โปรแกรมวาดภาพ ตกแต่งภาพ ผลิตสิ่งพิมพ์
รวมบทความเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมช่วยในการวาดภาพ ตกแต่งภาพ ออกแบบ ทำสื่อสิ่งพิมพ์ จัดการกับภาพ เช่น วิวหรือแสดงภาพเป็นแบบแคตตาล็อก แต่งภาพด้วย Photoshop วาดภาพด้วย Illustrator เป็นต้น
หลังจากกำหนดชื่อหนังสือหรือเลือกประเด็นที่จะเขียนได้แล้ว คราวนี้ก็กำหนดรายละเอียดหรือ หัวข้อย่อย อะไรก็ตาม ที่นึกออกก็เขียนลงไปให้หมด จะเกี่ยวหรือออกนอก เรื่องบ้างก็เขียนลงไปให้หมด อาจศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับหนังสือแนวที่จะเขียน สำรวจว่า หนังสือที่มีออกวางจำหน่าย มีเนื้อหาที่กล่าวถึงเป็น อย่างไรบ้าง
การดัดแปลงลอกเลียนแบบเป็นเรื่องปกติที่สามารถทำกันได้ เมื่อมีหนังสือเล่มหนึ่งเล่มใดฮิต ติดตลาด ไม่นานก็จะมีหนังสือแนวเดียวกันออกมาวางจำหน่าย ขอมีส่วนแบ่งบ้างเป็นเรื่องธรรมดา แต่การ ดัดแปลงหรือลอกเลียนแบบต้องมีศิลปะและศีลธรรมด้วย รับความคิดของคนอื่นมา แต่นำเสนอออกไปด้วย ความคิดของเรา สิ่งสำคัญที่ควรตระหนักอยู่เสมอ ก็คือประโยชน์ที่ผู้อ่านจะได้รับ อย่าสักแต่ว่าจับตรงนั้นมา ตรงนี้ มารวมกันให้เต็มเล่ม เพราะคุณค่าของหนังสืออยู่ที่คุณภาพ ไม่ใช่ปริมาณ
ในการกำหนดหัวข้อหรือรายละเอียด ในกรณีที่หนังสือที่จะเขียนมีวางจำหน่ายใน ท้องตลาดหลาย เล่มแล้ว ให้วิเคราะห์แต่ละ เล่ม มีจุดเด่นข้อด้อยสิ่งที่ขาดหาย สิ่งที่ควรเติมเต็ม เพื่อสร้างสิ่งใหม่ที่เป็น ของเราเอง และสิ่งที่สร้าง ใหม่ก็ต้องมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว หนังสือเรื่องเดียวกันในท้องตลาด บางเล่มเน้น เนื้อหาที่ค่อนข้างละเอียด บางเล่มไม่เน้น เนื้อหาแต่ เน้นการปฏิบัติจริง บางเล่ม เนื้อหาไม่ละเอียด แต่ราคา ไม่แพง นำเสนอเฉพาะสิ่งที่ผู้อ่านควรรู้เท่านั้น เน้นระดับพื้นฐาน จะเห็นว่าแต่ละเล่มต่างก็มีเอกลักษณ์เฉพาะ ตัว
- Details
- Category: คอมพิวเตอร์กับการผลิตหนังสือ
- Hits: 1248
พยายามเปรียบเทียบตัวเองหรือสมมุติตัวเองให้เป็นผู้อ่าน คิดให้รอบคอบว่าควร จะนำเสนออะไร บ้าง อะไรน่าจะมาก่อนหลัง หัวข้อส่วนใดควรมีความสัมพันธ์และต่อเนื่อง กัน เมื่ออ่านจบทั้งเล่มแล้ว ผู้อ่าน จะได้อะไร เกิดการเรียนรู้หรือได้รับความรู้ตาม ระบบที่ เราได้วางไว้หรือไม่
นอกจากการตรวจสอบเองแล้ว ควรรบกวนเพื่อนสนิทที่ไว้ใจได้ ให้ช่วยวิจารณ์การจัดหัวข้อของเราด้วย และหากเป็นหนังสือคอมพิวเตอร์ ก็ควรเลือกทั้งผู้ที่ไม่เป็นหรือไม่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์เลย ผู้รู้ระดับปานกลางและระดับสูง ก็จะทำให้ได้ ข้อมูลในระดับหนึ่งเกี่ยวกับการจัดลำดับหัวข้อย่อยของเรา ว่ามีความเหมาะสมเพียงใด มีข้อดีข้อด้อยอย่างไร และควร เว้นระยะในการตรวจสอบ เช่น อีกอาทิตย์หนึ่งกลับมาอ่าน ทบทวนอีกครั้ง เพื่อค้นหาจุดอ่อน ของหัวข้อย่อย เพราะในระหว่างที่เราคิด อยู่นั้น เราจะมองไม่เห็นอะไร บางอย่างถูกมองข้ามจึงควรเว้นระยะ โดยไม่แตะ ต้องเอกสารนั้นๆ จนกว่า เวลาจะผ่านไปสักระยะ เมื่อกลับมาตรวจสอบอีกครั้งก็จะพบจุดบก พร่อง ในกระบวนการจัดลำดับความคิดของเรา ควรตรวจสอบหลายๆ เที่ยวเพื่อให้ได้หัวข้อย่อยที่สมบูรณ์ ที่สุด
