วิธีติดตั้งซีพียู
1. ค้นหาตำแหน่งของซ็อกเก็ต 478 และหาตำแหน่งของขาที่1 บนตัวซ็อกเก็ตจากตัวอย่างจะอยู่ ที่ส่วนแกนล็อกซีพียูดันก้านล็อก ให้อยู่ที่ตำแหน่ง 90-100 องศา แล้ววางซีพียูลงไป ตำแหน่ง Gold Mark ให้ตรงกับขาที่1 ที่ตัวซ็อกเก็ต
2. การวางซีพียูต้องทำด้วยความระมัดระวัง เพราะขาของซีพียูค่อนข้างเล็ก อาจหักงอได้ และขา ของซีพียูถ้าวางถูกตำแหน่งก็จะสามารถวางลงไปบนตัวซ็อกเก็ตได้ พอดิบพอดี ถ้าวางแล้วยังไม่เข้าที่ แสดงว่าอาจผิดด้าน อย่าพยายามดันเข้าไป
3. ดันก้านล็อกซีพียูให้ไปอยู่ในตำแหน่งเดิม

 

วิธีเซ็ตดิพสวิทซ์หรือจัมเปอร์
เมนบอร์ดรุ่นนี้สามารถกำหนดความถี่และตัวคูณของซีพียูผ่านทางซอฟท์เมนูในโปรแกรมไบออสได้ ซึ่งค่ามาตรฐานที่กำหนดให้กับดิพสวิทซ์บนตัวเมนบอร์ดจะอยู่ ในลักษณะจัมเปอร์ฟรีโหมด เพียงแต่ ติดตั้งซีพียูลงไปที่ตัวเมนบอร์ดเท่านั้น ไม่ต้องเซ็ตดิพสวิทซ์

 

การเซ็ตความถี่และตัวคูณผ่านดิพสวิทซ์
ในส่วนของดิพสวิทซ์จะมีสวิทซ์อยู่ 10 ตัว ค่าปกติจะถูกเซ็ตให้อยู่ในตำแหน่ง OFF ทั้ง 10 ตัว ตัวที่ 1-4 ไว้เซ็ตตัวคูณของซีพียู ซึ่งสามารถเซ็ตค่าได้ตั้งแต่ 8.0x - 24.0x และตัวที่ 5-9 ไว้เซ็ต ความถี่ เช่น 100, 105, 111, 111 MHz เป็นต้น
1. เปลี่ยนโหมดของจัมเปอร์ (Jumper Mode) ซึ่งจะมี 2 โหมด คือใช้และไม่ใช้การเซ็ตจัมเปอร์ ที่ตัวเมนบอร์ดจะมี 3 พิน ในที่นี้ให้เสียบจัมเปอร์คร่อมขาที่ 1 และ 2 เพื่อเลือกยกเลิกโหมดจัมเปอร์ฟรี (Jumper Free) ที่เป็นค่ามาตรฐาน (default) เราจะกำหนดเอง
2. เซ็ตตัวคูณของซีพียู สำหรับเพนเทียมโฟร์ 1.5 Gb ซ็อกเก็ต 478 ตัวคูณจะเท่ากับ 15x ให้เลื่อนตำแหน่งสวิทซ์ที่ 1-4 ให้อยู่ใน ตำแหน่ง ON OFF OFF ON ตาม ลำดับ ตัวที่ 1-4

 

3. เซ็ตความถี่ของซีพียู (CPU frequency selection) ต้องดูตารางข้อมูลของซีพียูแต่ละรุ่น ว่ามีความถี่ภายนอก (FSB) และตัวคูณเท่ากับเท่าไร ซีพียูที่ผู้เขียนเลือก เป็นเพนเทียมโฟร์ 1.5 ให้กำหนด ความถี่ (FSB) เท่ากับ 100 MHz
การเซ็ตความถี่ FSB และตัวคูณ ถ้าเซ็ตผิดเมื่อเปิดเครื่องจะไม่ปรากฏข้อความใดๆ ที่หน้าจอ ถ้ากำหนดมากไปก็จะเป็นการโอเวอร์คล็อก (เหมือนกับการแต่ง เครื่องยนต์ให้แรงขึ้น แต่พังเร็วกว่าอายุ ใช้งานจริง)

2. ติดตั้งฮีทซิ้งค์และพัดลมซีพียู
ซีพียูเพนเทียมโฟร์ (Pentium 4)ซ็อกเก็ต 478 จะต้องใช้ฮีทซิ้งค์และพัดลมระบายความร้อน ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ เพื่อให้สามารถระบายความร้อนให้กับซีพียู ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Tips
โดยปกติเมื่อซื้อซีพียูมาใช้งาน ก็จะได้มาทั้งชุด (แบบ Boxed) ตัวซีพียู ฮีทซิ้งค์และพัดลม แต่ถ้าซื้อแยกเฉพาะซีพียู ก็จะต้องซื้อฮีทซิ้งค์และพัดลมที่ได้รับการรับรอง จากบริษัทอินเทล ว่าสามารถ ใช้งานกับซีพียูนั้นๆ ได้


