Sponsored Ads

คำกริยาในภาษาอังกฤษมีหลายชนิด วิธีการนำไปใช้งานก็ต่างกัน ต้องทำความเข้าใจ เพื่อจะได้ใช้งานให้ถูกต้อง ซึ่งมีอยู่ค่อนข้างมากที เดียว แต่ก็ต้องจำให้ได้ เพราะวิธีใช้งานจะต่างจากคำกริยาในภาษาไทยของเรา

 

คำกริยาเป็นคำที่แสดงถึงอาการ หรือการกระทำ กริยาท่าทาง ความเป็นไป ของประธานในประโยค เช่น นายแดงตีสุนัข นายแดงเป็น ประธานของประโยค ตี เป็นกริยา และสุนัข ก็เป็นกรรม ภาษาอังกฤษจะแยกคำต่างๆ ในลักษณะนี้ แต่การใช้งานจะมีความซับซ้อนพอ สมควร

 

ตัวอย่างคำกริยาแบบต่างๆ และวิธีใช้งาน

ตัวอย่างทั้งหมดนี้จะสรุปเพียงย่อๆ ให้รู้จักแต่ละชนิด ส่วนรายละเอียดการใช้งานคำกริยาแต่ละชนิดแบบละเอียด จะอธิบายในบทความ ใหม่ เพราะมีรายละเอียดมาก ซึ่งจะะต้องทำความเข้าใจเพื่อจะได้ใช้งานให้ถูกต้อง โดยเฉพาะการเรียบเรียงประโยคเพื่อพูดหรือเขียน

 

คำกริยาที่ต้องมีกรรมมารับ

คำกริยาประเภทนี้ต้องมีกรรมมารับ ไม่เช่นนั้นจะเป็นประโยคที่ไม่สมบูรณ์ฟังแล้ว ไม่ได้ใจความ เช่น

Tom hits
ทอม ฮิตสฺึ
ทอม ตี ฟังแล้วไม่ได้ใจความ ไม่รู้ว่าตีอะไร ยังเป็นประโยคที่ไม่สมบูรณ์ ทอม /Tom เป็นประธานของประโยค ส่วน ฮิตสึ/hits เป็นคำ กริยา

Tom hits a dog.
ทอม อิตสึ อะ ด้อก
ทอม ตี สุนัข ตัวหนึ่ง อาจจะใช้มือหรือไม้ ก็ตามแต่ ก็จะเป็นประโยคที่สมบูรณ์ เพราะมี กรรม คือ สุนัข /a dog. มาทำให้เป็นประโยคที่ สมบูรณ์

หากเป็นภาษาไทยของเราแล้ว ก็เหมือนพูดไม่จบ พูดไม่รู้เรื่อง เช่น ชายหนุ่ม พูดกับ สาวคนสนิทว่า ผมรัก... แล้วก็ไม่พูดต่อ ก็ไม่จบ ประโยค มีแต่ประธาน คือ ผม คำกริยา คือ รัก แต่ไม่มีกรรม ถ้าบอกว่า ผมรักคุณ สาวคนนั้นก็เป็น กรรม มีกรรม มารับ

คำกริยาในกลุ่มนี้สังเกตุไม่ยาก คือถ้า พูดแค่สองคำ แล้วจะฟังไม่รู้เรื่อง เช่น ฉันกิน...., ฉันเตะ,,, , เขารัก,,,, หล่อนชอบ,,,, สุนักกัด,,,, เป็นต้น eat อีท กิน
kick คิก เตะ
like ไล้เคอะ ชอบ
bite ไบเทอะ กัด

 

คำกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ

คำกริยาแบบนี้ ไม่ต้องมีกรรมมารองรับ สามารถพูดขึ้นมาลอยๆ ได้เลย ฟังแล้วก็เข้าใจได้ทันที แม้จะเป็นเพียง 2 คำสั้นๆ เช่น

 

Sara sleeps.
ซาร่า สลิฟสึ (ออกเสียง สึ ยาวนิดหนึ่ง)
ซาร่า นอนหลับ สั้นๆ ก็เข้าใจความหมาย

คำกริยาในลักษณะนี้จะเป็นคำที่มีความหมายถึงกริยา อาการ ต่างๆ เช่น ยิ้ม ร้องไห้ นอนหลับ เดิน ยืน มอง กระโดด คลาน เป็นต้น
smile สมาย ยิ้ม
cry คราย ร้องไห้
sleep สลีพเพอะ นอนหลับ
walk วอล์ก เดิน
run รัน วิ่ง
stand แสตน ยืน
look ลุคเคาะ ดู
jump จัมเพ่อะ กระโดด
crawl ครอ คลาน ชอน กระดืบ ขนลุก

