คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

เป็นหนังสือ บทความ เรื่องน่ารู้ ในหมวดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โปรแกรม คอมพิวเตอร์ การติดตั้งโปรแกรม ความรู้เกี่ยวกับโน้ตบุ๊ค แท็ปเล็ต สมาร์ทโฟน ฯลฯ

 


การ์ดเสียงเป็นอุปกรณ์อีเล็คทรอนิค ที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถสร้างเสียงต่างๆ ได้ การ์ดเสียงมีหลายแบบ เช่น
แบบ Fm จะเป็นการ์ดเสียงที่ใช้กันทั่วๆ ไป มีราคาถูก เหมาะสำหรับการเล่นเกม ฟังเพลง จากแผ่นซีดีเพลง สามารถเล่นไฟล์ เสียงประเภท Wav, Voc ได้ดี


แบบ Wavetable เป็นการ์ดเสียงคุณภาพสูง เหมาะสำหรับงานดนตรี แต่งเพลง ปัจจุบัน มีการสร้างเป็นไฟล์แบบ Midi หรือเป็นเพลงบรรเลง ซึ่งจะช่วยให้สามารถ ร้องเพลงคาราโอเกะกับ คอมพิวเตอร์ได้ เช่น ใช้โปรแกรม NCN คาราโอเกะ คุณภาพเสียงที่ได้จะดีว่าการ์ดแบบ FM แต่การ์ด แบบนี้ไม่เหมาะจะนำไปเล่นเกม เพราะจะให้เสียงที่ไม่ค่อยดีและราคาค่อนข้างแพงกว่าแบบ Fm การ์ดดีๆ ตัวเป็นหมื่น


แบบผสม มีการ์ดในปัจจุบันหลายยี่ห้อเป็นแบบผสม ทั้ง Fm และ Wavetable เข้าด้วยกัน ช่วยให้สามารถเล่นเกมได้เสียงสมจริง และฟังเพลงได้อรรถรส เป็นรูป แบบการ์ดที่ขายกันในปัจจุบัน

 

ที่ตัวการ์ดเสียงจะมีตำแหน่งสำหรับต่อสายลำโพง (SPK หรือ Speaker Out หรือ Audio Out) ช่องต่อไมค์ (Mic) ช่องต่อสัญญาญเข้า (Line In) สำหรับนำ สัญญาณจากที่อื่นเข้ามาช่อง Line Out สำหรับนำสัญญาณออกไปเข้าเครื่องขยายและพอร์ตสำหรับต่อจอยสติ๊กหรือเครื่องดนตรี เช่น คีย์บอร์ดแบบ General Midi


นอกจากนี้อาจแยกลักษณะของการ์ดเสียงได้อีกแบบ คือการ์ดเสียงแบบการ์ดขยาย เป็นการ์ด ส่วนใหญ่ในท้องตลาด เป็นการ์ดเดี่ยวๆ สำหรับนำไปเสียบกับสล็อต บนเมนบอร์ด และอีกแบบหนึ่ง ก็คือการ์ดเสียงออนบอร์ด โดยจะมีการระบุข้อความต่างๆ ในการโฆษณา เช่น Sound Wavetable AC' 9, Audio AC97 Onboard หรือ Sound on board ซึ่งจะถูกออกแบบให้ติดอยู่กับเมนบอร์ด สะดวก ดีเหมือนกัน ไม่ต้องเสียเงินซื้อการ์ดแยกต่างหาก

 

การเลือกซื้อการ์ดเสียง
ถ้ามีงบมากสักหน่อย เลือกของ Creative Sound blaster สักรุ่น พร้อมลำโพง แบบ 4.1 ลำโพงเล็ก 4 ตัว ซับวูฟเฟอร์ 1 ตัว ความสุนทรี ก็เกือบเทียบเท่าอยู่ในโรงหนัง ที่มีระบบเสียง Dolby System ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม รับรองว่าได้สัมผัสทุกรสของเสียง
ถ้ามีงบน้อยๆ ก็เลือกการ์ดเสียงที่มีคุณสมบัติ Wavetable ในตัว ไว้ร้องเพลงคาราโอเกะ NCN หรือ Nick Karaoke ก็พอฟังได้ ต่อเข้าเครื่องขยายก็ดังสนั่น พอได้ อารมณ์เหมือนกัน


