การเริ่มต้นเลือกซื้ออุปกรณ์ อาจเริ่มต้นจากการดูใบโฆษณาขายคอมพิวเตอร์ที่ประกอบสำเร็จ หรือแต่ละร้านได้จัดไว้เป็นชุดๆ ไว้แล้ว ส่วนใหญ่ก็จะแบ่งไว้หลาย เกรด เกรดต่ำสเป็คต่ำราคาถูก ก็ดู ว่าใช้อุปกรณ์ใดบ้าง ยี่ห้ออะไร สเป็คสูงขึ้นมาหน่อยใช้อุปกรณ์แบบใด คราวนี้เราก็เลือกซื้ออุปกรณ์ ตามนั้นก็ได้ หลายคนอาจ เกิดคำถามว่า เครื่องที่ได้จะมีประสิทธิภาพดีเพียงใด ขอตอบว่าอยู่ที่คนใช้ คนใช้เครื่องไม่มีความรู้ เครื่องดีแค่ไหนก็ไร้ประโยชน์

1. เลือกซื้อเมนบอร์ด
เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ชิ้นแรกที่ต้องซื้อและก็ต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเมนบอร์ดพอสมควร สิ่งที่ต้องใส่ใจกับการเลือกซื้ออาจ มีดังนี้


- เมนบอร์ดรุ่นนั้นใช้กับซีพียูแบบใดได้บ้าง ของอินเทลหรือ AMD รองรับการอัพเกรดถึงซีพียู ความเร็วเท่าไหร่ ถ้าเป็นมือใหม่ อาจดูจากใบโฆษณาขายคอมพิวเตอร์ เมนบอร์ดที่ทางร้านเลือกใช้ ตรงกับที่คุณได้เลือกไว้ในใจหรือไม่ ถ้าใช่ก็ดูว่าใช้กับซีพียูรุ่นใดได้บ้าง


- แรมบนบอร์ดใช้แรมแบบใดได้บ้าง ก็ดูจากคู่มือหรือในใบโฆษณาอีกนั่นแหละ


- เรื่องยี่ห้อของเมนบอร์ด เลือก Asus, ABit หรือ Gigabyte ก็ไว้ใจได้ คุณภาพดีอยู่แล้ว


เมนบอร์ดบางรุ่นจะเป็นแบบ All in One มีทั้งการ์ดจอ การ์ดเสียง การ์ดแลน การ์ดโมเด็ม บางรุ่นมีซีพียูรวมอยู่ด้วย ซื้อเมนบอร์ดอย่างเดียวก็ได้ครบทุกอย่าง เหมาะสำหรับผู้ที่มีงบจำกัด เน้น การนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานทั่วๆไป ใช้พิมพ์งาน อินเตอร์เน็ต

ความรู้เกี่ยวกับชิพเซ็ตที่ใช้บนเมนบอร์ด
ชิพเซ็ตอาจถือได้ว่าเป็นตัววัดประสิทธิภาพของเมนบอร์ดแต่ละรุ่น และทำให้เมนบอร์ดมีราคา แตกต่างกันไป การเลือกซื้อจึงต้องดูที่ชิพเซ็ตด้วย

ชิพเซ็ตบนเมนบอร์ดแบบ Socket A
1. VIA KT333
= รองรับ FSB สูงสุดที่ 266 MHz
= รองรับแรมแบบ DDR SDRAM PC3200 ( DDR SDRAM ที่มีความเร็วในการทำงาน สุงสุดที่ 400 MHz )
= รองรับฮาร์ดดิสก์แบบ UDMA / 133 หรือรองรับการใช้งานกับฮาร์ดดิสก์ที่มีความสามารถ ในการรับส่งข้อมูลสูงสุดได้ถึง 133 เมกกะบิตต่อวินาที (133 Mbps)

