Sponsored Ads

ที่สูบลมจักรยานที่มีแรงดันสูงประมาณ 160 PSI ขึ้นไป แบบมีเกจวัดแรงดัน ใช้งานง่าย เติมลมรถจักรยาน รถมอเตอร์ไซต์ ง่ายๆ เบาแรง ส่วนรถยนต์ ก็เบาแรงเช่น กัน ยกเว้นแต่ ลมยางแฟ่บ จนไม่เหลือเลย กรณีนี้เหนื่อยและมีเหงื่อแน่นอน ตัวที่นำมาทำสอบ เป็นรุ่นราคาประมาณ 500 บาท คุณภาพดี มีข้อดีหลายอย่าง ที่น่าสนใจ เหมาะเอาไว้ติดบ้าน ติดรถ ข้อดีของที่สูบลมแบบนี้ก็คือ ทนทาน ใช้งานได้นาน ส่วนข้อเสียอย่างเดียวเลยก็คือ เหนื่อย! เวลาใช้งาน

 

แต่ละบ้าน ย่อมต้องมีพาหนะสำหรับเดินทาง อย่างน้อยก็มอเตอร์ไซต์ หรืออาจจะมีทั้ง จักรยาน มอเตอร์ไซค์ และรถยนต์ ดังนั้นที่เติมลมจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ จำ เป็นจะต้องมี เพราะลมยางจะหายไปทุกวัน หากเป็นการจอดรถตากแดดด้วยแล้ว ลมยางจะหมดเร็วกว่าปกติ ดังนั้นอย่างน้อยที่สูบลมยางจะต้องมี และ ที่สูบลมจักรยาน ก็ เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้งานง่าย ไม่ต้องการการดูแลอะไรมาก เพียงแต่จะต้องเลือกให้เหมาะหรือรองรับกับรถหลายชนิดที่เรามี

 

      ที่สูบลมยางแรงดันสูง    

 

 

ที่สูบลมจักรยานแรงดันสูง

ที่สูบลมจักรยานแบบนี้ มีหลายยี่ห้อ หลายรุ่น ในราคาประมาณ 500 บาท คุณสมบัติก็ไม่น่าจะต่างกันมาก ตัวนี้เป็นของ GIYO GF-43P กระบอกสูบใหญ่ มี คุณสมบัติเด่นๆ ที่ควรพิจารณาเมื่อต้องการเลือกซื้อมาไว้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อใด เช่น
1. น้ำหนักเบา
2. ที่จับกระชับ เบาแรง
3. ตัวล็อกหัวเติมลม แน่นหนา ลมไม่รั่ว ตัวนี้ดีมาก เสียบหัวเติมลมกับล้อรถ ไม่มีลมรั่ว
4. เกจวัดจะทำงานทันที แรงดันลมเหลืออยู่เท่าไร ดูที่เข็มได้เลย ไม่ต้องซื้อตัววัดแยกต่างหาก ใช้งานก็ไม่สะดวก


4. การใช้งานกับรถจักรยาน เบาๆ สูบลมเข้าไปไม่กี่ครั้ง เท่านั้นเอง


5. ส่วนการใช้กับรถจักรยานยนต์ จะสูบลมประมาณ 1-2 ครั้ง ก็ได้แรงดันลมประมาณ 1-1.5 psi ถ้าลมยางปกติต้องเติมไว้ที่ 28 psi แต่ลมยางลดลงเหลือ 20 psi ก็จะต้อง สูบลมประมาณ 7-10 ครั้ง เท่านั้นเอง เหงื่อไม่ทันออก


6. การใช้ที่สูบลมยางจักรยานรุ่นนี้กับรถยนต์ หากลมยางไม่เหลือเลย เป็น 0 กรณีนี้ อาจมีเหงื่อเล็กน้อย คนตัวเล็ก เด็ก คนไม่ค่อยมีแรงก็ทำได้ แต่ต้องหยุดพัก อย่างการ เติมลมให้ได้ที่ 30-34 psi จะต้องออกแรงสูบลมประมาณ 100 - 120 ครั้ง


7. กรณีลมยางรถยนต์ลดลงไม่มาก ไม่เกิน 10 psi เช่น แรงดันลมยางรถยนต์เหลือ 20 psi ต้องการเติมลมไปที่ 30 psi จะต้อง สูบลมประมาณ 7-10 ครั้ง อย่างมาก ก็ไม่เกิน 15 ครั้ง เหงื่อยังไม่ทันออกเช่นกัน จะไม่เหนื่อยเหมือนการเติมลมยางที่ลมหมดเกลี้ยง รถยนต์ปกติ ก็น้อยคันจะเป็นแบบนี้ ส่วนมากแรงดันลมยางจะลดลงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้น ก็ใช้ที่สูบลมจักรยานแบบนี้สูบลมล้อทั้ง 4 ของรถยนต์ ก็สูบลมไม่กี่ครั้งเท่านั้นเอง