 

คำกริยาแท้

คำกริยาแบบนี้จะทำหน้าที่จริงๆ ตามกริยา อาการ การกระทำของประธานของประโยค เช่น

Tom drinks coffee.
ทอม ดริงสะ คอฟฟี่
ทอม ดื่ม กาแฟ คำว่า ดื่ม/drinks แสดงถึงการกระทำของ ทอม/Tom ซึ่งเป็นประธานของประโยค ทำหน้าที่เป็นกริยาจริงๆ

การดูว่าเป็นกริยาแท้หรือไม่ก็ต้องดูว่า คำกริยานั้น ทำหน้าที่แสดงอาการหรือการกระทำของประธานโดยตรงหรือไม่

 

คำกริยาไม่แท้

คำกริยาในลักษณะนี้ ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นคำกริยาแท้ แต่มีความหมายในลักษณะหมายถึง การ หรือความ โดยมักจะมีคำว่า ing มาต่อ ท้าย

Tom love running
ทอม เลิฟ รันนิ่ง
ทอม รัก การวิ่ง หรือรักการออกกำลังกายด้วยการวิ่ง นั่นเอง running เป็นคำคุณศัพท์ แต่ถ้า run จะเป็นคำกริยา แต่ในที่นี้ ไม่ได้ทำ หน้าที่กริยาแท้แสดงอาการหรือการกระทำของประธาน

การดูว่า คำกริยานั้น ทำหน้าที่เป็นกริยาไม่แท้ ก็คือ คำนั้นไม่ได้ทำหน้าที่ของตัวเองในประโยค เช่น ทอมชอบการวิ่ง กริยาแท้จะเป็นคำ ว่า ชอบ แต่คำว่า การวิ่ง เป็นความชอบ ถ้า run ทำหน้าที่เป็นกริยาแท้จะต้องเปลี่ยนเป็น ทอมวิ่ง

 

คำกริยาไม่แท้ที่เติม ing ต่อท้าย

คำกริยาบางคำ จะมีข้อบังคับว่าคำกริยาที่ตามมานั้นจะต้องเติม ing ต่อท้าย และทำหน้าที่เป็นคำกริยาไม่แท้ เช่น

Tom stops drinking coffee.
ทอม สตอพสะ ดริงกิง คอฟฟี่
ทอม หยุด ดื่มกาแฟ คำว่า หยุด/stops เป็นกริยาแท้ ส่วนคำว่า ดื่ม เป็นจะเป็นคำกริยาไม่แท้ คือไม่ได้ทำหน้าที่หลัก ไม่เช่นนั้นจะผิด ความหมายไป หากเทียบกับภาษาไทยเราแล้ว ก็อาจจะเป็นประโยคในลักษณะ เขาหยุดวิ่งแล้ว คำว่า หยุด และวิ่ง ต่างก็เป็นคำกริยา แต่ หยุดเป็นกริยาแท้ และวิ่งเป็นกริยาไม่แท้ไม่ได้ทำหน้าที่แสดงการกระทำของประธานโดยตรง

คำกริยาเหล่านี้จะต้องจำอย่างเดียว ว่ามีคำอะไรบ้าง เช่น
keep คีพเพอะ ยังคง He keeps running เขายังคงวิ่งต่อไป
enjoy เอนจอย ชอบ, สนุกกับ She enjoy eating หล่อนชอบกินหรือชอบการกิน หรือชอบกิน

คำกริยาเหล่านี้ใช้ไม่ยาก เพียงแต่ต้องจำให้ได้เท่านั้นเองว่ามีอะไรบ้าง

 

คำกริยาที่มี to ต่อท้าย

คำกริยาบางคำมีกฏว่า จะต้องมี to ต่อท้าย ไม่เช่นนั้นจะถือว่าผิดไวยากรณ์ เช่น

Tony go to school.
โทนี่ โก ทู สคูล
โทนี่ ไป โรงเรียน คำว่า go เป็นคำกริยา ต้องมี to ตามหลัง กริยาประเภทนี้มีหลายคำซึ่งก็ต้องจำ เช่น
have to แฮพ ทู ต้อง
want to ว๊อน ทู ต้องการที่จะ...

