ความหมาย : เจ้ายศเจ้าอย่าง สำนวนนี้มักจะใช้พูดถึงคนที่เรื่องมาก ทำอะไรต้องเป็นพิธีการ ต้องมีพิธีรีตอง ติดในเรื่องยศถา บรรดาศักดิ์ เหมือนเป็นเจ้าขุนมูลนาย ในสมัยโบราณ โดยเฉพาะคนใหญ่คนโตในสังคม

ตัวอย่าง :

บางคนสมัยคบกัน เป็นเพื่อนเรียนรุ่นเดียวกัน สนิทกันแต่พอเรียนจบแล้ว มีการงาน ตำแหน่งใหญ่โต ก็เริ่มกลายเป็นคน เจ้ายศเจ้า อย่าง จะทำอะไรก็ต้องเป็นพิธีการ เรื่องมาก ยึดถือยศถาบรรดาศักดิ์ ทำให้ไม่มีใครอยากจะคบ เพราะไม่มีความเป็นกันเอง

การเป็นคน เจ้ายศเจ้าอย่าง จะทำอะไรก็ต้องมีพิธีรีตอง เป็นทางการ ก็มีข้อดี แต่ก็ควรใช้กับที่ทำงาน หรือในหน้าที่การงานเท่านั้น การใช้ชีวิตในยามปกติทั่วไป มักจะทำให้คนเกลียด ไม่ชอบหน้า

คนไทยให้ความสำคัญกับการเป็นเจ้าคนนายคน ต้องเป็นข้าราชการ มีตำแหน่งใหญ่โต มีอำนาจ ซึ่งคนเหล่านี้มักจะมีนิสัยคล้ายกัน เป็นคนเจ้ายศเจ้าอย่าง จะทำอะไรก็ต้องมีพิธีรีตอง ต้องมีหลักการ น้อยคนจะวางตัวแบบเรียบง่าย ไม่เรื่องมาก

บางคนเคยดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการใหญ่โต แต่พอเกษียณแล้ว ก็ยังติดนิสัย เจ้ายศเจ้าอย่าง จะทำอะไรก็ต้องมีพิธีรีตอง บางคน ติดนิสัยชอบสั่งคนอื่น เหมือนที่เคยปฏิบัติในที่ทำงาน ทำให้บางคนไม่ชอบหน้า ไม่คบหาสมาคมด้วย หากไม่มีผลประโยชน์อะไรต้องทำ ร่วมกัน