8. ที่สูบลมตัวนี้ มีคุณสมบัติที่ดีในการป้องกันลมรั่ว อย่างกรณีเสียบหัวเติมลม คาไว้อย่างนี้ เหนื่อยต้องการพัก ก็ทิ้งไว้แบบนี้ ลมไม่มีรั่ว


9. การใช้ที่สูบลมจักรยานแบบนี้กับล้อที่มีขนาดใหญ่กว่ารถมอเตอร์ไซต์ ล้อรถยนต์ ล้อรถกระบะ การสูบลมให้ดึงให้สุด แล้วกดลง จะเติมลมได้เร็ว

ที่สูบลมยางราคาถูก

ผู้เขียนไม่ชอบใช้ของแพง เพราะเผื่อทิ้ง ไม่ชอบสะสม และก็ไม่ได้ใช้บ่อย รถยนต์ ก็ไม่มี มีแค่จักรยานกับมอเตอร์ไซต์ จึงใช้แต่ที่สูบลมราคาถูกประมาณ 100 กว่า บาท จะเป็นแบบมีที่พักลม แรงดันไม่มาก ประมาณ 120 psi ซึ่งก็มีข้อเสียที่จะต้องมาพิจารณาใหม่ อาจต้องยอมซื้อของแพงขึ้น ด้วยจากสาเหตุ
1. หัวเติมลม เปลี่ยนบ่อย ประมาณปีละครั้ง การล็อกก็ไม่แน่น ลมรั่วขณะเติมลม ทำให้เสียกำลัง เหนื่อยมากกว่า
2. น้ำหนักมาก
3. ประสิทธิภาพการเติมลมลดลงทุกปี ตามอายุของที่สูบลม จากความสึกหรอ และ อายุที่มากขึ้นของผู้ใช้ สูงวัยมากขึ้น
4. ไม่มีเกจวัดแรงดันลม ทำให้ต้องเสียเวลาวัด ซึ่งจะต้องเติมลมให้มากกว่าปกติไว้ก่อน แล้วจึงค่อยปล่อยลมให้เหลือตามมาตรฐาน
5. ที่สูบลมจักรยานราคาถูก เหมาะสำหรับใช้กับรถจักรยาน และ มอเตอร์ไซค์ ใช้กับรถยนต์เหนื่อยมาก จะต้องสูบลมประมาณ 10 ครั้ง กว่าจะได้ประมาณ 1-2 psi

 

วิธีใช้งานที่สูบลมจักรยาน

ไม่ว่าจะได้ที่สูบลมที่ดีแค่ไหนมาไว้ใช้งาน แต่หากใช้ไม่เป็น ก็จะทำให้เหนื่อยในการใช้งานมากเกินไป
1. อย่าใช้ท่านี้ ขณะสูบลม ท่าสูบลมแบบนี้ ทำให้เหนื่อยมาก


2. ใช้ท่าถอนสายบัว แขนตรง ใช้การย่อตัวขึ้นลง ใช้น้ำหนักตัวกดลงไป ปล่อยตัวกดลงไป ไม่ใช้แรงจากมือ วิธีนี้ ต่อให้เป็นเด็ก ก็ทำได้ ไม่เหนื่อย ไม่เมื่อย

 

สรุป

หากที่บ้านมีพาหนะหลายแบบ ที่สูบลมยางดีๆ คุณภาพดี แรงดันลมสูง ทนทาน แข็งแรง ที่ล็อกหัวเติมลมแน่นหนา ลมไม่รั่ว เป็นสิ่งจำเป็น ซื้อครั้งเดียวใช้กันยาวๆ เบาแรง ไม่ต้องซื้อที่เติมลมแบบไฟฟ้า ซึ่งต้องการการดูแลมากกว่า มีโอกาสเสียเร็วกว่า เมื่อเทียบกับที่สูบลมจักรยาน ในราคาเท่าๆ กัน ที่เติมลมแบบไฟฟ้า พังก่อนแน่ นอน

กรณีใช้รถจักรยานหรือจักรยานยนต์ ใช้ที่สูบลมพกพาแบบเท้าเหยียบ ก็ถือว่าสะดวก  เอาไว้พกพาติดรถมอเตอร์ไซค์ หรือใช้กับรถยนต์ก็ได้ แต่จะหนักสักหน่อย 

 

     ที่สูบลมจักรยานพกพาแบบเท้าเหยียบ