 

การใช้ to นำหน้าคำกริยา

คำกริยาส่วนใหญ่ จะต้องมีคำว่า to นำหน้า หากมีคำกริยาในประโยคมากกว่า 1 คำ แต่คำว่ากริยาบางคำ ไม่ได้ทำหน้าที่กริยา แต่ใช้ ในความหมายว่า เพื่อจะ เพื่อที่จะ หรือจะ... เช่น

To be rich , she have to work hard.
ทู บี ริช, ชี แฮพ ทู เวิร์ก ฮาร์ด
เพื่อความร่ำรวย หล่อนต้องทำงานหนัก กรณีนี้ ก็เอาคำว่า to ไปวางหน้ากคำกริยาต่างๆ ได้เลย เช่น
to buy ทู บาย เพื่อที่จะซื้อ, เพื่อซื้อ
to get ทู เก็ด เพื่อจะได้รับ

He works hard to buy a new car.
ฮี เวิร์ก ฮาร์ด ทู บาย อะ นิว คาร์
เขา ทำงาน หนัก เพื่อที่จะ ซื้อ รถคันใหม่

Jenny runs every day to reduce weight.

 

คำกริยาที่มีโครงสร้างใช้งานแบบ ประธาน + กริยา+กรรม+กริยา

การใช้คำกริยาบางประเภทจะมีรูปแบบเฉพาะที่ต้องจำให้ได้ว่าใช้อย่างไร เช่น ประธาน ตามด้วยกริยา ตามด้วยกรรมที่เป็นคน ตาม ด้วยกริยา เช่น

Tom lets his son go to a party.
ทอม เลดสฺ ฮิส ซัน โอ ทู อะ พาร์ตี้
ทอมอนุญาตให้ลูกชายไปงานปาร์ตี้ ทอม/Tom เป็นประธาน อนุญาต/lets กริยา ลูกชาย/his son เป็นกรรม ตามด้วย ไป/go เป็น กริยา

คำกริยาแบบนี้มีหลายคำ เช่น make, help, see เป็นต้น ซึ่งจะต้องจำ และใช้ให้ถูกต้อง ไม่ได้ง่ายๆ เหมือนภาษาไทย เช่น แม่ปล่อยให้ ลูกเล่นน้ำ ภาษาไทยจะไม่มีกฏอะไร ให้ต้องปวดหัว

 

คำกริยา 3 ช่อง ใช้ตามกาล

คำกริยาภาษาอังกฤษจะใช้ตามกาลเวลา เมื่อวานนี้ วันนี้ หรือพรุ่งนี้อนาคต ดังในหัวข้อก่อนหน้านี้ ซึ่งจะเรียกว่า กริยา 3 ช่อง หรือนิยม เรียกกันว่า v1, v2, v3 ตัวอย่าง

คำกริยา กิน/eat/อีท ก็จะแบ่งเป็นกริยา 3 ช่อง แต่เป็นคำเดียวกัน ความหมายเหมือนกัน เพียงแต่ต้องเปลี่ยนรูปเพื่อใช้กับกาลเวลาที่ต่างกัน
1. คำกริยาช่องที่ 1 หรือ v1 eat อีท กิน คำกริยานี้จะใช้กับการกระทำในวันนี้ เวลานี้ ปัจจุบันนี้ เช่น วันนี้แดงกินก๋วยเตี๋ยว กริยาช่อง 1 หรือ v1 จะต้องเติม s หรือไม่เติม s ต่อท้าย ขึ้นอยู่กับจำนวนประธานประโยค คนเดียว (แดง) ก็ต้องเติม s เป็น eats หลายคน (แดง และสมศรี)ก็ไม่ต้องเติม s เป็น eat

2. คำกริยาช่องที่ 2 หรือ v2 ate เอท กิน คำกริยานี้จะใช้กับการกระทำในอดีต อาจจะเป็นวันก่อน เมื่อวาน หรือตอนไหนก็ได้ ในอดีต เช่น เมื่อวานนี้ แดงกินข้าวผัด กริยาช่องที่ 2 หรือ v2 อาจจะมีการเปลี่ยนรูป หรือการออกเสียง เช่น eat เป็น ate

3. คำกริยาช่องที่ 3 หรือ v3 eaten อีทเท่น กิน คำกริยานี้จะใช้ในความหมายว่าได้กระทำสิ่งนั้น ได้ทำเรื่องนั้น หรือได้กระทำต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน เช่น วันนี้แดงได้กินก๋วยเตี๋ยวแล้ว Daeng has eaten noodles. กริยาช่องที่ 3 หรือ V3 จะต้องมี Has, Have เติมข้าง หน้า

