ในการสร้างหมวดหมู่ และเมนูนั้น Alias มีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งต้องศึกษาให้เข้าใจโดยเฉพาะการทำเว็บ SEO ให้เว็บไซต์ Joomla เพราะ Alias ของหมวดหมู่หลัก มีผลต่อการจัดอันดับการค้นหาของ Google
1. Alias เป็นเรื่องสำคัญมากใน Joomla โดยเฉพาะ Alias ของ เมนู ดึงบทความในหมวดหมู่หลักมาแสดงแบบนี้ เพราะเปรียบได้กับ Subdomain ในการทำเว็บไซต์ด้วย WordPress เลยทีเดียว การใช้ชื่อ Alias จึงสามารถประยุกต์ได้หลายแบบ หากทำเว็บไซต์แนวหาเงินออนไลน์ ก็ให้ใช้คีย์เวิร์ดที่ต้องการมาทำเป็นหมวดหมู่ได้เลย แต่ทั้งนี้ต้องสัมพันธ์กับหมวดหมู่บทความด้วย โดยใช้ชื่อเดียวกันไปเลย
2. ตัวอย่างการสร้างหมวดหมู่หลัก เช่น แนะนำโปรแกรมฟรี ซึ่งได้ใช้ Alias = free-software-guide
3. เมื่อแสดงผลในหน้าเว็บไซต์ และมีการคลิกเมนู แนะนำโปรแกรมฟรี จะเห็นว่า เราสามารถจัดวางโมดูลเพื่อแสดงเนื้อหาได้คล้ายกับการทำ Subdomain โดยจะแสดงชื่อเว็บไซต์/ตามด้วยชื่อ Alias อย่างการเข้าชมหน้านี้ ก็สามารถพิมพ์ URL ตรงๆ www.kmancity.com/free-software-guide/ ได้เลย ก็จะแสดงผลคล้ายตัวอย่างนี้เลย ทดสอบจริงได้ครับ เพราะเว็บไซต์มีอยู่จริง ผลที่ได้ จะทำให้การแสดงหน้าเว็บไซต์ คล้ายกับ Subdomain หรือการติดตั้งเว็บไซต์ใน โฟลเดอร์ย่อยเลยทีเดียว เพราะบทความในหมวดหมู่อื่นจะไม่มาแสดงปะปนเลย
4. นอกจากนี้ก็ยังสามารถวางแบนเนอร์ทางขวามือ ตลอดจนทำเมนู ให้ดึงบทความเฉพาะในหมวดหมู่หลัก แนะนำโปรแกรมฟรี มาแสดงเท่านั้น
5. หรือจะสร้างเมนูย่อย ไว้สำหรับเรียกดูบทความในหมวดหมู่ย่อย ก็ยังได้ เช่น โปรแกรมสำนักงาน โปรแกรมสร้างเว็บไซต์
6. ตัวอย่างการตั้งค่า Alias ใน Joomla ของเมนู แนะนำโปรแกรมฟรี
7. ตัวอย่างการตั้งค่า Alias ของ หมวดหมู่ย่อย โปรแกรมสร้างเว็บไซต์
8. ตัวอย่างการตั้งค่า Alias ของบทความ รวมโปรแกรมฝึกทำเว็บ Joomla 3.3
9. ตัวอย่างการแสดง URL ของบทความใดๆ ตามที่ได้ตั้งค่าในข้อที่ 7-9 ก็จะแสดงคล้ายตัวอย่างด้านล่าง
http://www.kmancity.com/free-software-guide/11-website-application/6-building-joomla3-applications.html
http://www.kmancity.com/ = ชื่อเว็บไซต์
free-software-guide = Alias ของเมนู แนะนำโปรแกรมฟรี
11-website-application = หมายเลขไอดีและ Alias ของหมวดหมู่
6-building-joomla3-applications.html = หมายเลขไอดีและ Alias ของบทความ
บทสรุป
การทำความเข้าใจกับ Alias ใน Joomla เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้เราตั้งชื่อเมนู หมวดหมู่ และบทความได้ตรงตามหลัก SEO นั่นเอง ซึ่งเราสามารถประยุกต์หมวดหมู่หลักเป็น Subdomain ได้เลย เราจะเห็นว่า หน้าตาการปรับแต่งนั้น เทียบได้กับการสร้าง Subdomain ใน WordPress เลยทีเดียว แต่เราไม่ต้องไปเสียเวลาทำหลายเว็บ เพราะซับโดเมนก็คือเว็บไซต์ใหม่อีกเว็บหนึ่ง มีหลายซับโดเมนก็เหมือนกับมีหลายเว็บไซต์ แต่ Joomla จะใช้การสร้างหมวดหมู่แทน หรือจะใช้ Subdomain ก็ไม่มีปัญหา รองรับได้ทั้งหมด
ตัวอย่างการทำเว็บไซต์แบบ subdomain ใน WordPress จะนำคีย์เวิร์ดมาทำ Subdomain เช่น doghouse หากเป็นการสร้างเว็บไซต์ด้วย Joomla ก็ใช้ doghouse ทำเป็นหมวดหมู่หลัก ก็สามารถจัดวางทุกอย่างได้คล้ายกัน เพียงแต่ไม่ต้องทำเว็บใหม่เท่านั้นเอง มองภาพออกนะครับ