Sponsored Ads

การสร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปด้วย Joomla 3 มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ต้องรู้ โดยเฉพาะปัญหาเพื่อจะได้หาทางป้องกันไว้ก่อน หรือรู้วิธีแก้ไข โดยเฉพาะมือใหม่ เพราะกรณีเกิดปัญหา การหาข้อมูลเพื่อแก้ไข ในบางเรื่องนั้น ค่อนข้างยากมาก ไม่ง่ายเหมือนการใช้ WordPress

 

ตัวอย่างปัญหาต่างๆ ที่มักจะเกิดขึ้นกับ Joomla 3

การอัพเดท Joomla เป็นรุ่นสูงกว่า มักจะมีปัญหาตามมาเสมอ

ทุกครั้งที่อัพเดทเช่น จาก Joomla 3.4 เป็น 3.5 หรือ อัพเกรดสูงขึ้นเรื่อยๆ มักจะมีปัญหาตามมาเสมอ ทำให้เสียเวลาศึกษา หาวิธีการ แก้ไข จึงต้องทำเว็บไซต์แม่แบบไว้ลองอัพเดท ก่อนจะอัพเดทจริง ไม่เหมือน WordPress สามารถอัพเดทได้ง่าย ขณะนี้ Joomla 3.7 ก็ได้ พัฒนาถึงรุ่น Beta 3 แล้ว คาดว่าอีกไม่นาน ก็จะปล่อยเวอร์ชันจริง ซึ่งจะทำงานได้ดีกับเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ PHP 5.7 ตอนนี้หลายแห่งยังใช้แค่ 5.3 อยู่เลย

 

ใช้เทมเพลทมาตรฐานเวลาอัพเดทต้องสำรองไว้ก่อน

เทมเพลทมตรฐานของ Joomla 3 จะเป็น ProtoStar ซึ่งมีตำแหน่งจัดวางโมดูลเพื่อแสดงเนื้อหาที่ดีมาก แต่เวลาอัพเดท Joomla 3 เป็นรุ่นที่สูงกว่า ต้องระวังให้ดี อย่าลืมสำรองไฟล์ในเว็บไซต์เอาไว้ก่อน

 

เทมเพลทดีๆ และฟรี มีมาก แต่หากยาก

เทมเพลทสวยๆ สำหรับ Joomla ควรจะต้องซื้อ จึงจะได้เทมเพลทดี มีคุณสมบัติที่ดี เช่น เทมเพลทของ raxo.org ซึ่งมีคุณสมบัติดีมาก รองรับการปรับแต่งหลายแบบ ทำให้นำไปใช้ทำเว็บไซต์ได้หลากหลาย โดยเฉพาะการทำภาพธัมเนลสำหรับบทความ ซึ่งบทความแนว บล็อกนิยมใช้กันมาก

 

เวลาเกิดปัญหา ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ

หากไม่เก่งภาษาอังกฤษ การค้นหาข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาจะไม่ง่ายอย่างที่คิด เว็บบอร์ดหรือบทความสอนแก้ปัญหา หาได้น้อยกว่า WordPress กรณีมีปัญหาในการใช้งาน จึงหาผู้ช่วยค่อยข้างยากกว่า

 

Joomla 3 เป็นระบบที่มีขนาดใหญ่ ซับซ้อน

Joomla 3 เป็นโปรแกรมทำเว็บไซต์ที่มีขนาดใหญ่ มีโมดูล มีคำสั่งต่างๆ ค่อนข้างมาก จึงต้องใช้เวลาศึกษาและทำความเข้าใจ แต่หาก เข้าใจดีแล้ว ก็จะใช้งานได้ง่าย สามารถประยุกต์ใช้งานสร้างเว็บไซต์ได้หลากหลายประเภท แต่ใช้งานเฉพาะส่วนเสริมที่มากับตัวโปรแกรม อาศัยการปรับแต่งไฟล์เองแล้วจะแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น แต่หากติดตั้งโปรแกรมเสริมมากๆ การแก้ปัญหาก็จะเพิ่มความยากมากขึ้น

 

การอัพเดทต่อเนื่องยาวๆ ไม่ใช่เรื่องดี

เมื่อมีการอัพเดทต่อเนื่องยาวๆ อย่างเช่น ผู้เขียนอัพเกรดมาตั้งแต่รุ่น Joomla 1.5 จนตอนนี้ถึง 3.6 และกำลังจะมีรุ่น 3.7 แล้ว พบว่า มีปัญหาสะสมภายใน ซึ่งหากไม่มีความรู้ในการแก้ไขไฟล์ PHP แล้วก็ยากจะแก้ไข เช่น การโพสต์แบบตั้งเวลา ไม่สามารถทำได้

 