จะเห็นได้ว่า ทั้ง 3 ประโยคนี้มีความหมายที่ต่างกัน ภาษาไทยเราไม่ยุ่งยากแบบนี้ แต่ภาษาอังกฤษจะมีการเปลี่ยนรูปคำ เมื่อกล่าวถึง เรื่องในอดีต หรือปัจจุบัน หรืออนาคต คำกริยาเดียวกัน แต่จะใช้ไม่เหมือนกัน เพื่อที่เวลาอ่าน ก็จะรู้ว่า เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเวลาใด นั่นเอง

ตัวอย่าง คำกริยา 3 ช่อง เช่น
arise arose arisen เกิดขึ้น
awake awakened / awoke awakened / awoken ตื่น
backslide backslid backslidden / backslid ย้อนกลับ
be was, were been เป็น, อยู่, คือ
bear bore born / borne ทน
ฯลฯ

ภาษาไทยเรานั้น เวลาใช้พูดหรือเรียบเรียงประโยค จะใช้คำกริยาแบบเดียวกัน อย่าง เมื่อวาน วันนี้ หรือพรุ่งนี้ ก็ใช้แบบเดียวกัน เช่น เมื่อวานแดงกินข้าวผัด วันนี้แดงกินก๋วยเตี๋ยว พรุ่งนี้แดงจะกินแฮมเบอร์เกอร์ แต่ภาษาอังกฤษคำกริยาจะเปลี่ยนไปตามกาล อย่างคำ กริยาที่บ่งบอกว่าเป็นเรื่องของปัจจุบัน เช่น วันนี้แดงกินก๋วยเตี๋ยว

วันนี้แดงกินก๋วยเตี๋ยว
Daeng eats noodles today.
แดง อีทสฺ นูเดิ้ล ทูเดย์
แดง กิน ก่วยเตี๋ยว วันนี้ คำว่า eat หรือกิน จะต้องใช้ eats เพราะเวลาเป็นวันนี้ เป็นปัจจุบันนี้ ต้องใช้ eats เติม s ด้วย เพราะประธาน คือแดง มีคนเดียว แต่หากประธานมีสองคน (แดงและสมศรี) Daeng and Somsri eat noodles today จะใช้ eat ไม่ต้องเติม s

เมื่อวานนี้แดงกินข้าวผัด
Daeng ate fried rice yesterday.
แดง เอท ฟราย ไรเซอะ เยสเตอเดย์
เขากินข้าวผัดเมื่อวานนี้ คำว่า ate แปลว่ากิน มาจาก eat แต่หากเป็นอดีตซึ่งผ่านไปแล้ว จะต้องใช้คำว่า ate เป็นกริยาช่อง 2 หรือ v2 ใช้ eat หรือ v1 จะผิดไวยากรณ์

พรุ่งนี้แดงจะกินแฮมเบอร์เกอร์
Daeng will eat hamburger tomorow.
แดง วิล อีท แฮมเบอร์เกอร์ ทูโมโรว์
เดงจะกินแฮมเบอร์เกอร์ในวันพรุ่งนี้ ซึ่งยังมาไม่ถึง เป็นเรื่องอนาคต จะต้องใช้คำว่า จะ/will มาวางก่อนหน้าคำกริยา กิน/eat และไม่ ต้องเติม s หากมีประธานสองคน (แดงและสมศรี) ก็จะใช้เหมือนกัน Daeng and Somsri will eat hamburger tomorow.

จะเห็นว่า คำกริยา กิน/ eat คำเดียว แต่ในกาลเวลาที่ไม่เหมือนกัน อดีดหรือเมื่อวาน วันนี้ปัจจุบันนี้ และพรุ่งนี้ จะใช้ต่างกัน ไม่เช่นนั้น ผิดไวยากรณ์ ซึ่งการใช้ตามกาลหรือเวลานั้น จะมีรูปแบบการใช้งานอีกหลายแบบ ซับซ้อนกว่านี้

 

กริยาช่วย be / is, am, are, was, were, be, being, been เป็น อยู่ คือ อะไร

คำกริยา be หรือ Verb to Be เป็นคำกริยาที่มักจะใช้อยู่บ่อยๆ ทำหน้าที่ทั้งเป็นกริยาแท้และกริยาช่วยเสริมการใช้งานกริยาอื่นๆ

ตัวอย่างการใช้แบบกริยาแท้ จะใช้พูดหรือสร้างประโยคโดยตรง ตามความหมาย be แปลว่า เป็นอยู่คือ
He is a teacher.
ฮี อีส อะ ทีเช่อะ
เขาเป็นครู ประธานหนึ่งคนหรืออย่างเดียวสิ่งเดียวจะต้องใช้ is เช่น Somchai is, A dog is... A pen is, The sun is ...