คำว่า Modem ย่อมาจาก MOdulator และ DEModulator จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิตอล จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอะนาล็อก (MOdulator) เพื่อให้ สามารถส่งไปตามสายโทรศัพท์ ได้ จากนั้นก็จะแปลงกลับเป็นสัญญาณดิจิตอลเหมือนเดิม (DEModulator)


ในปัจจุบันโมเด็มมีความสำคัญอย่างมากที่ควรมีไว้ เพื่อประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร รับส่ง แฟกซ์ และค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต โมเด็มมีอยู่ 2 แบบคือ แบบ ติดตั้งภายใน ( Internal ) และแบบ ติดตั้งภายนอก (External) การเลือกซื้อควรเลือกซื้อแบบติดตั้งภายนอกจะดีกว่า เพราะสามารถพกพา ไปใช้ที่ต่างๆ ได้ และจะมี ตัวประมวลผลอยู่ในตัวไม่ต้อง ใช้ความสามารถของซีพียูในการทำงานบางอย่าง เหมือนโมเด็มแบบภายใน แต่ราคาจะแพงกว่าเท่าตัว ส่วนความเร็วของโมเด็ม ให้ เลือกขั้นต่ำที่ 33.6 Bps แต่ถ้าจะให้ดีควรเลือกที่ความเร็ว 56 K และสนับสนุนมาตรฐาน V.90 ด้วย


เมนบอร์ดบางรุ่นนอกจากจะมีการ์ดเสียง การ์ดจอแล้ว ก็ยังมีโมเด็มในตัวด้วย เป็นเมนบอร์ด ที่เหมาะสำหรับใช้โปรแกรมในสำนักงาน ใช้งานทั่วๆ ไป ใช้อินเตอร์ เน็ต

 

ประเภทของโมเด็ม
สำหรับการแบ่งประเภทของโมเด็มในที่นี้จะแบ่งตามความเร็วในการรับส่งข้อมูล
1. โมเด็มความเร็ว 14.4 k เป็นโมเด็มที่ตกยุคไปแล้ว ไม่เหมาะที่จะใช้ติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะ บริการอินเตอร์เน็ตแบบ WWW (World Wide Web) ที่ใช้กันอยู่ ในปัจจุบัน การรับส่งข้อมูลค่อนข้างช้า จนน่ารำคาญ เหมาะสำหรับการใช้อินเตอร์เน็ตแบบ Text Mode หรือแบบข้อความ ซึ่งแทบไม่ค่อย มีใช้กันแล้ว


2. โมเด็มความเร็ว 28.8 k เช่นเดียวกับโมเด็มแบบความเร็ว 14.4 K ถือได้ว่าค่อนข้างช้า อยู่เหมือนกัน แต่ก็ยังพอทน..ได้


3. โมเด็มความเร็ว 36.6 k เป็นโมเด็มที่ยังน่าใช้อยู่ ความเร็วจัดอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ แต่ในท้อง ตลาดอาจมีน้อยเต็มที


4. โมเด็มความเร็ว 56 K เป็นโมเด็มที่น่าใช้ที่สุด แต่คงต้องดูคอมพิวเตอร์ที่คุณใช้ด้วย หากเป็นเครื่องรุ่นเก่าอาจไม่มีพอร์ตสื่อสาร ที่รองรับความเร็วระดับนี้ ควร ใช้กับเครื่องระดับเพนเทียม ขึ้นไป ซึ่งโมเด็ม 56K แบบอินเตอร์นอลหรือติดตั้งภายในบางรุ่นจะระบุว่าให้ใช้กับเพนเทียม 200 แรม 32 Mb ขึ้นไป


นอกจากการเชื่อมต่อด้วยโมเด็มแล้วหากเป็นการใช้งานอินเตอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊คต่อเข้ากับ มือถึอ ซึ่งจะมีสายเชื่อมต่อข้อมูล (Data Link) จะใช้ความเร็วได้ประมาณ 9,600 Byte เท่านั้น เหมาะ สำหรับการเช็คอีเมล์