ปลั๊กอินหรือโปรแกรมเสริมฟรีและดีหายาก

หากไม่อยากเสียเวลา การใช้ Joomla 3 แบบพื้นฐานที่สุด จะดีที่สุด ลดปัญหาที่จะตามมา พยายามไม่ติดตั้งโปรแกรมเสริม เช่น การ ติดตั้งปลั๊กอินช่วยทำภาพธัมเนล แต่ทำเองแบบทำมือ หรือกรณีที่ติดตั้งโปรแกรมเสริมก็แนะนำให้ซื้อ จะได้โปรแกรมเสริมที่มีคุณภาพ ปัญหาน้อยกว่าของฟรี นอกจากนี้เวลาอัพเดทปลั๊กอินก็ยากเช่นกัน

 

ต้องวางแผนการทำเว็บไซต์อย่างดี

ในครั้งแรกก่อนจะเริ่มทำเว็บไซต์นั้น ต้องวางแผนให้ดี โดยเฉพาะในเรื่องบทความ โครงสร้างบทความ ชื่อบทความ ภาพธัมเนล หมวด หมู่บทความ ย่อหน้าแรก เนื้อหาทั้งหมด ต้องมีโครงสร้างเนื้อหาที่เป็นระเบียบ เพื่อป้องกันปัญหาในภายหลัง

 

รวมข้อดีของ Joomla 3 ที่ทำให้หลายคนเลือกใช้

มีข้อเสียก็ต้องมีข้อดีและต้องมากกว่า ไม่เช่นนั้น คงจะไม่มีใครใช้อย่างแน่นอน เราไปดูกันว่า ข้อดีนั้นมีอะไรบ้าง
1. Joomla 3 เป็นโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ ระบบการทำงานซับซ้อน หากเข้าใจอย่างดีแล้ว ก็จะสามารถเลือกมาใช้งานเฉพาะแต่สิ่งที่ต้องใช้ ก็จะไม่รู้สึกว่าซับซ้อนแต่อย่างได


2. แม้ Joomla 3 จะเป็นโปรแกรมใหญ่ แต่ในจำนวนผู้เข้าชมเท่าๆ กัน WordPress ซึ่งเล็กกว่า กลับใช้ทรัพยากรใช้งานเซิร์ฟเวอร์มากกว่า เพราะ Joomla รองรับระบบขนาดใหญ่ได้ดี ซึ่งเว็บไซต์เมื่อใช้งานไปเรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ ใหญ่ขึ้น ต้องการกำลังเซิร์ฟเวอร์มากขึ้น และมี โอกาสสร้างปัญหาให้คนดูแลมากขึ้น


3. การใช้งาน Joomla 3 หากใช้เฉพาะความสามารถพื้นฐานที่มีมา ติดตั้งโปรแกรมเสริมให้น้อยที่สุด ก็จะสร้างปัญหาน้อยที่สุดเช่นกัน จะ มีบ้าง ก็เฉพาะเวลาอัพเดทเป็นรุ่นใหม่เท่านั้นที่ต้องระวัง ซึ่งจะมีไฟล์บางตัวที่ต้องสำรองไว้ เช่น template.css หากใช้เทมเพลทมาตรฐาน protostar


4. การย้ายเว็บไซต์ไปที่ใหม่ ทำได้ง่ายกว่า WordPress ใช้การก็อปปี้ธรรมดา แต่ต้องสร้างฐานข้อมูลและตั้งค่าให้ตรงกัน ไม่ค่อยยุ่งยาก


5. เทมเพลทมาตรฐานที่มากับ Joomla มีคุณสมบัติที่มีมาก โดยเฉพาะการทำเว็บไซต์เพื่อหาเงินออนไลน์ เพราะเว็บเดียวสามารถสร้างเมนู ควบคุมการแสดงเนื้อหาแยกกันได้ อย่างชัดเช่น เช่น ในเว็บไซต์มีหมวดหมู่รถยนต์และสุขภาพ เราสามารถตั้งค่าให้แสดงเนื้อของ 2 หมวดนี้ หรือหลายหมวดที่มี ให้แยกกันได้ บทความหรือเนื้อหาใดๆ เกี่ยวกับสุขภาพจะไม่แสดงในหมวดรถยนต์ การติดป้ายโฆษณาหรือแบนเนอร์ จึงสามารถเลือกได้อย่างเฉพาะเจาะจง


6. การจัดการกับบทความที่ได้ทำไปแล้ว เว็บไซต์ที่มีบทความซึ่งต้องมีการแก้ไขหรืออัพเดท ปรับปรุงในภายหลัง การจัดการกับบทความจะ ง่ายกว่าใช้ WordPress


7. การทำบทความสามารถใช้ระบบอัตโนมัติ อย่างการแทรกภาพอัตโนมัติลงในบทความได้ ปรับแต่งข้อความ ได้ เพียงแต่ต้องทำบทความ ในรูปของคำสั่ง HTML เมื่อนำไปวางใน Joomla ก็จะดึงภาพเข้ามาประกอบในบทความ ปรับแต่งข้อความตัวหนาตัวเอง ทำลิงก์ ฯลฯ ให้ อัตโนมัติ มีภาพประกอบจำนวนมาก จะไม่เสียเวลาในการใส่ภาพ