2. VIA KT400
= รองรับ FSB 266 MHz
= DDR SDRAM PC3200 หรือ DDR SDRAM ความถี่ 400 MHz
= UDMA / 133
= AGP 8x รองรับการใช้งานกับการ์ดจอแบบ AGP ที่มีความเร็วในการทำงานที่ 8x (8 x 66 =528 MHz )
= RAID รองรับการใช้งานกับฮาร์ดดิสก์อีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า RAID ที่สามารถนำฮาร์ดดิสก์ มาต่อพ่วงกันได้หลายๆ ตัว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บและ สำรองข้อมูล
= USB 2.0 เป็นความสามารถในการถ่ายโอนข้อมูลทางพอร์ต USB รุ่น 2.0 ซึ่งสามารถอ่าน โอนข้อมูลได้เร็วกว่า USB รุ่นแรกๆ
= Firewire เป็นความสามารถในการถ่ายโอนข้อมูลอีกรูปแบบหนึ่ง กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่ต้องการการถ่ายโอนข้อมูลเป็นจำนวนมากและสามารถทำได้เร็วกว่า การเชื่อมต่อแบบอื่นๆ
= Serial ATA รองรับการเชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์แบบใหม่ ที่มีความสามารถในการถ่ายโอน ข้อมูลสูงกว่าแบบ UDMA

3. VIA KT266 A
= PSB 333 MHz
= DDR SDRAM PC3200
= UDMA / 133
= AGP 8x

4. AMD 760
= 266 MHz
= DDR SDRAM PC3200
= UDMA / 100

5. NVidia NF 220P
= UDMA / 133

6. SiS 730
= DDR SDRAM
= UDMA / 133

7. SiS 740
= FSB 333 MHz
= DDR SDRAM PC2700,
= UDMA / 133

8. SiS 745
= FSB 333 MHz
= DDR SDRAM PC2700
= UDMA / 133

ชิพเซ็ตบนเมนบอร์ดแบบ Socket 478
1. Intel 845 GE
= Max FSB 533 MHz
= DDR SDRAM PC2700 ( DDR SDRAM 333 MHz )
= UDMA / 100

2. Intel 845 G
= FSB 533 MHz
= UDMA / 100
= USB 2.0
= RAID UDMA / 133

3. Intel 845E
= FSB 533 MHz
= UDMA / 100
= RAID 133
= USB 2.0

4. Intel 845D
= FSB 400 MHz
= AGB 4x
= UDMA / 100

5. Intel 845 PE
= FSB 533 MHz
= DDR SDRAM PC 2700
= UDMA / 133

6. SiS 64S
= DDR SDRAM 266 MHz
= FSB 400 MHz
= AGP4x
= DDR SDRAM PC2700
= UDMA / 100

7. SiS 64Sx
= DDR SDRAM

8. SiS 650
= FSB 400 MHz
= AGP 4x
= UDMA / 100

9. SiS 645Dx
= FSB 533 MHz
= DDR SDRAM PC2700
= UDMA / 133
= USB 2.0

10. VIA P4x400
= FSB 533 MHz
= DDR SDRAM PC2700
= UDMA / 133
= AGP 8x
= USB 2.0
11. VIA P4x266
= PSB 533 MHz
= SDRAM/DDR SDRAM ใช้ได้ทั้งแรมแบบ SDRAM และ DDR SDRAM

2. เลือกซื้อซีพียู
ควรอ่านคู่มือเมนบอร์ดก่อน ว่ารองรับการใช้งานกับซีพียูแบบใดรุ่นใด สูงสุดที่ความเร็วเท่าไร แล้วจึงเลือกซื้อซีพียูที่สามารถใช้งานกับเมนบอร์ดนั้นได้ สำหรับซีพียูที่ เลือกซื้อ ก็เลือกความเร็วระดับ 1 GH ขึ้นไป ก็สามารถใช้งานได้อีกนาน ส่วนเรื่องยี่ห้อ จะเป็นของอินเทลหรือเอเอ็มดี ประสิทธิภาพ ก็ไม่หนีกันเท่าไร แต่ถ้าเน้น สบายใจจริงๆ ก็เลือกอินเทล

3. เลือกซื้อหน่วยความจำ
อ่านรายละเอียดในคู่มือเมนบอร์ดก่อนว่าใช้กับแรมแบบใดได้บ้าง ก็เลือกซื้อแรมแบบนั้น ในตอนนี้ส่วนใหญ่ก็จะใช้แบบ DDR SDRAM
รายละเอียดที่น่ารู้เกี่ยวกับแรม
1. SDRAM PC133
เป็นแรมแบบ SDRAM ความเร็ว 133 MHz