They หรือ Daeng and Somhai are teacher.
เดย์ หรือ แดง แอนด์ สมชาย อาร์ ทีเช่อะ
พวกเขา หรือ แดงและสมชาย เป็นครู ประธานมี 2 คนขึ้นไปต้องเปลี่ยนเป็น are

I am a teacher.
ไอ แอม อะ ทีเช่อะ
ฉันเป็นครู กรณีใช้ประธานว่า ฉัน ผม จะต้องใช้ แอม / am

ตัวอย่างการใช้คำกริยาช่วย Be แบบไม่ใช่กริยาแท้ ใช้ช่วยกริยาอื่น เช่น
He is eating breakfast.
ฮี อีส อีทติ้ง เบรคฟัสทฺ
เขากำลังทานอาหารเช้า คำกริยา อีส/is ไม่ได้ทำหน้าที่ตามความหมาย เป็น อยู่ คือ เหมือนกรณีแรก แต่ทำหน้าที่กริยาช่วยเท่านั้น

กรณีประธานหลายคนก็เปลี่ยนจาก is เป็น are Daeng and Somchai are eating... ส่วน ฉัน ผม จะใช้ I am eating ...

 

กริยาช่วย have/ has, have, had มีอะไร

กริยาช่วย Have หรือ Verb to Have เป็นคำกริยาที่มักจะใช้อยู่บ่อยๆ ทำหน้าที่ทั้งเป็นกริยาแท้และกริยาช่วยเสริมการใช้งานกริยาอื่นๆ

ตัวอย่างการใช้แบบกริยาแท้ จะใช้พูดหรือสร้างประโยคโดยตรง ตามความหมาย Have แปลว่า มี
He has a car.
ฮี แฮส อะ คาร์
เขามีรถยนต์ ประธานหนึ่งคนหรืออย่างเดียวสิ่งเดียวจะต้องใช้ is เช่น Somchai has, A dog has...

They หรือ Daeng and Somhai have a car.
เดย์ หรือ แดง แอนด์ สมชาย แฮพ อะ คาร์
พวกเขา หรือ แดงและสมชาย มีรถยนต์ (รถหนึ่งคันมีเจ้าของได้มากกว่า 2 คัน เช่น กู้ร่วม) ประธานมี 2 คนขึ้นไปต้องเปลี่ยนเป็น have

I have a car.
ไอ แฮพ อะ คาร์
ฉันมีรถยนต์หนึ่งคัน กรณีใช้ประธานว่า ฉัน ผม จะต้องใช้ I have เป็นข้อบังคับ จะไม่ใช้ I has

ตัวอย่างการใช้คำกริยาช่วย Have แบบไม่ใช่กริยาแท้ ใช้ช่วยกริยาอื่น เช่น
I has eaten breakfast.
ไอ แฮส อีสเท่น เบรกฟัสทฺ
ฉันได้กินอาหารเช้าเสร็จแล้ว ประโยคในลักษณะนี้ มี has + กริยาช่อง 3 จะใช้ Have เป็นกริยาช่วย สื่อความหมายว่าได้กระทำ...

 

กริยาช่วย do / do, does, did, done ทำอะไร กระทำเรื่องใด

เป็นคำกริยาที่มักจะใช้อยู่บ่อยๆ ทำหน้าที่ทั้งเป็นกริยาแท้และกริยาช่วยเสริมการใช้งานกริยาอื่นๆ

ตัวอย่างการใช้แบบกริยาแท้ จะใช้พูดหรือสร้างประโยคโดยตรง ตามความหมาย do แปลว่า ทำ หรือกระทำ หรือมีอาชีพ ทำให้...
She has nothing to do
ชี แฮส นาซิง ทู ดู
เธอไม่มีอะไรจะทำ

Tom does his homework.
ทอม ดาส ฮิส โฮมเวิร์ก
ทอม ทำการบ้านของตัวเอง กรณีประธานมีคนเดียวจะใช้ does กรณีมีหลายคนจะใช้ do

Tom and Sara do the homework.
ทอม แอนด์ ซารา ดู เดอะ โฮมเวิร์ค
ทอม และ ซาร่า ทำการบ้าน

