ความหมาย : สำนวนนี้มักจะใช้พูดถึงการกระทำหรือการพูดจาที่ทำให้ผู้คนผิดใจกัน แตกความสามัคคี กัน ยุให้รำ ตำให้รั่ว ยุยงให้ไม่ถูกกัน พูดอีกฝ่ายให้ร้ายอีกฝ่าย เรื่องแบบนี้ บางคนก็ทำไปเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ พูดสนุกๆ ไป อย่างนั้น แต่บางคนก็ทำไปเพราะความอิจฉา แต่บางคนนั่นมีความคิดที่น่ากลัว ทำไปเพราะตั้งใจให้ผิดใจกัน ไม่ต้องการให้คน รักใคร่ สามัคคีกัน เพราะจะควบคุมได้ยาก

ตัวอย่าง :

บางครั้งความคะนองปาก โดยเฉพาะเวลาที่สติในการควบคุมตัวเองเหลือน้อยลง เพราะกันของมึนเมา หรือด้วยนิสัยชอบ พูดชาให้คนผิดใจกันอยู่แล้ว คันปาก พูดเพื่อเรียกร้องความสนใจ ก็อาจจะเผลอพูดอะไรที่เป็นการ ยุให้รำ ตำให้รั่ว ทำให้คนฟัง ผิดใจกัน พูดอีกคนก็ให้ร้ายอีกฝ่าย ทำให้คนสองกลุ่มหรือมากกว่านั้นผิดใจกัน โดยไม่รู้ว่าถูกคนเสี้ยมให้ทะเลาะกัน เรื่องแบบ นี้เรามักจะพบเห็นกันทั่วไป โดยเฉพาะในสังคมการทำงาน หน่วยงาน หรือแม้แต่ในวงเพื่อนฝูงหรือเครือญาติก็ตาม

 

คนเรามีความอิจฉาเป็นนิสัยพื้นฐาน อยู่ที่ว่าใครจะสามารถควบคุมได้ดีกว่ากัน และไม่แสดงนิสัยแบบนี้ออกมา จนทำให้ คนอื่นหรือตัวเองเดือดร้อน โดยเฉพาะเวลาที่เห็นคนอื่นได้ดีกว่าตนเอง หรือเห็นคนอื่นมีความสุขแต่ตัวเองมีความทุกข์ หรือมี อะไรไม่เท่าเทียมคนอื่น สำหรับคนที่มีความอิจฉามาก ก็อาจจะกระทำหรือพูดจา ยุให้รำ ตำให้รั่ว เพื่อให้คนที่ตัวเองอิจฉานั้น เกิดความเข้าใจผิดกับคนอื่น เพื่อให้ผู้คนเกลียดกัน หรือมีปัญหากัน โดยที่เจ้าตัวอาจจะไม่รู้เรื่องเลย เพราะความอิจฉาของตน เองที่ไม่อยากให้ใครเกินหน้าเกินตา เรื่องแบบนี้เป็นเรื่องที่จะพบเห็นได้ทั่วไป ก็ต้องระวัง ตั้งสติ ควบคุมความอิจฉาของตนเอง ให้อยู่หมัด และตามให้ทันคนแบบนี้ อย่าหูเบา เชื่อคนง่าย

 

การทำให้คนผิดใจกัน หรือ ยุให้รำ ตำให้รั่ว เพื่อให้คนแตกความสามัคคีกันนั้น มีความรุนแรงตามแต่วัตถุประสงค์ของผู้มี อิทธิพลหรือมีอำนาจ เรื่องแบบนี้อาจจะเริ่มตั้งแต่ในครอบครัว พ่อแม่บางคนมีพฤติกรรมแบบนี้ เพื่อไม่ให้ลูกหลานมีความ สามัคคีกัน เพราะควบคุมยาก ส่วนในสังคมการทำงาน

บางหน่วยงานก็เช่นกัน ผู้บริหารจะใช้หลักการนี้เช่นกัน เพื่อควบคุมพนักงานไม่ให้สามัคคีกัน เพราะไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้ ได้รับความเดือดร้อน อยางการประท้วง แต่หากไม่สามัคคีกันก็จะไม่สามารถทำได้

ในระดับจังหวัด ระดับประเทศก็เช่นกัน ผู้ปกครอง บางยุคก็ใช้หลักการเดียวกันนี้ ทำให้ประชาชนเกิดความแตกแยกไม่มี ความสามัคคี ด้วยการกระทำ หรือให้ข้อมูลที่ทำให้ประชาชนขาดความสามัคคี ไม่เช่นนั้นก็จะปกครองยาก อาจมีการลุกฮือ ประท้องหรือต่อต้านทำให้ไม่สามารถอยู่ในอำนาจต่อได้ เรื่องแบบนี้ต้องตั้งสติและทำความเข้าใจ อย่าให้ใครจูงจมูก หรือหูเบา เชื่ออะไรง่าย จนทำให้แตกความสามัคคีกัน