด ความกว้างไม่เกิน 1024 Pixels โดยขนาดของไฟล์จะพยายามลดให้เหลือน้อยที่สุด ยิ่งน้อยได้เท่าไหร่ก็ยิ่งดี เช่น อาจจะเหลือ ไม่เกิน 100 KB หรือ 0.1 MB เท่านั้น ส่วนการส่งภาพขนาดใหญ่ให้กันนั้น ก็จะส่งกรณีเฉพาะกิจเท่านั้น อาจจะเป็นการส่ง ภาพสินค้าเพื่อให้ดูรายละเอียดชัดๆ แต่ไม่บ่อย

 


4. หรือกรณีนำภาพไปใช้ทำบล็อก ทำเว็บไซต์ ส่วนใหญ่จะใช้ภาพขนาดความกว้างไม่เกิน 700 Pixels เช่นภาพในบล็อกเกอร์ รองรับได้ประมาณ 580 Pixels การใช้ภาพขนาดควากว้างมากไปกว่านั้นไม่มีประโยชน์ เพราะจะทำให้โหลดช้าลง เอาแค่พอ จะเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไรก็พอแล้ว นอกจากจะทำเว็บไซต์ ทำบล็อกที่เน้นโชว์รูป โชว์ภาพถ่าย

 


5. เรื่องนี้หากเข้าใจดีแล้ว เราก็จะรู้ว่า ควรถ่ายภาพที่ความละเอียดเท่าไร เช่น มือถือกล้องความละเอียด 13 ล้านพิกเซล ภาพที่ได้มีขนาดใหญ่มาก 4160 x 3210 Pixels ภาพใหญ่ขณาดนี้ ถ่ายบ่อยๆ ก็เปลืองพื้นที่เก็บข้อมูลอย่างมาก

 

แต่เมื่อได้ถ่ายภาพไว้แล้ว และภาพมีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป ก็จะต้องลดขนาดให้เล็กลง ซึ่งใน Photoshop จะมีคำสั่ง รองรับอยู่แล้ว เรียกได้ว่า ดีที่สุดในบรรดีโปรแกรมจัดการภาพ จะใช้ PhotoShop CS3/CS6 วิธีการคล้ายกัน

 

ขั้นตอนการย่อขนาดภาพ ลดขนาดภาพ ขยายภาพด้วย Photoshop

สำหรับการจัดการกับภาพ ย่อขนาด ขยายขนาด จะมี 3 แบบด้วยกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะการนำภาพไปใช้งาน แต่ในที่นี้ เน้นนำภาพไปใช้งานทั่วไป ซึ่งจะต่างจากการนำภาพไปทำสิ่งพิมพ์
1. การจัดการกับขนาดภาพด้วยคำสั่ง Image Size
2. การจัดการกับขนาดภาพด้วยคำสั่ง Scale
3. การจัดการกับคุณภาพความคมชัดของภาพ

ทั้ง 3 แบบนี้จะช่วยลดขนาดของภาพ ย่อขนาดหรือขยายขนาดภาพได้ตามต้องการ อาจจะเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง หรือใช้ทั้ง 3 วิธีร่วมกัน

 

การจัดการกับขนาดภาพด้วยคำสั่ง Image Size

คำสั่งนี้จะเป็นการย่อขนาดภาพหรือขยายขนาดภาพ โดยจะจัดการทั้งภาพ ทั้งเลเยอร์
1. เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการยอขนาดภาพ หรือขยายขนาดภาพ ขึ้นมาด้วย Photoshop
2. หากต้องการย่อขนาดภาพ โดยต้องการเลือกบางส่วนของภาพเท่านั้น ให้คลิกเครื่องมือสำหรับเลือกแบบสี่เหลี่ยมเส้นประ (แต่หากไม่ต้องการตัดครอบบางส่วนของภาพ ต้องการย่อทั้งภาพ เปิดไฟล์ภาพขึ้นมาแล้ว ก็ข้ามไปข้อที่ 5 ได้เลย)
3. ลากครอบส่วนของภาพที่ต้องการเท่านั้น
4. คลิก Image>>Crop เพื่อตัดคร็อบภาพ เลือกเอาเฉพาะส่วนที่ต้องการเท่านั้น ส่วนอื่นไม่เอา


