พยายามเปรียบเทียบตัวเองหรือสมมุติตัวเองให้เป็นผู้อ่าน คิดให้รอบคอบว่าควร จะนำเสนออะไร บ้าง อะไรน่าจะมาก่อนหลัง หัวข้อส่วนใดควรมีความสัมพันธ์และต่อเนื่อง กัน เมื่ออ่านจบทั้งเล่มแล้ว ผู้อ่าน จะได้อะไร เกิดการเรียนรู้หรือได้รับความรู้ตาม ระบบที่ เราได้วางไว้หรือไม่

นอกจากการตรวจสอบเองแล้ว ควรรบกวนเพื่อนสนิทที่ไว้ใจได้ ให้ช่วยวิจารณ์การจัดหัวข้อของเราด้วย และหากเป็นหนังสือคอมพิวเตอร์ ก็ควรเลือกทั้งผู้ที่ไม่เป็นหรือไม่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์เลย ผู้รู้ระดับปานกลางและระดับสูง ก็จะทำให้ได้ ข้อมูลในระดับหนึ่งเกี่ยวกับการจัดลำดับหัวข้อย่อยของเรา ว่ามีความเหมาะสมเพียงใด มีข้อดีข้อด้อยอย่างไร และควร เว้นระยะในการตรวจสอบ เช่น อีกอาทิตย์หนึ่งกลับมาอ่าน ทบทวนอีกครั้ง เพื่อค้นหาจุดอ่อน ของหัวข้อย่อย เพราะในระหว่างที่เราคิด อยู่นั้น เราจะมองไม่เห็นอะไร บางอย่างถูกมองข้ามจึงควรเว้นระยะ โดยไม่แตะ ต้องเอกสารนั้นๆ จนกว่า เวลาจะผ่านไปสักระยะ เมื่อกลับมาตรวจสอบอีกครั้งก็จะพบจุดบก พร่อง ในกระบวนการจัดลำดับความคิดของเรา ควรตรวจสอบหลายๆ เที่ยวเพื่อให้ได้หัวข้อย่อยที่สมบูรณ์ ที่สุด


หากเป็นการผลิตหนังสือเพื่อจำหน่าย การวิเคราะห์อีกขั้นหนึ่งก็คือ หัวข้อที่จะนำ เสนอเหล่านี้ม ประโยชน์ต่อผู้อ่านเพียงใด ลองเปรียบเทียบกับหนังสือของผู้แต่งท่านอื่น และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ มันน่าจะ ขายได้หรือไม่ พิมพ์ออกมาแล้วจะรวยหรือจะเจ๊ง!!! ถ้าหนังสือเล่มนั้นๆ ไม่ได้ลงทุนพิมพ์เองแต่ส่งต่อ สำนักพิมพ์อีกทีหนึ่ง เรื่องความเสี่ยงจะไม่ได้อยู่ที่ผู้จัดทำ แต่จะอยู่ที่สำนักพิมพ์ แต่ความเสี่ยงก็ไม่หมด ไปเสียทีเดียว สำนักพิมพ์อาจไม่จ่ายส่วนแบ่งให้คุณ เพราะขายไม่ออกหรือขายได้แต่อาจมีเจตนาจะเบี้ยวหรือ จ่ายให้แค่บางส่วน เรื่องปกติครับ

Sponsored Ads