การตรวจนับจำนวนไดรว์บน DOS จะยากกว่า แต่ถ้าเป็น Windows ก็เพียงแต่ดับเบิ้ลคลิก ที่ไอคอน My Computer ก็จะปรากฏกรอบข้อความแสดงจำนวนไดรว์ ภายในเครื่อง ซึ่งจะมีไดรว์ต่างๆ ดังนี้
1. 3.5 Floppy [A:] เป็นไดรว์ A: แทนตำแหน่ง A:\>_ หรือเอพร๊อมพ์ บน DOS เป็น สัญลักษณ์แทนฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์


2. System [C:] เป็นไดรว์ C: แทนตำแหน่ง C:\>_ หรือซีพร๊อมพ์ บน DOS ส่วน System เป็นชื่อไดรว์นี้หรือ Volume Label บน DOS จะมีหรือไม่มีก็ได้ ให้จด จำที่ตัว C: ก็พอ


3. DATA1 [D:] เป็นไดรว์ D: แทนตำแหน่ง D:\>_ หรือดีพร๊อมพ์ บน DOS


4. CDROM [E:] เป็นซีดีรอมไดรว์ E: แทนตำแหน่ง E:\>_ บน DOS
ในเครื่องนี้ก็มีทั้งหมด 4 ไดรว์ ในไดรว์ C: และ D: จะเป็นฮาร์ดดิสก์ซึ่งอาจเป็นฮาร์ดดิสก์ ตัวเดียวที่แบ่งไว้ 2 ไดรว์หรือเป็นฮาร์ดดิสก์ 2 ตัวมีตัวละไดรว์ก็ได้ หลายคนที่อาจเกิดคำถามในใจว่า แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเครื่องนั้นๆ มีหรือไม่มีฮาร์ดดิสก์ สังเกตไม่ยาก ไดรว์ A:\> แทนตำแหน่ง ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ไว้อ่านแผ่น ดิสก์ ส่วนซีดีรอมไดรว์ถ้าถูกกำหนดเป็นไดรว์ C: เมื่อใด ก็แสดงว่าใน เครื่องนั้นๆ ไม่มีฮาร์ดดิสก์หรือมีแต่ไม่ทำงาน อาจเสียหรือตั้งค่าในไบออสไม่ถูกต้อง เครื่อง เลยตรวจ ไม่พบว่ามีฮาร์ดดิสก์ต่อพ่วงอยู่ภายใน


ในฮาร์ดดิสก์อาจมีข้อมูลใดๆ อยู่ การดูรายชื่อไฟล์ ก็จะใช้คำสั่ง DIR C: หรือ DIR D: แต่การดู ข้อมูลในไดรว์ A: หรือ ซีดีรอมไดรว์นั้น จะต้องใส่แผ่นที่ต้องการดู ข้อมูล ใส่แผ่นไปในช่องอ่านเสียก่อน แล้วจึงพิมพ์คำสั่ง DIR A: เพื่อดูข้อมูลในแผ่นดิสก์ หรือ DIR E: เพื่อดูข้อมูลในแผ่นซีดีรอม แต่บน ฮาร์ดดิสก์ไม่ต้องใส่แผ่นอะไร เข้าไป เพราะฮาร์ดดิสก์ก็เป็นสื่อบันทึกข้อมูลเหมือนกับแผ่นดิสก์หรือแผ่น ซีดีรอม เพียงแต่ถูกติดตั้งอยู่ในเครื่องไม่นิยมถอดเข้าถอดออก เพราะบอบบาง เสียง่าย และแพงกว่า