มือถือสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตแอนดรอยด์จะสามารถใช้แอปตารางคำนวณ หรือ แอปประเภทชีต หรือสเปรดชีตได้คล้ายกับการทำงานใน คอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊ค โดยแอปเหล่านี้จะมีชื่อยอดนิยม เช่น Microsoft Excel, Google ชีต, WPS ออฟฟิศเป็นต้น เพื่อทำตารางคำนวณเกี่ยวกับ ตัวเลข เช่น รายจ่าย ยอดขาย คะแนน เกรด เป็นต้น

 

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับแอป Excel ในมือถือ

แอป Excel แอปตารางคำนวณ หรือ แอปสเปรดชีต สำหรับใช้งานในมือถือมีหลายแอปให้เลือก แต่ละแอปจะมีหน้าตา และการ ใช้งานที่คล้ายๆ กัน จะใช้แอปใด ก็เลือกได้ตามต้องการ แต่แนะนำให้ใช้แอปยอดนิยมจะไม่มีปัญหาเรื่องโฆษณากวนใจ เช่น
1. แอป Microsoft Excel หรือ Excel เป็นแอปที่นิยมใช้งานกันมากที่สุด โดยเฉพาะในหน่วยงาน บริษัทต่างๆ สามารถติดตั้งได้ทั้ง ในมือถือหรือแท็บเล็ต Windows, Android และ iPhone/iPad
2. แอป Google ชีต (Sheet) เป็นแอปของ Google ซึ่งผู้ใช้มือถือหรือแท็บเล็ตระบบแอนดรอยด์จะสามารถใช้งานได้ทันที แต่ก็ สามารถติดตั้งได้ทั้งในมือถือหรือแท็บเล็ต Windows, Android และ iPhone/iPad
3. แอป Number เป็นแอปสำหรับมือถือหรือแท็บเล็ต iPhone/iPad เท่านั้น

 

ส่วนแอปตารางคำนวณนอกเหนือจากแอป Excel, Google Sheet, Number ก็มีหลายตัวให้เลือก แต่แอปเหล่านี้อาจจะมีโฆษณา กวนใจ กวนหน้าจอ หรือ อาจจะคิดเงินเป็นรายปี

 

เปรียบเทียบการคำนวณบนกระดาษและแอปตารางคำนวณ

แอปประเภทชีต หรือ ตารางคำนวณ เหมาะสำหรับการคำนวณตัวเลขที่มีจำนวนมาก ซับซ้อน อาจจะต้องมีการแก้ไขจนกว่าตัวเลขจะลงตัว เพื่อ วางแผนการเงิน จัดการเรื่องการเงิน ตัวอย่างเช่น
1. การคำนวณรายจ่ายประจำเดือน ซึ่งมีตัวเลขมาเกี่ยวข้องหลายรายการ กรณีมีการแก้ไข เปลี่ยนแปลงจำนวนเงินเหล่านั้น หากเป็นการคำนวณ ในกระดาษ ก็จะต้องเสียเวลามา บวก ลบ คูณ หาร กันใหม่ทั้งหมด


2. แต่หากใช้แอปตารางคำนวณ เมื่อตัวเลขเปลี่ยนแปลง แอปจะทำการคำนวณให้ใหม่อัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น รายรับอื่นๆ เดือนนี้ คาดว่าจะน้อยกว่า 4000
3. เมื่อแก้ไขตัวเลขเป็น 2000 แอป ก็จะคำนวณให้ใหม่ทั้งหมดอัตโนมัติ นี่คือประโยชน์ของแอปตารางคำนวณ หรือ ชีต


4. ไปดูอีกสักหนึ่งตัวอย่าง การคำนวณการจัดงานเลี้ยง คำนวณค่าใช้จ่าย และจะต้องหารจำนวนเงินให้ลงตัวกับงบที่ตั้งไว้ เช่น คนละ 1000 บาท เท่านั้น การคำนวณในกระดาษ จะทำได้ยากมาก


5. แต่การคำนวณในแอป ชีต จะทำได้ง่ายกว่ามาก เมื่อปรับเปลี่ยนตัวเลข รายการใช้จ่าย เครื่องดื่ม อาหาร ฯลฯ แอปก็จะคำนวณให้อัตโนมัติ
6. ตัวอย่าง ช่อง จ่ายคนละ แอปจะคำนวณตัวเลขให้ทันที ทำให้ง่าย ในการวางแผน เช่น ตั้งงบไว้คนละ 1000 บาท เท่านั้น การปรับลดตัวเลขราย จ่าย ก็จะทำได้ง่าย

 