การเลือกซื้อโมเด็ม
แนะนำให้เลือกซื้อโมเด็มแบบติดตั้งภายนอก เลือกความเร็วขึ้นต่ำ 56 K รองรับการใช้งาน กับโปรแกรม Windows หลายๆ เวอร์ชัน และถ้าหากต้องการใช้กับ โปรแกรมโอเอส หลายๆ แบบทั้ง Linux และ Windows ให้ดูรายชื่อโมเด็มในฮาร์ดแวร์ลิสต์ในโปรแกรม Windows หรือ Linux ดูว่า รองรับโมเด็มรุ่นใดบ้าง และก็ เลือกซื้อรุ่นนั้นๆ มาใช้ ส่วนใหญ่จะเป็นรุ่นเก่า แต่ประสิทธิภาพก็ไม่ได้ เลวร้ายมากนัก โมเด็มดีๆ แต่ประสิทธิภาพสายโทรศัพท์ในบ้านเรายังไม่ดี จึงยากที่โมเด็ม จะทำความ เร็วได้เต็มความสามารถ

พาวเวอร์ซัพพลายหรือหม้อแปลงไฟฟ้า เป็นส่วนที่ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้าในบ้านให้เป็นไฟฟ้าที่ พอเหมาะกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มีอยู่สองแบบคือ AT และ ATX ใน การเลือกใช้ให้พิจารณาอุปกรณ์ ที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ หากมีค่อนข้างมาก เช่น การ์ดเสียง การ์ดจอ การ์ดโมเด็ม การ์ดเน็ตเวิร์ค ซีดีรอมไดรว์ ฮาร์ดดิสก์ ฯลฯ ควรเลือกขนาดของหม้อแปลงไฟฟ้าค่อนข้างมากหน่อย เช่น 230 W หรือ 250 W การสังเกตความแตกต่างของหม้อแปลงทั้งสองแบบคือ ส่วนเชื่อม ต่อเพื่อ จ่ายไฟให้กับเมนบอร์ด แบบ AT จะแยกเป็นสองสาย ส่วน ATX จะติดกัน


ส่วนท่านใดที่ใช้เพนเทียมโฟร์ จะต้องเลือกใช้พาวเวอร์ซัพพลายที่ออกแบบมาสำหรับซีพียูรุ่นนี้ โดยเฉพาะ แพงกว่าด้วย ไม่รู้เหมือน กันว่าทำไมสองบริษัทนี้คืออิน เทลและไมโครซอฟท์ออกผลิตภัณฑ์ ใหม่ๆ ทีไร ก็ต้องมีเรื่องเสียเงินเพิ่มอยู่เรื่อย


ซีดีรอมไดรว์เป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านข้อมูลในแผ่นซีดีรอม มีหลายแบบ ทั้งแบบติดตั้งภายใน เครื่อง (Internal) ซึ่งนิยมใช้กันมาก และแบบติดตั้งภายนอก (External) มีหลายความเร็วให้เลือก เรามักจะเรียกซีดีรอมไดรว์ตามความเร็วเช่น 4x, 8x, 12x, 50x เป็นต้น ควรเลือกใช้เครื่องอ่านที่มี ความเร็วไม่ต่ำกว่า 32x หรือเลือกที่ เร็วสุดเท่าที่จะเลือกได้ เพื่อความสบายหูสบายตาเวลาดูหนัง ฟังเพลง เพราะการอ่านข้อมูลในแผ่นซีดีรอมจะทำได้รวดเร็วกว่า ภาพไม่กระตุก เสียงไม่สะดุด อารมณ์ ไม่บูด ตามไปด้วย