หากเป็นการผลิตหนังสือเพื่อจำหน่าย การวิเคราะห์อีกขั้นหนึ่งก็คือ หัวข้อที่จะนำ เสนอเหล่านี้ม ประโยชน์ต่อผู้อ่านเพียงใด ลองเปรียบเทียบกับหนังสือของผู้แต่งท่านอื่น และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ มันน่าจะ ขายได้หรือไม่ พิมพ์ออกมาแล้วจะรวยหรือจะเจ๊ง!!! ถ้าหนังสือเล่มนั้นๆ ไม่ได้ลงทุนพิมพ์เองแต่ส่งต่อ สำนักพิมพ์อีกทีหนึ่ง เรื่องความเสี่ยงจะไม่ได้อยู่ที่ผู้จัดทำ แต่จะอยู่ที่สำนักพิมพ์ แต่ความเสี่ยงก็ไม่หมด ไปเสียทีเดียว สำนักพิมพ์อาจไม่จ่ายส่วนแบ่งให้คุณ เพราะขายไม่ออกหรือขายได้แต่อาจมีเจตนาจะเบี้ยวหรือ จ่ายให้แค่บางส่วน เรื่องปกติครับ
- Details
- Category: คอมพิวเตอร์กับการผลิตหนังสือ
- Hits: 1358
อย่าเพิ่งท้อนะครับ งานเขียนหนังสือไม่ต้อนรับนักเขียนที่ใจรักแต่ความอดทนต่ำ แต่ละหัวข้อย่อย ก็ยังต้องแยกย่อยเป็นหัวข้อ ย่อยๆ อีกที ต้องสัมพันธ์กันมีความสมบูรณ์ในตัวเอง แนะนำให้เขียนลงกระดาษ ก่อน แล้วจึงพิมพ์ลงเครื่องคอมพิวพเตอร์ เพราะ เขียนเสร็จแล้ว สามารถอ่านทบทวนได้บ่อยครั้งจนกว่า จะได้เนื้อหาสมบูรณ์ที่สุด
ในการเขียนรายละเอียดย่อยของแต่ละหัวข้อที่มีภาพประกอบ อาจเขียนโดยดูตามตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างหัวข้อย่อยที่มีภาพประกอบ เขียนข้อความและวาดภาพประกอบ จะให้ดีควรแยกไว้คนละ เล่ม ข้อความเขียนไว้เล่ม หนึ่ง ภาพไว้เล่มหนึ่ง เพราะถ้าคุณไม่พิมพ์เอง ส่วนให้คนอื่นพิมพ์ ส่วนที่เป็นภาพ ประกอบ คุณก็ยังสามารถเตรียมภาพ ยังทำงานต่อ ไปได้ ไม่ต้องรอคอยให้อีกฝ่ายพิมพ์ให้เสร็จ เพื่อจะนำ ต้นฉบับมาใช้งานต่อ จากภาพตัวอย่างจะเป็นการเขียนและวาดภาพประกอบ โดยตั้งชื่อภาพว่า Mb001
- Details
- Category: คอมพิวเตอร์กับการผลิตหนังสือ
- Hits: 1289
การเตรียมภาพอาจจะเป็นการวาดภาพ หรือถ่ายภาพด้วยกล้องถ่ายภาพ หรือจับภาพหน้าจอ คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมจับหน้าจอ แล้วนำภาพที่ได้ไปตกแต่งในโปรแกรม Photoshop ก่อนจะนำ ไปใช้งานจริงอีกที แต่ละภาพก็ตั้งชื่อตามเนื้อหาที่ได้เขียนไว้ เช่น Mb001.tif ตั้งชื่อตามเนื้อหาที่ได้เขียนไว้
- Details
- Category: คอมพิวเตอร์กับการผลิตหนังสือ
- Hits: 1406
FastStone Photo Resizer 3.0 Article Count: 4
มือใหม่ Microsoft Office Publisher 2007 Article Count: 50
มือใหม่ CorelDRAW 12 Article Count: 1
มือใหม่ Photoshop CS3 Article Count: 123
คอมพิวเตอร์กับการผลิตหนังสือ Article Count: 34
Capture Express Article Count: 7
การจับหน้าจอคอมพิวเตอร์ Article Count: 10
จัดการไฟล์รูปภาพด้วย ACD See Article Count: 10
ดูไฟล์รูปภาพด้วย Picperk Article Count: 11
การจับภาพหน้าจอคอมพิวเตอร์ด้วย ScreenHunter Article Count: 2
วาดภาพด้วย Adobe Illustrator CS3 Article Count: 81
รวมเทคนิคการใช้งาน CorelDRAW 12 Article Count: 116
คู่มือผลิตสิ่งพิมพ์ด้วย PageMaker 6.5 Article Count: 80
รวมตัวอย่างงาน Photoshop สำหรับมือใหม่ Article Count: 103
จัดการภาพด้วย PhotoScape Article Count: 33
วิธีใช้ Illustrator CS6 Article Count: 1
Paint Article Count: 5
ใบปลิว ทำใบปลิว Article Count: 13
ใบปลิวขนาด A5 Article Count: 11
สิ่งพิมพ์สำเร็จรูปพร้อมใช้ Article Count: 2
โปรแกรมแต่งภาพฟรี Artweaver Article Count: 9
Photoshop CS6 Article Count: 17
Page 56 of 181