2. SDRAM PC150
เป็นแรมแบบ SDRAM ความเร็ว 150 MHz


3. DDR SDRAM PC1600
เป็นแรมแบบ DDR SDRAM ความเร็ว 200 MHz


4. DDR SDRAM PC2100
เป็นแรมแบบ DDR SDRAM ความเร็ว 266 MHz


5. DDR SDRAM PC2700
เป็นแรมแบบ DDR SDRAM ความเร็ว 333 MHz


6. DDR SDRAM PC3200
เป็นแรมแบบ DDR SDRAM ความเร็ว 400 MHz


7. DDR SDRAM PC3500
เป็นแรมแบบ DDR SDRAM ความเร็ว 533 MHz

4. เลือกซื้อการ์ดจอ
ก็เช่นเดียวกันกับซีพียูและแรม ควรอ่านรายละเอียดในคู่มือเมนบอร์ดก่อนว่า ใช้กับการ์ดจอ แบบใดได้บ้าง ซึ่งตอนนี้ก็จะเป็นการ์ดจอ แบบ AGP (AGP2x, 4x หรือ 8x) แต่ต่างกันที่ความเร็ว ของการ์ดจอและกำลังไฟ ต้องเลือกซื้อให้ถูกต้อง ตรงกับที่ระบุไว้ในเมนบอร์ด


สำหรับมือใหม่ ไม่รู้จะเลือกซื้อแบบใด ก็ไม่ยาก ซื้ออุปกรณ์ทั้ง 4 ชิ้นนี้ในร้านเดียวกัน ซีพียู กับเมนบอร์ด ก็ให้ทางร้านเซ็ตค่าซีพียูบนเมนบอร์ดให้เรียบร้อย ที่เหลือก็ เอามาประกอบเอง ก็ไม่ยาก แล้วครับตอนนี้

ตัวอย่างรายละเอียดเกี่ยวกับการ์ดจอ ( Display Card )
ยี่ห้อ ชิพเซ็ต แรม อินเตอร์เฟส
Albatron Mx440 nVidia GF4Mx440 64M AGP AGP 4x , TVout
DFIx400-T2 SiS Xabre 400 64M AGP AGP 8x , TVout

การ์ดจอแบบแรกใช้ชิพเซ็ตของ nVidia GF4Mx440 เป็นชิพเซ็ตที่ออกแบบมาสำหรับการ เล่นเกม โปรแกรมสามมิติ มีแรมบนการ์ดจอ 64 Mb ยิ่งมีมากยิ่งดี การ์ดที่ใช้รองรับความสามารถ ในการรับส่งข้อมูลที่ 4x น้อยกว่าการ์ดแบบที่ 2 ส่วน TVOut เป็นความสามารถในการนำภาพจาก คอมพิวเตอร์ไปแสดงที่จอทีวีได้ การ์ดทั้งสองตัวมีคุณสมบัตินี้เหมือนกัน

5. การเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์
ก่อนเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ ก็ต้องดูที่เมนบอร์ดก่อนว่า รองรับการใช้งานกับฮาร์ดดิสก์แบบใด เช่น UDMA 66/100/133 แล้วเลือกซื้อให้ถูกต้อง เลือกซื้อความเร็วรอบ ที่เหมาะสม เช่น 7200 ต่อนาที การรับประกันก็ต้องพิจารณาเช่นกัน ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 1-3 ปี เลือกผู้ขายที่ไว้ใจได้ อย่าง DCOM ก็เคลม ง่ายเวลาฮาร์ดดิสก์มี ปัญหา

รายละเอียดที่น่ารู้เกี่ยวกับฮาร์ดดิสก์
ยี่ห้อ ความจุ(GB) ความเร็วรอบ อินเตอร์เฟส อื่นๆ
IBM DTLA 40 7,200 IDE UDMA/100,Buffer 2MB
Maxtor 80 7,200 IDE UDMA/133, Buffer 2MB, 3 ปี
Seagate ST318404LW 18.2 10,000 SCSI Cheetah