ตัวอย่างแอป ประเภทชีต

แอปประเภทตารางคำนวณ หรือ ชีต หรือ สเปรดชีต หรือ XLS มีชื่อเรียกหลายชื่อ ตามแต่ผู้สร้าง เช่น Microsoft Excel, Google ชีต, WPS XLS เป็นต้น
1. การติดตั้งเพื่อใช้งานนั้นหากเป็นการใช้งานไม่เน้นต่ออินเตอร์เน็ต ใช้งานเฉพาะในมือถือของเราคนเดียวเท่านั้น อาจจะติดตั้ง WPS Office แอปนี้ ใช้งานง่าย เอาไว้คำนวณการเงิน รายจ่ายแต่ละเดือน การวางแผนใช้จ่ายเงินไปกับการลงทุน เพื่อคำนวณต้นทุน ค่าใช้จ่าย ประมาณกำไร ฯลฯ
2. การใช้งานส่วนตัว มีการเชื่อมต่อเน็ตตลอดเวลา อาจใช้งานกับอุปกรณ์อื่นๆ หลายเครื่อง ทั้งมือถือ ทั้งคอมพิวเตอร์ ก็แนะนำ Google ชีต
3. ส่วนผู้ที่จะต้องทำงานร่วมกันกับพนักงานคนอื่นๆ ในบริษัทซึ่งส่วนใหญ่จะใช้โปรแกรม Microsoft Excel ก็จำเป็นจะต้องติดตั้งแอป Excel เพื่อจะ ได้ใช้ข้อมูลร่วมกันได้ แต่อาจจะติดตั้งแอป Google ชีต หรือ WPS Office ไว้ใช้งานส่วนตัว

 

หน้าตาแอป ชีต

สำหรับแอปตารางคำนวณ หรือ ชีต จะมีหน้าตาคล้ายๆ กัน โดยมีลักษณะเป็นตาราง ให้ป้อนข้อความและตัวเลข กรณีของตัวเลข จะสามารถ นำมาบวก ลบ คูณ หาร หรือใช้สูตรคำนวณอื่นๆ ได้
1. หน้าตาแอป WPS Office จุดเด่น ก็คือ ข้อความ และ ตัวเลขที่ป้อนลงไป จะมีขนาดพอดี ไม่ต้องปรับ ดูง่ายสบายตา แต่แอปนี้จะมีการคิดเงิน หากมีข้อความให้สมัครการใช้งาน ก็ต้องอ่านให้ดี ก่อนจะแตะเลือกการทำงาน ที่ปรากฏในกรอบข้อความ หรือ หน้าจอ ขณะใช้งาน
2. หน้าตาแอป Microsoft Excel เหมาะสำหรับการใช้งานที่เป็นทางการ สำหรับหน่วยงานรัฐ พนักงานบริษัท
3. หน้าตาแอป Google ชีต ขนาดของตัวหนังสือ ตัวเลข ไม่ต้องปรับ มีขนาดเท่าๆ แอปนี้เป็นของ Google ใช้งานฟรี อย่างสบายใจ ไม่ต้องกังวล

 

แนะนำอุปกรณ์เสริมสำหรับใช้งานกับมือถือ

การใช้แอปตารางคำนวณ จำเป็นจะต้องมีการพิมพ์ข้อความ ตัวเลข ตลอดจนสูตรคำนวณ ดังนั้นหากจำเป็นจะต้องใช้แอปแนวนี้บ่อยๆ ก็แนะนำ ให้ซื้อคีย์บอร์ดบลูทูธมาไว้ใช้งาน เพื่อความสะดวกในการแก้ไขข้อความ แก้ไขตัวเลข บางรุ่นจะมีเมาส์ในตัวอีกด้วย สะดวกในการใช้งานมาก ขึ้น

 

สรุป

บทความแรกนี้จะมาแนะนำแอปกันก่อน ใครชอบแอปไหน ก็เลือกติดตั้งได้เลย ผู้เขียนแนะนำ Google ชีต เพราะบทความในหมวดนี้ทั้งหมด จะ เน้นแอปตัวนี้ ซึ่งเป็นของ Google โดยตรง ใช้งานได้อย่างสบายใจ แต่ใครจะใช้แอปตัวอื่น ก็ไม่มีปัญหา สูตรคำนวณจะไม่ต่างกัน ส่วนบทความที่จะ ทยอยทำต่อไปเรื่อยๆ ก็จะยกตัวอย่างการใช้แอปเหล่านี้ไปสร้างตารางคำนวณแบบต่างๆ เช่น คำนวณรายจ่าย คำนวณการลงทุน คำนวณเกรด ฯลฯ รอติดตามใน EP ถัดไปครับ