ตัวอย่างการใช้คำกริยาช่วย Do แบบไม่ใช่กริยาแท้ ใช้ช่วยกริยาอื่น จะไม่แปลว่ากระทำ
Do you have a pen?
ดู ยู แฮพ อะ เพ๊น
คุณมีปากกาหรือไม่ การใช้ ดู do กรณีนี้จะไม่แปลว่ากระทำ แต่ใช้ในความหมายว่า หรือไม่

 

กริยาช่วย can, could สามารถทำอะไรได้ 

can, could แปลว่า สามารถ ทำหน้าที่เป็นกริยาช่วยเพียงอย่างเดียว โดยจะต้องมีกริยาช่องที่ 1 ตามหลัง โดยแปลว่ามีความสามารถ หรือสามารถกระทำ.... หรือ อนุญาต เช่น
I can drive a car.
ไอ แคน ไดรฟฺ อะ คาร์
ฉันสามารถขับรถได้ ใช้ แคน/can ตามด้วยคำกริยาที่ต้องการ drive ขับรถ, run วิ่ง, walk เดิน ฯลฯ

He can cook Thai food.
ฮี แคน คุ๊ก ไทย ฟู้ด
เขาสามารถทำอาหารไทยได้

They can stay here forever.
เดย์ แคน เสตย์ เฮีย ฟอร์เรฟเวอ
พวกเขาสามารถอยู่ที่นี่ได้ตลอดไป

ส่วน could ใช้ในความหมายเดียวกัน แต่เป็นเรื่องในอดีต เช่น เล่าเรื่องในอดีตที่ผ่านมาว่า สามารถทำอะไรได้ เช่น เมื่ออายุเท่านั้น เท่านี้ สามารถทำอะไรได้บ้างแล้ว
I don't have my own motorcycle but I could drive when I was seven years old.
ไอ ด๊อน แฮพ มาย โอน มอเตอร์ไซเคิล บัท ไอ คูด ไดรฟฺ เว๊น ไอ วอส เซเวน เยีย สะ โอล
ฉันไม่มีรถจักรยานยนต์ของตัวเอง แต่ฉันสามารถขับได้เมื่อฉันอายุเจ็ดขวบ

 

กริยาช่วย will, would จะทำอะไร 

willl และ would ใช้เป็นคำกริยาช่วยโดยมีความหมายว่า จะ ตามด้วยคำกริยาช่องที่ 1 เช่น will cook จะทำอาหาร, will do homework
จะทำการบ้าน เป็นต้น จะทำอะไร ก็ใช้คำว่า Will หรือ Would ตามด้วยคำกริยาที่ต้องการ

He will cook Thai food tomorrow.
ฮี วิล คุก ไทย ฟูด ทูโมโรว์
เขาจะทำอาหารไทยพรุ่งนี้ ใช้ will ตามด้วยคำกริยาที่ต้องการได้เลย ว่าจะทำอะไร

Would you cook Thai food for me?
วูด ยู คุ๊ก ไทย ฟูด ฟอร์ มี
ใช้ วูด /would เป็นคำพูดที่สุภาพ หากเปรียบเทียบกับภาษาไทยของเรา ก็จะมีความหมายเหมือนกับ ท่านจะกรุณาทำอาหารไทยให้ผม ทานหน่อยได้หรือไม่ ประมาณนั้น ใช้คำว่า Would you ตามด้วยกริยาช่องที่ 1 อยากให้ทำอะไร ก็ระบุลงไป

 

กริยาช่วย shall, should ควรจะทำอะไร ควรจะเป็นอย่างไร

Shall (ชอล) และ should (ชู่ด) เป็นคำกริยาช่วย แปลว่า ควรจะ ตามด้วยคำกริยาช่องที่ 1 เช่น shall eat breakfase ควรจะกิน..., shall drive ควรจะขับ อยากแนะนำว่า ใครควรทำอะไร ก็ระบุคำกริยาลงไป

They shall succeed
เดย์ ชอล ซักเซล
พวกเขาจะประสบความสำเร็จในอนาคต ใช้คำว่า ชอล ในความหมายที่ว่า ค่อนข้างมั่นใจ เชื่อมั่นว่าทำได้ ต่างจะ วิล ที่มีความหมายว่า จะทำ จะทำ แต่อาจจะไม่ทำ แค่เพียงแต่พูด ว่าจะทำ เท่านั้น

You should drive a car by yourself.
ยู ชอล ไดรฟฺ อะ คาร์ บาย ยัวเซล
คุณควรขับรถยนต์ด้วยตัวเอง เพื่อความปลอดภัย ใช้ ชู่ด /should ในความหมายเป็นการแนะนำว่า ควรจะทำ...เพราะสถานการณ์ใน ขณะนั้น อาจจะเป็นคนที่ขับรถได้ดีที่สุด

