ความหมาย : สำนวนนี้มักจะใช้พูดถึงการสอน หรือแนะนำ คนที่ไม่ฉลาด คนโง่ ก็เหมือน สีซอให้ควายฟัง สอนยาก สอนเท่าไหร่ก็ไม่รู้เรื่อง ถ้าใครมาพูดประโยคนี้กับเรา ก็มักจะเกิดความโกรธแค้น การใช้สำนวนนี้จึงต้องระวัง

ตัวอย่าง :

การพูดถึงคนที่ไม่ฉลาด คนโง่ สอนอะไร ก็ยากจะเข้าใจ มักจะใช้สำนวน อย่าไป สีซอให้ควายฟัง หรืออย่าไปสอนอะไรเลย สอนไปก็เสียเวลาเปล่า เพราะสมองไม่ดี โง่ เรียนรู้อะไรได้ช้ามาก เสียเวลา

บางคนโง่มาก ไม่ฉลาดเลย มาแต่กำเนิด สอนอะไรก็ยาก ต้องใช้เวลากว่าจะเรียนรู้ หรือเข้าใจ เหมือน สีซอให้ควายฟัง เสียเวลามาก คนประเภทนี้มักจะสร้างความรำคาญ และเป็นที่น่าเบื่อของคนรอบข้าง โดยเฉพาะบางคนที่ชอบถาม แต่ไม่ชอบศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง

สมองของคนเรานั้น หากหยุดการเรียนรู้ หยุดออกกำลังกาย ก็อาจจะกลายเป็นคนโง่า สอนยากสอนเย็น เหมือน สีซอให้ควายฟัง สอนอะไรก็ไม่เข้าใจ เรียนรู้ได้ช้ามาก ลองสังเกตุคนแก่ คนสูงวัยรอบตัว ซึ่งมีไม่น้อยเลยที่หยุดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มานาน ทำให้สองทึบ คิดอะไรได้ช้าลง เข้าใจอะไรยาก แต่กรณีนี้ก็สามารถฝึกสมองให้ฉลาดได้ ด้วยการฝึกคิดวิเคราห์ ฝึกคำนวณ หรือหาหนังสือเรียนมาอ่าน เพื่อฝึกทำความเข้าใจ สมองก็จะกลับมาดีเกือบเหมือนเดิมได้

เมื่อพูดถึงความโง่ เราก็มักจะนึกถึง ควาย หรือ ลา เพราะสัตว์สองประเภทนี้ เหมือนคนไทยจะใช้เป็นตัวแทน หรือสิ่งที่สื่อว่าโง่ หากมีใครด่าเราว่า ควาย หรือ ลา ก็หมายถึง โง่ หรือแม้แต่คำว่า สีซอให้ควายฟัง ซึ่งหมายถึง โง่ สอนอะไรก็ยากจะเข้าใจ สำนวนเหล่านี้มักจะใช้ด่าคนอื่นมากกว่า จึงต้องระวังในการนำไปใช้ การพูดต่อหน้า อาจจะทำให้เกิดการทะเลาะกันได้