ความหมาย : สำนวนนี้เป็นคำพูดเชิงแนะนำหรือสอนสั่งให้รู้จักเก็บรักษาข้าวของเครื่องใช้ รู้จักเก็บ รู้จักงำ ดูแลให้อยู่ในสภาพดี เพื่อให้สิ่งของนั้นสามารถใช้งานได้นานๆ

ตัวอย่าง :

สิ่งใดก็ตามที่ได้มาอย่างง่ายๆ ไม่ได้มาจากกำลังกาย กำลังทรัพย์ของตัวเอง น้อยคนจะสนใจดูแล ไม่ รู้จักเก็บ รู้จักงำ ไม่ รู้จักดูแล เรื่องนี้เป็นเรื่องปกติทั่วไปของคนเรา ลองสังเกตุแม้แต่ตัวเราเองก็ตาม สิ่งใดที่มีคนให้เรามาง่าย ได้มาง่ายๆ เรามักจะ ไม่ค่อยดูแลรักษาเท่าใดนัก ใช้ทิ้ง ใช้ขว้างไม่สนใย

ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ รอบตัวเรา หาก รู้จักเก็บ รู้จักงำ รู้จักดูแลรักษา ก็ย่อมจะช่วยยืดอายุการใช้งานข้าวของเหล่านั้น ไม่ ให้เสื่อมสภาพหรือเสียหาย สึกหรอเร็วเกินไป อีกทั้งยังช่วยประหยัดเงินค่าซ่อมแซมหรือการซื้อใหม่ เพราะพังเร็วกว่าปกติ

ก่อนจะให้สิ่งใดกับใคร ก็ควรศึกษาพฤติกรรมของผู้รับเสียก่อน ว่าเป็นคนรักษาข้าวของ รู้จักเก็บ รู้จักงำ รู้จักดูแลหรือไม่ ไม่ เช่นนั้นก็จะเกิดความเสียใจ หากผู้รับไม่ใส่ใจดูแล บางคนได้มาแล้วก็ใช้งานไม่ดูแล หรือวางทิ้งไม่สนใจ ก็จะทำให้เสียใจ เสียดายเพราะคนรับไม่รู้คุณค่า แต่เพื่อความสบายใจ ก็ต้องบอกตัวเองก่อนว่าเมื่อให้อะไรใครแล้ว ก็แล้วแต่คนรับ ว่าจะทำ อย่างไรกับสิ่งนั้น อาจจะดูแล หรือไม่ใส่ใจก็ต้องทำใจ ปล่อยวาง ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก ดังนั้นหากทำใจไม่ได้ ก็อย่าให้อะไร ใครง่ายๆ เพื่อให้ผู้รับได้เห็นคูณค่าของสิ่งนั้น และรู้จักเก็บรักษาดูแลอย่างดี