 

แนวทางใช้งาน Joomla 3 ที่ลดปัญหามากที่สุด

สำหรับผู้ที่ต้องการใช้งาน Joomla 3 โดยเฉพาะการทำเว็บไซต์แนวบล็อกนั้น หรือจะเว็บไซต์แบบใดก็ตาม ผู้เขียนมีคำแนะนำดังนี้


1. การติดตั้ง Joomla 3 ในเว็บไซต์จริง ให้ติดตั้งลงบนพื้นที่หลักของเว็บไซต์ ก็คือ public_html การเลือกผู้ให้บริการเช่าพื้นที่ทำเว็บไซต์ไม่ ค่อยเป็นปัญหามากนัก แม้ Joomla 3 จะเป็นเว็บที่มีขนาดใหญ่ แต่หากใช้งานแบบพื้นฐานที่สุด ก็ใช้พลังงานเซิร์ฟเวอร์ไม่มากเหมือน WordPress


1. ถ้าไม่มีเวลาศึกษามากนัก ให้เน้นใช้งานโดยอยู่บนพื้นฐานที่เรียบง่ายที่สุด ติดตั้งปลั๊กอินเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น เช่น Flexi Custom Code, AllVideo , Facebook เพื่อวางเฟสบุ๊คเพค


2. การใช้งานเทมเพลทมาตรฐานอย่าง protostar แต่หากต้องการรูปแบบเฉพาะ ให้ศึกษาการปรับแต่ง หรือจ้างมืออาชีพทำการปรับแต่ง แก้ไขให้เหมาะสม ซึ่งเทมเพทลนี้มีจุดข้อดีมากพอสมควร แต่หากซื้อเทมเพลทมาใช้งานและได้เทมเพลทที่ตรงกับความต้องการ ก็จะตัด ปัญหาปวดหัวเรื่องเทมเพลท


3. การทำบทความเป็นหัวใจสำคัญ โดยบทความต้องมีโครงสร้างมาตรฐานดังนี้
3.1 หมวดหมู่ของบทความ
3.1 ชื่อบทความ
3.2 ภาพธัมเนลของบทความ
3.3 ย่อหน้าแรกบทความประมาณ 2-3 บรรทัด
3.4 เนื้อหาทั้งหมด โดยมีการแบ่งหัวข้อย่อหน้าที่ชัดเจน เป็นระเบียบ
3.5 ภาพประกอบใช้ภาพความกว้างไม่เกิน 700 pixels หากเน้นทำเว็บไซต์แนวบล็อก ใช้ภาพความกว้าง 615 ก็เพียงพอแล้ว ดูตัวอย่างได้ จากเว็บไซต์ joomla3adsense.siteth.com และเลือกคุณภาพความคมชัดให้เหมาะสม ภาพที่คมชัดขนาดจะใหญ่ขึ้น ทำให้เว็บไซต์ทำงาน ช้าเช่นกัน

4. รูปแบบของเว็บไซต์ เน้นใช้แบบสมัยนิยม ก็คือแบบบล็อก ซึ่งเว็บไซต์หรือเว็บบล็อกทุกวันนี้ จะใช้หน้าตาแนวคล้ายกัน ดูตัวอย่างเว็บไซต์ joomla3adsense.siteth.com เช่นกัน จะเห็นว่า คอลัมน์ฝั่งขวาที่เป็นเมนูจะกว้างกว่า การตั้งค่ามาตรฐานของเทมเพลท protostar


5. การอัพเดท Joomla 3 ให้ทันสมัยตลอดเวลา เป็นเรื่องสำคัญ จึงต้องเตรียมการให้พร้อม โดย
- ติดตั้ง Joomla เป็นเว็บไซต์สำรอง ไว้ทดสอบการอัพเดทหรือทดสอบการปรับแต่ง
- ติดตั้ง FileZilla เพื่อไว้อัพโหลดไฟล์ที่ต้องการอัพเดท เพื่อความสะดวก ทุกครั้งก่อนอัพเดท หากใช้เทมเพลทมาตรฐาน ProtoStar จะ ต้องสำรองไฟล์ template.css ก่อนเสมอ

 

การทำเว็บไซต์ให้อยู่บนโครงสร้างพื้นฐานแบบนี้ หากเกิดปัญหาจะแก้ไขได้ง่ายกว่า เช่น ปลั๊กอินตัวใดมีปัญหา ก็ปิดได้ทันที โดยไม่ กระทบกับโครงสร้างหลัก การอัพเดทก็ง่าย ดูแลง่าย สร้างปัญหาตามมาน้อยมาก ผู้เขียนวางแผนไม่ค่อยดีนัก จึงมีปัญหาตลอดปีตลอดชาติ โดยเฉพาะเวลาอัพเ

 แชร์บทความนี้ :