อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับงานไอทีราคาค่อนข้างแพงพอสมควร ซื้อแพงขายถูก เมื่อซื้อมาแล้ว จึงต้อง พยายามศึกษา เพื่อใช้งานให้คุ้มค่าที่สุด
1. คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันรองรับการทำงานกับงานผลิตหนังสือได้สบายๆ แต่ควรเลือกเครื่องที่ใช้ การ์ดจอแบบแยกและฮาร์ดดิสก์ความจุสูง เพราะไฟล์ที่ได้จะมีขนาดใหญ่มากๆ โดยเฉพาะหนังสือที่มีภาพ ประกอบจำนวนมาก
2. เครื่องพิมพ์
เครื่องพิมพ์มีหลายรุ่น หลายแบบ ควรมีไว้อย่างน้อย 1 เครื่อง สำหรับพิมพ์เนื้อหา เพื่อตรวจสอบ ความเรียบร้อย เครื่องพิมพ์ แบบ เลเซอร์เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด เลือกซื้อรุ่นที่สามารถพิมพ์ได้ที่ความละเอียด 600 x 600 dpi ขึ้นไป สำหรับท่านใดที่อยู่ต่างจังหวัด ที่ไม่มีร้านทำเพลทแยกสีด้วยคอมพิวเตอร์ ก็จำเป็น ต้องมีเครื่องพิมพ์แบบนี้มากที่สุด เพราะสามารถพิมพ์งานลงบนกระดาษทำ เป็นอาร์ตเวิร์ค แล้วนำไปใช้ใน กระบวนการทำเพลทได้
สำหรับท่านใดที่อยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์อาจไม่จำเป็นต้องใช้ เลือกซื้อ เครื่องพิมพ์อิงเจ็ตราคาประหยัดสักตัว 3,000-4,000 บาท ก็เพียงพอแล้ว พิมพ์ได้ทั้งสีและขาวดำ เลือกรุ่น ที่มีหมึกสำหรับเติมด้วย ควรเป็นยี่ห้อที่หัวพิมพ์ติด อยู่กับตลับหมึก ไม่ใช่หัวพิมพ์กับตลับหมึกแยกกัน เพราะหมึกประเภทเติม คุณภาพหมึกจะไม่เทียบเท่าหมึกพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ รุ่นนั้นๆ โดยตรง โอกาสหมึก อุดตันหัวพิมพ์จึงเป็นไปได้สูง แต่กรณีที่เป็นตลับหมึกพิมพ์ที่มีหัวพิมพ์ติดอยู่ด้วยจะไม่มีปัญหา หัวหมึก อุดตันก็เอาไปแช่น้ำอุ่น หากยังใช้ไม่ได้อีก ก็โยนทิ้งซื้อใหม่ก็ใช้ได้ แต่โอกาสที่จะเกิดปัญหานี้ค่อนข้างยาก ตลับหมึกของแท้ราคาพันกว่าบาท
ในขณะที่หมึกไว้เติมราคาไม่กี่ร้อยบาท เติมได้ประมาณ 3 - 4 ครั้ง บางรุ่นใช้ได้ 10 กว่าครั้ง ค่อนข้างคุ้ม เพราะงานที่พิมพ์จะเป็นการพิมพ์ออกมาเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ของเนื้อหาเท่านั้น อาจพิมพ์เฉพาะข้อความเพียงอย่างเดียว เลือกโหมดการพิมพ์ เป็นพิมพ์แบบประหยัดหมึก แค่นี้ก็ประหยัดเงินไปได้ตั้งเยอะ
3. Scanner
เป็นอุปกรณ์ช่วยแปลงภาพให้เป็นไฟล์รูปภาพ สำหรับนำไปประกอบในหนังสือ ซึ่งอาจจะเป็นภาพ ถ่าย ภาพวาดหรือฟิล์ม สไลด์ เครื่องแสกนเนอร์มีหลายแบบ คุณภาพแตก ต่างกันไป พิจารณาที่งานพิมพ์ หนังสือของคุณเป็นหลักว่าต้องการคุณภาพของภาพ อยู่ในระดับใด สำหรับงานเขียนหนังสือทั่วๆ ไปที่ไม่เน้น การนำเสนอภาพเหมือนจริงหรือภาพที่ต้องการความคมชัดสูง เครื่อง แสกนเนอร์ที่มีจำหน่ายทั่วๆ ไปก็เพียงพอแล้ว แต่กรณีที่ใช้ ภาพถ่ายหรือฟิล์มสไลด์ อาจใช้การแสกนด้วยเครื่องดรัมแสกนหรือเครื่อง แสกนฟิล์ม ภาพที่ได้จะมีความคมชัดมากกว่า
อาจแบ่งลักษณะการใช้เครื่องแสกนเนอร์กับงานหนังสือดังนี้
1. เครื่องแสกนเนอร์ทั่วไป
สำหรับการผลิตหนังสือที่เน้นข้อความเป็นหลักมีภาพประกอบบ้าง อาจเป็นภาพที่วาดเอง หรือเป็น ภาพที่ไม่เน้นความคมชัด มากนัก เช่น หนังสือคอมพิวเตอร์ นวนิยาย
2. เครื่องแสกนฟิล์มและเครื่องดรัมแสกน