ฮาร์ดดิสก์ทั้ง 3 แบบ แบบแรกความจุ 40 GB ความเร็วรอบในการหมุน 7,200 ยิ่งเร็ว การค้นหา ข้อมูลก็ทำได้ดีกว่า อินเตอร์เฟสหรือลักษณะการเชื่อมต่อจะ เป็นแบบ IDE ความสามารถในการรับส่ง ข้อมูล 100 Mbps ( เมกกะบิตต่อวินาที ) ในขณะที่แบบที่ 2 จะสามารถรับส่งข้อมูลได้มากกว่า ทั้งยัง รับประกันตั้ง 3 ปี ส่วนแบบสุดท้ายความจุน้อยแค่ 18.2 GB เท่านั้น แต่คุณภาพห่างชั้นทั้งสองแบบ แรกอย่างมาก ความเร็วรอบ 10,000 อัตราการรับส่งข้อมูลก็สูงกว่า เหมาะ สำหรับเครื่องที่ต้องการ ประสิทธิภาพสูง เช่น เครื่องเซิร์ฟเวอร์ ที่เปิดกันทั้งวัน ไม่ปิดเครื่องเป็นเดือน

6. การเลือกซื้อจอภาพ
การเลือกซื้อจอ อาจเลือกขนาด 15'' ถ้าเป็นการใช้งานทั่วๆไป พิมพ์งาน เล่นเกม อินเตอร์เน็ต แต่ถ้าเป็นการใช้โปรแกรมประเภทกราฟิค จอ 17'' จะเป็นตัวเลือกที่ ดีกว่า เพราะโปรแกรมประเภทนี้ เครื่องมือเยอะ ถ้าใช้จอขนาดเล็กเครื่องมือจะถูกวางเต็มจอ การใช้งานจะไม่ค่อยสะดวก สิ่งที่ต้อง พิจารณาเมื่อเลือกซื้อจอ นอกจาก ขนาดแล้วก็คงเป็นเรื่องราคา ความละเอียดในการแสดงผลและ ดอทพิทหรือจุดบนจอ

รายละเอียดที่น่ารู้เกี่ยวกับจอภาพ
จอ AOC รุ่น SEN ราคา 3500 ขนาด 15'' 1024x768 0.28mm
จอ Philips รุ่น 105Sll ราคา 4,500 ขนาด 15'' 1280x1024 0.27mm
จอ MAG รุ่น AY565 ราคา 16,000 ขนาด 15'' LCD 1024x768
จอ ADI รุ่น G500FD ราคา 6,500 ขนาด 15'' Flat Trinitron


ทั้ง 4 รุ่นนี้ เป็นจอขนาด 15'' เหมือนกัน แต่ราคาและคุณภาพก็เรียงตามลำดับ จอที่1 ราคาถูก แต่สามารถกำหนดความละเอียดหน้าจอได้เพียง 1024x768 Dpi และมีดอทพิท 0.28 mm ในขณะที่จอแบบที่2 ความละเอียดจะอยู่ที่ 1280x1024 ดอทพิท 0.27 ดอทพิทขนาดเล็ก ภาพก็ยังคมชัด ส่วนจอแบบ Flat จะเป็นจอแบน มีคุณสมบัติดีกว่าจอทั้งสองแบบแรก ราคาก็เลยสูงกว่า ในขณะที่ จอแบบ LCD จะมีราคาสูงที่สุด และก็เป็นจอที่ดีที่สุดเช่นกัน สบายตา ตัดปัญหาเรื่องแสงสะท้อน ความร้อนต่ำมากๆ จอ LCD บางรุ่นก็จะมีลำโพงติดมาด้วย

7. การเลือกซื้อการ์ดเสียง ( Sound Card ) และลำโพง
สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณา ถ้าเน้นการฟังที่ได้อรรถรสมากๆ การ์ดเสียงของ Creative ก็เชื่อถือ ได้ แต่ถ้าเน้นกลางๆ คุณภาพเสียง เทียบเท่าการฟังเพลงจากซีดี คุณไม่ ใช่พวกหูเทวดา เป็นหูชาวบ้าน บ้านธรรมดาทั่วๆไป การ์ดเสียงราคากลางๆ ของ YAMAHA ก็ใช้งานได้ดี เลือกที่มีคุณสมบัติ Wavetable ไว้ใช้กับแผ่นคาราโอเกะ อาจ เลือกที่มีหลายชาแนล เช่น 4 หรือ 6 Channels 4 หรือ 6 ทิศทาง ก็แล้วแต่ลักษณะการฟังเพลง ชมภาพยนตร์จากแผ่น VCD / DVD เล่นเกม