5. คลิกคำสั่ง Image >>Image Size...
6. ตัวอย่างภาพต้นฉบับมีขนาดความกว้าง 1071 และสูง 1077 ซึ่งหากนำไปใช้งานทั่วไปนั้น จะถือว่ามีขนาดใหญ่เกินไป
7. ลดขนาดให้เล็กลง คลิกและพิมพ์ตัวเลขในช่อง Width ช่องเดียวก็พอ สัดส่วนภาพจะลดแบบสมส่วน หากต้องการขยายก็ ต้องเพิ่มตัวเลขให้มากกว่า 1071 แต่ไม่ควรทำ ภาพจะแตก ไม่สวย
8. การลดขนาด เช่นลดเหลือ 800 Pixels ก็พอ การใช้งานทั่วไป ขนาดนี้ก็ถือว่าใหญ่มากแล้ว ลองเข้าเว็บไซต์ไทยรัฐ ภาพใน สไลด์โชว์ใช้ความกว้างแค่ 782 Pixels เท่านั้นอาจจะลดโดยลดตามหน่วยเป็นเซนติเมตร หากต้องการนำไปทำสิ่งพิมพ์
9. ส่วนความละเอียดภาพ ก็ใช้ค่าตามภาพต้นฉบับเช่น 72
10. เสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK


11. คลิกคำสั่ง View>>Actual Pixels เพื่อดูขนาดที่แท้จริงของภาพว่ามีความคมชัดหรือคุณภาพตรงตามที่ต้องการหรือไม่


12. เมื่อได้ภาพตามต้องการใช้งานแล้ว ให้บันทึกเป็นไฟล์ใหม่ โดยจะไม่ส่งผลใดๆ กับภาพต้นฉบับ คลิก File>Save for Web...
13. คลิกเลือกชนิดไฟล์แบบแบบ JPEG
14. คลิกเลือกคุณภาพของภาพเช่น Low, Medium, High, Very High และ Maximum
15. จะเลือกภาพในข้อที่ 14 แบบใด ก็ให้ดูขนาดของภาพที่จะได้ ใหญ่เกินไปหรือไม่ การนำไปใช้ในอินเตอร์เน็ต การส่งให้กัน การโพสต์ใน Facebook พยายามเลือกให้ไฟล์มีขนาดเล็กที่สุดจะดีที่สุด เพื่อให้โหลดได้เร็วๆ
16. อาจจะคลิกที่ 2-Up, 4-UP เพื่อความสะดวกในการเลือกภาพ
17. เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Save เพื่อบันทึกเป็นภาพใหม่ไว้ใช้งานต่อไป


18. เพื่อความเข้าใจเรื่องการบันทึกไฟล์ภาพ JPEG แบบต่างๆ อาจจะดูจากตัวอย่างภาพต่อไปนี้ ภาพแรก จะเป็นการสรุป ภาพแบบต่างๆ ขนาดของไฟล์ต่างกันมากน้อยเพียงใด


19. ส่วนภาพด้านล่างต่อไปนี้จะเป็นตัวอย่างภาพ JPEG แบบต่างๆ เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับการลดขนาดภาพมากยิ่งขึ้น เช่น
ภาพ JPEG คุณภาพ ความคมชัดแบบ ต้นฉบับ และ Low

 


ภาพ JPEG คุณภาพ ความคมชัดแบบ ต้นฉบับ และ Medium

 


ภาพ JPEG คุณภาพ ความคมชัดแบบ ต้นฉบับ และ High

 