 

กริยาช่วย may, might อาจจะทำอะไร อาจจะเกิดอะไรขึ้น

may เมย์ /might ไมธ เป็นคำกริยาช่วยใช้ในความหมายว่า อาจจะ หรือการคาดคะเน ว่าสิ่งนั้น เรื่องนั้น อาจจะเกิดขึ้น

He may come here.
ฮี เมย์ คัม เฮียร
เขาอาจจะมาที่นี่ก็ได้ หรือไม่มาก็ได้ ใช้ เมย์ /may ตามด้วยคำกริยาที่ต้องการคาดการณ์ may cook Thai food tomorrow อาจจะทำ อาหารไทยพรุ่งนี้ การใช้ may จะใช้ในความหมายที่ค่อนข้างแน่ใจว่าจะเกิดขึ้น น่าจะทำ ฟังแล้วมีความหวังว่าอาจจะได้เจอเขา

He might come here
ฮี ไมธ คัม เฮีย
การใช้ ไมธ /might เป็นการคาดคะเน แบบไม่แน่ใจ พูดไปอย่างนั้นเอง พูดลอยๆ วันนี้อากาศร้อนอบอ้าวเหมือนฝนจะตก แต่จะตกจริง หรือไม่ ก็ไม่มีข้อมูล พูดลอยๆ He might come here / ฮี ไมธ คัม เฮีย / เขาอาจจะมา จะมาหรือไม่ ก็พูดลอยๆ

 

กริยาช่วย must ต้องทำอะไร 

muse มัสท ใช้เป็นคำกริยาช่วย ใช้ในความหมายว่า ต้อง การใช้ง่ายๆ ใช้ must ตามด้วยคำกริยาช่อง 1 ที่ต้องการ เช่น must eat /ต้องกิน, must do /ต้องทำ ฯลฯ

You must eat breakfast.
ยู มัสทฺ อีท เบรคฟัส
คุณต้องทานอาหารเช้า อาจจะชอบกินแต่กาแฟ ขนมปัง ไม่กินอาหารเช้า เป็นการใช้ มัสท /must ในความหมายว่า ต้องทำ

He must be sick from eating junk food.
ฮี มัส บี ซิก ฟรอม อีทติง จั๊งคฺ ฟู่ด
ประโยคนี้เป็นการคาดคะเนในสิ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้นจริงๆ ก็คือป่วยเพราะกินอาหารขยะ อาหารที่ไม่มีคุณค่า ไม่มีสารอาหารที่ร่างกาย ต้องการ อย่างไรเสียก็ต้องป่วยในอนาคตอย่างแน่นอน

 

กริยาช่วย need จำเป็นต้องทำอะไร ได้อะไร กระทำเรื่อใด

need (นีด) เป็นคำกริยาช่วย ใช้ในความหมายว่า จำเป็นต้อง ตามด้วยคำกริยาที่ต้องการ เช่น need help จำเป็นต้องได้รับความช่วย เหลืออย่างผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วม จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ เพราะไม่สามารถจะช่วยเหลือตัวเองได้ วิธีใช้ให้เติมคำกริยาที่ต้อง การหลังคำว่า need

She has a baby. She need to work hard.
ชี แฮส อะ เบบี้. ชี นีด ทู เวิร์ก ฮาร์ด
เธอมีลูกน้อย เธอจำเป็นต้องทำงานหนัก หากเทียบกับสำนวนไทยแล้ว การพูดประโยคที่มีความหมายว่าจำเป็น ก็ใช้ need ตามด้วยคำ กริยาไปเลย เช่น ฉันจำเป็นต้องมีเงินเดือน 30,000 ไม่เช่นนั้นไม่พอกับรายจ่าย ฉันจำเป็นต้องมีรถ เพราะบ้านอยู่ไกล ฉันจำเป็น ต้อง.....

