Heatsink หรือตัวช่วยระบายความร้อน และ พัดลมซีพียูเป็นส่วนประกอบเดียวกัน ช่วยระบายความร้อนให้กับซีพียู ซึ่งร้อนมาก ปัญหาในคอมพิวเตอร์ ที่ใช้งานมานาน ก็อาจจะมีฝุ่นไปเกาะอยู่จำนวนมาก และส่งผลทำให้การระบายความร้อนให้กับซีพียูทำได้ไม่ดี ส่งผลเสียตามมา เช่น เครื่องรีเซ็ตบ่อย เพราะร้อนมากเกินไป หรือ พัดลมแตกหัก กรอบ เพราะความร้อน

 

สำหรับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในบ้าน ไม่ใช่ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องแอร์ โดยเฉพาะ ย่อมมีโอกาสเกิดฝุ่นละอองไปจับที่ตัวฮีทซิงค์ หรือ ตัวช่วยระบายความร้อนให้ซีพียู และตัวพัดลม อย่างตัวนี้ฝุ่นเกรอะเลย เพราะพื้นที่ที่อยู่อาศัย มีฝุ่นเยอะ ผลเสียที่ตามมา ก็คื อทำให้เครื่องทำงานหนัก สังเกตุจากพัดลมทำงานเสียงดังมาก เพราะซีพียูร้อนมาก จึงต้องหมุนเร็วมากขึ้น

 

สำหรับคอมพิวเตอร์แบรนด์ เช่น HP, Dell, Lenovo, Fujitsu เป็นต้น คอมพิวเตอร์เหล่านี้จะใช้พัดลมที่ไม่เหมือนคอมพิวเตอร์ประกอบตามร้านทั่วไป หากไม่ดูแลเรื่องความร้อน จนพัดลมมีสภาพแข็ง หมดสภาพ กรอบหักอย่างนี้ ก็จะเป็นเรื่องใหญ่ เพราะอะไหล่ หายาก การหาซีพียูมาแปรง ก็ใช่จะง่ายนัก เพราะตำแหน่งขาพัดลม และ สายไฟพัดลม อาจจะไม่เหมือนกัน ย่อมส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพัดลม และ ฮีทซิงค์ระบายความร้อน

 

 

ตัวอย่างคอมพิวเตอร์แบรนด์

สำหรับคอมพิวเตอร์แบรนด์ เช่น HP, Dell, Lenovo, Fujitsu เป็นต้น คอมพิวเตอร์เหล่านี้มีความทนทานในการใช้งานอย่างมาก เครื่องนี้ใช้งานมาประมาณ 10 ปี ที่พัดลมพัง กรอบ แตก ก็เพราะผู้เขียนไม่เคยถอดพัดลม และ ฮีทซิงค์มาทำความสะอาดเลย มองข้ามมาโดยตลอด จนกระทั่งเครื่องมีปัญหาความร้อนหนักมาก พัดลมเสียงดังมาก จึงเริ่มเอะใจ แต่... ช้าไปเสียแล้ว

 

ดังนั้นจึงต้องใส่ใจดูแลขจัดฝุ่นในเคสคอมพิวเตอร์ เปิดเคสออก แล้วใช้แปรงสีฟัน แปรงทาสี ขนอ่อน ปัดทำความสะอาดฝุ่น ห้องที่เปิดโล่ง บ้าน หอพัก ไม่ใช่ห้องแอร์สำหรับคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ หรือออฟฟิศที่มีฝุ่นน้อย จึงควรหมั่นทำความสะอาดบ่อยๆ

 

วิธีทำความสะอาดพัดลมและฮีทซิงค์

สิ่งที่คอมพิวเตอร์กลัวก็คือ ความร้อน ความชื้น และฝุ่น เพราะจะส่งผลทำให้อายุการใช้งานสั้นลง เมื่อที่อยู่อาศัยอยู่ในสภาพแบบนี้ จึงต้องหมั่นระวัง เช่น อย่าให้โดนความชื้น กรณีมีฝุ่นมาก ก็หมั่นทำความสะอาดเป็นต้น 

