ความหมาย : สำนวนนี้ใฃ้สอนเรื่องการสอนความรู้หรือการแนะนำเรื่องใดๆ ก็ต้องดูว่า คนผู้นั้นมีความรู้ ในเรื่องนั้นหรือไม่ บางคนแม้จะรู้ว่ามีความรู้มากกว่าตนเอง ก็ยังจะอยากจะสอนคนที่เก่งกว่าตน เหมือน สอนหนังสือสังฆราช ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำ

ตัวอย่าง :

ก่อนจะสอนหรือแนะนำเรื่องใดแก่ผู้ใด ก็ควรรู้ก่อนว่า คนผู้นั้น มีความรู้มากกว่าตนเองหรือไม่ อย่าไป สอนหนังสือสังฆราช อย่าไปสอนคนที่เก่งกว่าตน บางคนร่ำเรียนวิชา หรือศึกษามาเพียงน้อยนิดในเรื่องหนึ่ง เรื่องใด ก็จะรีบสอน หรือแนะนำคนอื่น โดยเฉพาะคนที่เก่งกว่าตน รู้ลึก รู้จริงกว่าตนเอง ก็อาจจะถูกตำหนิ ด่าว่า หรือทำให้ได้รับความอับอาย หรือเสียหน้า

การอวดรู้ ยกตนข่มท่าน ไม่ใฃ่เรื่องดี บางคนรู้ไม่จริง แต่เที่ยวสอนคนอื่นไปทั่ว แม้แต่คนที่เก่งกว่าตนเอง ก็ยังทำตัวเก่งกว่า บังอาจ สอนหนังสือสังฆราช สอนคนที่เก่งกว่าตน ซึ่งอาจจะทำให้ตนเองเดือดร้อน เพราะบางคนหากมีคนที่ไม่เก่งจริง ไม่รู้จริง แต่บังอาจมาสั่งสอนตนก็จะมักจะเกิดความไม่พอใจ เพราะถือว่าตนเก่งกว่า รู้ดีกว่า ก็อาจจะเกิดการถกเถียง ทะเลาะหรืองัดข้อ กันทางความคิด อาจจะเป็นการสร้างศัตรูโดยไม่รู้ตัว

แม้จะมีความรู้มากเพียงใด แต่ก็ต้องระวังในการนำความรู้ไปสอนสั่งหรือแนะนำผู้อื่น เพราะบางคนจะไม่พอใจหากมีใครมา สอนตัวเอง แม้ว่าตัวเองจะไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นก็ตาม เพราะหากยอมรับการสั่งสอนหรือยอมรับคำแนะนำ ก็เหมือนว่าจะทำ ให้ตัวเองเสียศักดิ์ศรี จะรู้สึกไม่พอใจ โดยเฉพาะคนเก่ง หรือเคยประสบความสำเร็จ เคยยิ่งใหญ่ มักจะไม่พอใจหากมีใครมา สอนสั่งตัวเอง ดังนั้นอย่าเที่ยวทำตัวเป็นพวกชอบ สอนหนังสือสังฆราช เพราะไม่ใช่เรื่องดี การสอนหรือแนะนำในเรื่องใด ก็ต้อง รู้จักเลือก รู้จักดูผู้เรียนหรือผู้รับ ไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้ตัวเองเดือดร้อน หรือสร้างศัตรูได้เหมือนกัน