การเลือกซื้อการ์ดเสียงก็ต้องสัมพันธ์กับลำโพง เช่นการ์ดเสียงแบบ 5.1 Channels 6 ทิศทาง ถ้าเลือกใช้ลำโพงสำหรับการ์ดเสียง แบบนี้ให้ได้อรรถรสในการฟังจริงๆ ก็ต้องเลือกซื้อลำโพงแบบ 5.1 เช่นกัน มีลำโพง 5 ตัว ให้เสียงแหลม จัดวางในตำแหน่ง หน้า 3 และหลัง 2 ตัว ส่วนตัวสุดท้ายเป็น ลำโพงแบบ ซับวูฟเฟอร์ ให้เสียง ทุ้มจะวางด้านหน้า ถ้าเล่นเกมหรือดูหนัง ก็รับรองว่าได้ บรรยากาศ เหมือนอยู่ในโรงหนังเลยทีเดียว

8. การเลือกซื้อเครื่องอ่านซีดี
เครื่องอ่านซีดีที่มีคุณสมบัติในการเขียนด้วยจะมีราคาถูกลงมาก แนะนำให้เพิ่มเงินอีกหน่อย เพื่อซื้อเครื่อง CD-RW ไดรว์จะดีกว่า เลือกแบบติดตั้งภายใน มีคุณสมบัติ Burn Proof และ Buffer ยิ่งมากยิ่งดี

9. การเลือกซื้อเคส
เคสหรือกล่องใส่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถูกประกอบเข้าด้วยกันเรียบร้อยแล้ว จะเลือกซื้อรูปทรง แบบใดก็ตามแต่ใจ แต่เลือกซื้อเคสที่ใช้พาวเวอร์ซัพพลายขั้นต่ำ 300 w น้อยไปกว่านี้ อาจจ่ายไฟไม่พอ ทำให้อุปกรณ์บางตัวอย่างฮาร์ดดิสก์หรือจอภาพเสียหายได้

10. การเลือกซื้อเมาส์
การเลือกซื้อเมาส์ที่มียี่ห้อ แม้ราคาจะแพงไปหน่อยแต่ค่อนข้างทนทาน แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับ พฤติกรรมการใช้เมาส์ของคุณด้วย มีผ้าคลุมเมาส์และทำความสะอาด อย่างสม่ำเสมอ ก็ช่วยยืดอายุ การใช้งานได้

11. การเลือกซื้อคีย์บอร์ดหรือแป้นพิมพ์
แป้นพิมพ์ที่เลือกซื้อ ให้ทดลองพิมพ์ข้อความ ปุ่มต่างๆไม่แข็งจนเกินไป เสียงไม่ดังมาก ตำแหน่งของปุ่มต่างๆ อยู่ตำแหน่งที่คุ้นตา คุ้นมือ เพราะการเลือกแป้นพิมพ์ ที่ปุ่มต่างๆถูกจัดวางผิด ที่เวลาพิมพ์ก็จะผิดบ่อย จนน่ารำคาญ

12. การเลือกซื้อโมเด็ม
โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก จะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า เพราะจะไม่รบกวนการทำงานของซีพียู ขณะทำงาน แต่ราคาจะแพงกว่าแบบติดตั้งภายในอีกเท่าตัว การเลือกซื้อ ก็สอบถามทางร้านว่าแบบใด ปัญหาน้อย ไม่เคลมบ่อย เพราะถ้าเคลมบ่อยก็แสดงว่าเสียง่าย

13. อุปกรณ์อื่นๆ
อาจจะมีอุปกรณ์อื่นๆ อีกหลายรายการที่ต้องซื้อ เช่น ผ้าคลุมเครื่อง แผ่นดิสก์เก็ต แผ่น CD-R แผ่นกันรังสีจากจอภาพ ฯลฯ