ขั้นตอนการติดตั้งฮีทซิ้งค์และพัดลมซีพียู
สำหรับฮีทซิ้งค์ (CPU Heatsink) และพัดลมซีพียูที่ผู้เขียนได้เลือกใช้จะเป็นชุดติดกันมีขา 4 ด้าน ซึ่งจะสามารถวางลงไปบนฐานบนตัว เมนบอร์ดได้พอดี
1. วางฮีทซิ้งค์และพัดลมซีพียูลงบนฐานที่ตัวเมนบอร์ดและดันก้านล็อกสีขาว (Retention Lock) ไปทางตำแหน่งล็อก เพื่อล็อกเข้ากับฐานบนเมนบอร์ดให้แน่นหนา (อาจลองโยก ถ้าไม่แน่นแสดงว่าอาจ ล็อกผิดวิธี)

 

3. ต่อสายไฟพัดลมซีพียู
เมื่อติดตั้งฮีทซิ้งค์และพัดลมลงบนฐานในตำแหน่งซ็อกเก็ต 478 บนเมนบอร์ดอย่างแน่นหนา ดีแล้ว ก็ต่อสายไฟเข้าพัดลมซึ่งจะมีตำแหน่งให้ต่อที่ตัวเมนบอร์ด สังเกตลายพริ้นต์จะสกรีนข้อความ ว่า CPU Fan Connector (CPU_FAN)

การเสียบหัวต่อเข้ากับเมนบอร์ดห้ามผิดตำแหน่งเด็ดขาด เพราะจะทำให้การหมุนของพัดลม เป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม ไม่ดูดความร้อนออกจากตัวซีพียู และ ห้ามลืมต่ออย่างเด็ดขาด

 

4. ติดตั้งหน่วยความจำหรือแรม
ที่ตัวเมนบอร์ดจะมีซ็อกเก็ตให้ติดตั้งแรมแบบ DDR DIMM (Double Data Rate Memory Module) ได้ 2 ตัว โดยใช้แรม DDR SDRAM แบบ PC1600 หรือ PC2100
ลักษณะของแรมแบบ DDR จะมีส่วนฟุตพริ้นต์หรือส่วนขาที่จะเสียบเข้ากับตัวซ็อกเก็ตมีน็อตช์ หรือรอยตัดเพียงตำแหน่งเดียว โดยแบ่งขาหรือพินเป็น 2 ส่วน ส่วน แรกมี 104 พิน (104 Pins) และส่วนที่ 2 มี 80 พิน (80 Pins)
การเลือกใช้แรมจะต้องเลือกความถี่ให้สัมพันธ์กับระบบบัสบนเมนบอร์ด จากตัวอย่างจะเป็น การประกอบเครื่องเพนเทียมโฟร์ 1.5 บัส 100 MHz ก็จะเลือกใช้แรม DDR แบบ 200 MHz (PC1600) หรือ 266 MHz (PC2100) ก็ได้ ดูจากรุ่นของซีพียูที่ใช้ความถี่เท่ากับเท่าใด ก็จะเป็นขนาดของบัสที่ใช้ บนเมนบอร์ด ซีพียูเพ นเทียมโฟร์ 1.5 Gb ซ็อกเก็ต 478 ที่ผู้เขียนใช้งานอยู่นี้จะตั้งเซ็ตความถี่เท่ากับ 100 MHz และตัวคูณ 15x ระบบบัสบนเมนบอร์ดก็จะเป็น 100 MHz
ในกรณีที่บัสบนเมนบอร์ดเท่ากับ 133 การเลือกแรม DDR แบบ Bus 200 MHz อาจไม่ สามารถใช้งานได้ หรือได้แต่อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม ของเครื่องไม่ดีนัก เพราะขนาด บัสไม่สัมพันธ์กัน ควรใช้แรม DDR บัส 266 MHz (หารด้วย 2 แล้วเท่ากับ 133 MHz ที่หารด้วย 2 เพราะแรมแบบ DDR ได้รับการ พัฒนาต่อจากแรมแบบ SDRAM ที่มีความเร็ว 133 MHz โดยมี ความเร็วเพิ่มเป็นเท่าตัว (Double Data Rate) เท่ากับ 266 MHz จึงสามารถทำงานกับเมนบอร์ดที่ ใช้บัส 133 MHz ได้ ส่วนเมนบอร์ดที่มีบัส 100 MHz ก็สามารถทำงานได้ โดยจะลดความเร็วในการทำงาน เหลือ 100 MHz เพื่อให้สัมพันธ์กับบัสบนเมนบอร์ดนั้นๆ แต่แรมไม่สามารถนำแรม PC1600 ไปใช้ บนบอร์ดที่ใช้ระบบบัส 133 MHz ได้ เพราะแรมไม่สามารถเพิ่มความเร็วได้ แต่สามารถลดความเร็วได้

 

Sponsored Ads