ประเภทของซีดีรอมไดรว์
Internal CD-ROM Drive เป็นซีดีรอมไดรว์ที่ติดตั้งภายใน นิยมใช้กันมากกว่าแบบอื่นๆ เพราะ มีราคาค่อนข้างถูก ติดตั้งง่าย
External CD-ROM Drive เป็นซีดีรอมไดรว์ที่ติดตั้งภายนอก ราคาแพงกว่าแบบติดตั้งภายใน แต่มีความสะดวกกว่าเพราะสามารถนำไปใช้กับเครื่องอื่นๆ ได้
CD-RW Drive เป็นซีดีรอมไดรว์ที่มีความสามารถทั้งอ่านและบันทึกข้อมูลได้ด้วย RW ย่อมา จาก Read และ Write ราคายิ่งแพงขึ้นไปอีก แต่ก็ช่วยให้สามารถบันทึก ข้อมูลลงแผ่น CD-R ได้ ซึ่งอาจ ทำเป็นแผ่นซีดีเพลงหรือวีดีโอซีดีก็ได้ มีให้เลือกทั้งแบบติดตั้งภายในและแบบติดตั้งภายนอก
ซีดีรอมอาจแยกย่อยได้อีก 2 ประเภท คืออินเตอร์เฟสหรือรูปแบบการเชื่อมต่อกับเมนบอร์ด แบบ IDE และ SCSI แบบ SCSI จะมีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่า

 

ส่วนประกอบของซีดีรอมไดรว์
1. Open/Close Button ปุ่มควบคุมด้านหน้า เช่นปุ่ม Eject สำหรับปิด/เปิด ถาดสำหรับ ใส่แผ่นซีดี
2. Headphone Jack ช่อง Phone หรือแสดงเป็นสัญลักษณ์รูปหูฟัง จะเป็นช่องสำหรับต่อ หูฟังหรือสายสัญญาณเข้าลำโพง สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีการ์ด เสียง หากอยากฟังเพลงจาก แผ่นซีดีเพลงก็คงต้องใช้วิธีนี้แก้ขัดไปก่อน โดยต่อสายไปเข้าเครื่องขยายเสียงหรือลำโพงอีกที เสียงก็ ดังลั่น สะใจไม่แพ้กัน
3. Headphone Volume Control ตัวควบคุมความดังค่อยของเสียงขณะเล่นแผ่นซีดีเพลง
4. Emergency Eject Hole เป็นรูพิเศษสำหรับเสียบเข็มหรือสอดคลิปหนีบกระดาษเข้าไป เพื่อปลดล็อค จะได้เลื่อนถาดออกมาได้ ใช้ในกรณีที่มีแผ่นซีดีค้างอยู่ข้าง ใน แต่ลืมเอาแผ่นออก ปิดเครื่องไปเสียก่อน
5. ตำแหน่งสำหรับต่อสายออดิโอ ซึ่งจะเชื่อมต่อไปยังการ์ดเสียง
6. จัมเปอร์สำหรับกำหนดให้ซีดีรอมเป็นตัว Master หรือ Slave ซีดีรอมส่วนใหญ่ ให้เซ็ต เป็นเสล๊ฟ (Slave), (ตัวย่อ S=Slave, M=Master, C=Cable Select) โดย ถอดตัวจัมเปอร์มาเสียบคร่อม เข็มคู่ที่สองหรือดูที่ข้อความด้านบนประกอบว่าต้องคร่อมเข็มคู่ใด แต่ละตัวจะมีขาตัวละคู่ (ปกติเมื่อ ซื้อมาใหม่ๆ จะถูกเซ็ตเป็น Slave)
7. ตำแหน่งสำหรับต่อสายแพร์หรือสายรับส่งข้อมูล จะมีข้อความบอกว่าขาที่ 1 อยู่ด้านใด ส่วนท่านใดที่ใช้ซีดีรอมไดรว์แบบ SCSI ก็จะมีการ์ด SCSI สำหรับต่อกับ ตัวซีดีรอมไดรว์ โดยเฉพาะ ส่วนใหญ่จะเสียบที่สล็อต PCI ไม่สามารถเสียบกับสายแพร์ที่ต่อกับพอร์ต IDE ที่ใช้กับฮาร์ดดิสก์ได้ เพราะขนาดไม่เท่ากัน
8. ตำแหน่งสำหรับต่อสายไฟจากพาวเวอร์ซัพพลาย

 

การเลือกซื้อซีดีรอมไดรว์
ซีดีรอมไดรว์แบบ CD-RW ที่สามารถอ่านและบันทึกข้อมูลได้ ในปัจจุบัน ราคาค่อนข้างถูกมาก ควรเพิ่มเงินอีกหน่อย เพื่อเลือกซื้อซีดีรอมไดรว์แบบนี้จะดีกว่า

Sponsored Ads