 

กริยาช่วย dare กล้าที่จะทำอะไร

dare/แดร์ ใช้เป็นกริยช่วย มีความหมายว่า กล้าที่จะ หรือกล้ากระทำ ใช้ dare to ตามด้วยคำกริยาช่องที่ 1 เช่น dare to catch... กล้า ที่จับ, dare to eat... กล้ากิน เป็นต้น กล้าจะทำอะไร ก็เติมคำกริยาได้ตามใจชอบ

 

He dare to catch a snake.
ฮี แดร์ ทู แคช อะ เสน้ก
เขา กล้าที่จะจับงู หรือเขากล้าจับงู

 

กริยาช่วย ougth to ควรทำอะไร

ought to /ออธ ทู ใช้เป็นกริยาช่วย มีความหมายว่าควรจะ จะต้องมีคำว่า to ตามหลังเสมอ เวลาใช้ให้ใช้ ought to ตามด้วยคำกริยา ช่องที่ 1 เช่น ought to

You ought to relax for a week.
ยู ออธ ทู รีแหล็ก ฟอร์ อะ วีค
คุณ ควรจะ พักผ่าน สักสัปดาห์ ใช้ ออธ ทู /ought to ตามด้วยคำกริยาที่ต้องการ

 

กริยาช่วย used to เคยทำอะไร 

used to /ยูส ทู เป็นคำกริยาช่วย ใช้ในความหมายว่า เคยทำ เคยกระทำ เคยเป็น ซึ่งจะเป็นเรื่องในอดีตที่ผ่านมาแล้ว แต่ปัจจุบันไม่ ได้ทำแล้ว เช่น used to get up late เคยนอนตื่นสาย, used to drive... เคยขับรถ...แต่ปัจจุบันแก่แล้วขับไม่ได้แล้ว เป็นต้น

 

He used to drive a truck.
ฮี ยูส ทู ไดรฟ อะ ทรัค
เขาเคยขับรถบรรทุก หรือเคยมีอาชีพขับรถบรรทุก เป็นการเล่าถึงเรื่องในอดีต ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ทำแล้ว หยุดแล้ว ประโยคว่าเคยทำอะไร ในอดีต ปัจจุบันไม่ได้ทำแล้ว ก็ใช้ use to ตามด้วยคำกริยาที่ต้องการ

 

กริยาช่วย be used to คุ้ยเคยกับการทำอะไร

be used to /บี ยูส ทู ใช้เป็นคำกริยาช่วย มีความหมายว่า คุ้ยเคยกับ เคยชินกับ เล่าถึงเรื่องราวในอดีตที่ทำอยู่เป็นประจำ ความ หมายต่างจากคำว่า used to ที่หมายถึง เคยทำ เคยกระทำ เช่น หล่อนเคยชินกับการกินกาแฟตอนเช้า ต่างจากคำว่า เคยกิน ซึ่งอาจ จะกินกาแฟตอนเช้าเพียงครั้งเดียว วิธีใช้ให้ใช้ be used to ตามด้วยคำกริยาช่องที่ 1

He is used to run in the morning.
ฮี อีส ยูส ทู รัน อิน เดอะ มอร์นิ่ง
เขาเคยชินกับการวิ่งออกกำลังตอนเช้า แต่ตอนนี้ไม่ได้ทำแล้ว เพราะสถานที่ การงานอาจไม่เอื้ออำนวย แต่หมายถึงในอดีต เขาเคยทำ

 

กริยาช่วย get used to เริ่มจะคุ้นเคยกับการทำอะไร

get uped to /เก็ด ยูส ทู ใช้เป็นคำกริยา ใช้ในความหมายว่า เริ่มจะชินกับ เริ่มคุ้นเคยกับ เริ่มเคยชินกับ เช่น เราเริ่มชินกับการอยู่คน เดียว หลังจากที่เลิกกับภรรยา เขาเริ่มชินกับการขับรถเกียร์ออโต้ เขาเริ่มคุ้นเคยกับอาหารไทย เป็นความหมายว่าเริ่มจะไปกันได้ การใช้ ให้เติมคำกริยาหลัง get used to

He get used to eat Thai food.
ฮี เก็ด ยูส ทู อีต ไทย ฟูด
เขาเริ่มคุ้ยเคยกับการกินอาหารไทย อาจจะเป็นชาวต่างชาติ ไม่เคยกินอาหารไทยมาก่อน การใช้งานไม่ยาก เริ่มจะคุ้นเคย เริ่มจะเคย ชินกับอะไร ก็นำคำกริยานั้นๆ มาต่อท้าย get used to ได้เลย get used to be alone เริ่มคุ้นเคยกับการอยู่คนเดียว หลังจากโดนทิ้ง

บทความนี้ค่อนข้างยาวมาก แต่ก็่น่าจะเป็นข้อสรุปเกี่ยวกับคำกริยาภาษาอังกฤษที่จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจ มองเห็นภาพรวมทั้งหมด และรู้ว่าจะต้องใช้งานอย่างไร โดยเฉพาะการเรียบเรียงประโยคคำพูดง่ายๆ