เป็นเครื่องแสกนเนอร์สำหรับแสกนภาพที่ต้องการความคมชัดสูง เพื่อผลิตหนังสือ ประเภท นิตยสารการท่องเที่ยว การถ่ายภาพ เป็นเครื่องที่ราคาค่อนข้างแพงประมาณครึ่งแสนขึ้นไป หากต้องการ แสกนภาพ ก็นำฟิล์มสไลด์หรือภาพไปใช้บริการกับ ร้านประเภทนี้ แก้ขัดไปก่อนก็แล้วกัน จนกว่าจะมีเงินซื้อ เป็นของตนเอง ซึ่งก็มีร้านล้างรูปบางร้านบริการ แสกนฟิล์มสไลด์ โดยคิดเป็น ม้วนๆ ละร้อยกว่าบาท
4. เครื่องบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีหรือดีวีดี
กว่าจะเป็นหนังสือแต่ละเล่ม ใช้เวลารวบรวมข้อมูลและเขียนอยู่เป็นแรมเดือน หากมีวันหนึ่งวันใด ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์เกิดสิ้นอายุขัย พังเอาดื้อๆ ขึ้นมา ข้อมูลอาจหายไปในพริบตา จึงควรหมั่นสำรองข้อมูลลงเก็บในแผ่นดิสก์ไว้ด้วย แต่แผ่นดิสก์เก็บข้อมูลได้ค่อนข้างน้อย การบันทึกข้อมูล ลงแผ่นซีดีหรือดีวีดี จึงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า
5. กล้องถ่ายภาพ
เป็นอุปกรณ์ที่อาจไม่จำเป็นเท่าไรนัก ขึ้นอยู่กับลักษณะของหนังสือ จ้างนักถ่าย ภาพมืออาชีพ น่าจะดีกว่าถ่ายภาพเอง กล้อง ถ่ายภาพแบบดิจิตอลก็เป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจ ไม่เปลืองฟิล์ม ถ่ายภาพเสร็จ แล้ว ก็ถ่ายไฟล์ลงเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ่ายไม่ดีก็ถ่าย ใหม่ จนกว่าจะพอใจ
6. สื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ
สื่อบันทึกข้อมูลมีหลายแบบ ลักษณะการใช้งานราคาแตกต่างกันไป แผ่นดิสก์เก็ตเป็นสื่อบันทึก ข้อมูลแบบดั้งเดิม มาแต่ โบราณกาล แต่คุณภาพกลับแย่ลงทุกวัน ใช้ได้ไม่กี่ครั้งก็เริ่มแย่ เหมาะสำหรับงาน ผลิตหนังสือที่เน้นข้อความมากว่าภาพประกอบ เพราะเมื่อ แปลงงานที่ได้พิมพ์ใน PageMaker เป็นไฟล์แบบ Pdf ไฟล์ที่ได้จะมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ก็อปปี้ลงแผ่นดิสก์ได้สบายๆ ส่วนหนังสือที่มีภาพประกอบ ตลอดจน มีรายละเอียดต่างๆ ค่อนข้างมาก อาจใช้สื่อบันทึกข้อมูลประเภทซิพไดรว์หรือแจ๊สไดรว์ ถ้าใหญ่มากๆ ก็บันทึกลงแผ่นซีดีอาร์หรือก็อปปี้ลงฮาร์ดดิสก์สำรอง เพื่อนำไฟล์ไปยิงฟิล์ม แยกสี อัดเพลทต่อไป
7. เครื่องมือวาดภาพ
สำหรับหนังสือบางเล่มที่มีภาพประกอบเป็นภาพวาด เช่น หนังสือสำหรับเด็ก ควรจะมีเครื่องมือ สำหรับวาดภาพไว้ด้วย อาจไปใช้บริการร้านวาดรูป ง่ายดีเหมือนกัน หรือไม่ก็ค้นหาภาพในอินเตอร์เน็ต
8. เครื่องมืออื่นๆ
- เครื่องคอมพิวเตอร์มือถือหรือพ็อกเก็ตพีซี สำหรับนักเขียนที่อารมณ์ไม่อยู่กับที่ต้องได้ บรรยากาศดีๆ ความคิดจึงจะแล่น ข้อดีของปาล์มก็คือไม่ต้องใช้ไฟฟ้า สามารถพิมพ์ข้อความเข้าไปเก็บไว้ได้ จากนั้นก็ถ่ายโอนข้อมูลลงเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์อีกที คุณจะอยู่ตามป่าเขาลำเนาไพร ก็ยังสามารถ ใช้คอมพิวเตอร์ได้
- คอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้วหรือโน้ตบุ๊ค ( Notebook ) สำหรับการทำงานนอกพื้นที่ อยู่ที่ไหนก็ทำงาน ได้
- มือถือเลือกรุ่นที่รองรับระบบ Edge เพื่อความเร็วในการใช้งานอินเตอร์เน็ต พร้อมซิมสำหรับใช้ งานอินเตอร์เน็ต มีให้เลือกหลายแบบเช่น 20 ชั่วโมงต่อเดือน 99 บาท เป็นต้น คราวนี้ก็ทำงานได้ทุกที่ อัพเดทข้อมูลได้ตลอดเวลา