ภาพ JPEG คุณภาพ ความคมชัดแบบ ต้นฉบับ และ Very High

 


ภาพ JPEG คุณภาพ ความคมชัดแบบ ต้นฉบับ และ Maximum

 

 

การจัดการกับขนาดภาพด้วยคำสั่ง Scale

การย่อหรือขยายขนาดภาพในกรณีนี้จะเป็นการจัดการเฉพาะภาพในบางเลเยอร์เท่านั้น
1. เปิดไฟล์ภาพใดๆ ขึ้นมา ก่อน
2. คลิกเลือกเครื่องมือเลือกภาพแบบสี่เหลี่ยมเส้นประ
3. ลากเมาส์ครอบส่วนของภาพที่ต้องการ
4. คลิก Edit>>Copy
5. คลิก Edit>>Paste
6. ตอนนี้ ในเลเยอร์ก็จะมี 2 เลเยอร์ เลเยอร์ล่างภาพต้นฉบับ เลเยอร์บน ภาพที่ได้ก็อปปี้เข้ามา
7. การใช้คำสั่ง Image Size ในหัวข้อก่อนหน้านั้น จะลดขนาดภาพทุกเลเยอร์พร้อมกัน แต่หากเราต้องการลดภาพเพียง เฉพาะเลเยอร์ด้านบนเท่านั้น จะต้องใช้คำสั่ง Scale
8. คลิก Edit>>Transform>>Scale


9. ลดขนาดภาพบนเลเยอร์นั้นๆ โดยชี้ที่มุมใดๆ กดปุ่มซ้ายของเมาส์ค้างไว้ แล้วลากไปหามุมตรงกันข้าม ได้ภาพตามต้อง การแล้ว กด Enter ที่แป้นพิมพ์ หากขนาดไม่ถูกใจ กด Ctrl + Z ที่แป้นพิมพ์ แล้วย่อหรือขยายขนาดภาพอีกครั้ง


10. ตัวอย่างภาพเฉพาะเลเยอร์ด้านบนเท่านั้นที่ถูกย่อขนาดให้เล็กลง แต่ภาพรวมทั้งหมดนั้น หากยังมีขนาดใหญ่เกินไป ก็ ต้องใช้คำสั่ง Image>>Image Size... เพื่อทำการย่อขนาด
11. เช่นต้องกรนำภาพไปใช้ในบทความของ Blogger ก็จะย่อให้เลือกแค่ 560 Pixels ก็พอ


12. ส่วนการนำภาพไปใช้งานนั้น ให้คลิก File>>Save for Web...
13. จากนั้นก็ตั้งค่าภาพแบบต่างๆ และเลือกความคมชัด ขนาดของไฟล์ได้ตามต้องการ เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Save

 

สรุป

การถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอลหรือกล้องในมือถือนั้น ควรจะต้องทดลองถ่ายที่ความละเอียดต่างๆ เช่น 2 MP, 5 MP ... แล้วดูว่าขนาดของไฟล์ใหญ่เพียงใด คุณภาพความคมชัดเป็นอย่างไร เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเวลามานั่งลดขนาดไฟล์ แต่การลด ขนาดไฟล์ในมือถือ สะดวกกว่า มากเพราะมีแอปช่วยลดขนาดภาพที่สามารถลดทีเดียวได้ทั้งหมดเลย ตามแต่จะเลือก

 

ทางเลือกอื่นในการย่อขนาดภาพ หรือขยายขนาดภาพที่ง่ายกว่า Photoshop

นอกจากการใช้งานโปรแกรม Photoshop แล้วก็ยังมีโปรแกรมที่ใช้งานง่ายกว่านี้ เช่น การย่อขนาดภาพ หรืขยายขนาดภาพด้วย PhotoScape การใช้งานง่ายกว่า Photoshop โปรแกรมก็เล็กกว่า ที่สำคัญเป็นโปรแกรมฟรี 

 

แชร์บทความนี้