วิธีทำความสะอาดสำหรับมือใหม่ ไม่มีความรู้

เป็นมือใหม่ไม่มีความรู้อะไรกับคอมพิวเตอร์มากนัก ก็แค่หาทางเปิดฝาเคสออกให้ได้ เพื่อให้เป็นเครื่องในทั้งหมด แต่ก่อนอื่นจะต้องถอดปลั๊กไฟออกจากคอมพิวเตอร์เสียก่อน ระวังอุปกรณ์อื่นที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง ก็ต้องถอดออกจากกันให้หมด ป้องกันไฟดูด จากนั้น ก็ใช้กล้องมือถือ ถ่ายทุกซอกทุกมุมเอาไว้ สายอะไรต่อตรงไหน ถ่ายให้ละเอียด เผื่อทำสายหลุดขณะทำความสะอาด จะได้เสียบกลับในตำแหน่งเดิม

 

คราวนี้ก็ใช้แปรงสีฟัน แปลงทีสีขนอ่อน แปรงทำสี แปรงเบาๆ หรือปัดทำความสะอาด ทุกจุดที่มีฝุ่น โดยเฉพาะที่ตัวซีพียู ซึ่งบางรุ่น อาจจะทำความสะอาดาได้ไม่ยาก สามารถใช้แปรง ชอนไชทำความสะอาดได้ ระวังอย่าทำสายต่างๆ หลุดจากตำแหน่ง ระหว่างแปรงก็ใช้พัดลมเป่าไล่ฝุ่นไปทางอื่น ไปนอกห้อง นอกบ้าน 

 

ฮีทซิงค์และพัดลมซีพียูบางแบบ จะมีแผ่นกันพัดลม จำเป็นต้องถอดออก เพื่อความง่ายในการทำความสะอาด ซึ่งมือใหม่ ก็น่าจะทำได้ไม่ยาก ไม่จำเป็นต้องถอดมาทั้งหมด

 

ถอดฮีทซิงค์และพัดลมออกมาทำความสะอาด

การทำความสะอาดด้วยวิธีแรก เหมาะสำหรับมือใหม่ ไม่มีความรู้ ไม่กล้าถอดอุปกรณ์ ถอดสายต่างๆ การทำความสะอาดก็จะช้าหน่อย แต่หากถอดฮีทซิงค์และพัดลมออกมาทำความสะอาดแบบนี้ ก็จะง่ายกว่า และทำความสะอาด ขจัดฝุ่นได้ดีกว่า แต่ทั้งนี้อาจจะถอดแค่พัดลมก็ได้ ซึ่งจะมีสกรูติดพัดลมกับฮีทซิงค์เอาไว้ ถอดสกรูออก ก็จะนำพัดลมออกมาได้

 

ฮีทซิงค์และพัดลมระบายความร้อนซีพียูบางแบบจะมี 3 ชั้น ชั้นแรกเป็นตะแกรงป้องกันพัดลม ตัวพัดลม และ ฮีทซิงค์ ซึ่งจะมีสกรูชั้นละ 4 จุด สำหรับมือใหม่ ก็ถอดแค่ตะแกรง และ พัดลม มาทำความสะอาดก็เพียงพอแล้ว หากกลัวเครื่องมีปัญหา

 

 

ติดซิลิโคนช่วยระบายความร้อน

นอกจากการทำความสะอาด ขจัดฝุ่นไปจากฮีทซิงค์และพัดลมแล้ว หากสามารถถอดชิ้นส่วนทั้งหมดได้จะเป็นการดี เพื่อจะได้เปลี่ยนซิลิโคนช่วยระบายความร้อน โดยจะช่วยถ่ายเทความร้อนจากซีพียูไปที่ฮีทซิงค์ได้ดีมากยิ่งขึ้น

 

สรุป

วิธีง่ายๆ ตามนี้ก็จะช่วยยืดอายุการใช้งานคอมพิวเตอร์ของผู้อ่านได้อีกนานอย่างแน่นอน สำหรับใครที่ยังไม่เคยทำความสะอาดภายในเคสเลยสักครั้ง ก็ชักปลั๊กไฟออกก่อน ถอดฝาเคส ตรวจสอบฝุ่นในตัวเคส ถ้าพอมีบ้าง ก็ลงมือทำความสะอาดได้เลย ง่ายๆ ก็ใช้แปรง หรือใช้เครื่องเป่าลมทำความสะอาดก็ได้ แต่ระวังเรื่องความร้อน และทำให้สายหลุด

 

 

Sponsored Ads