ก่อนการพิมพ์ตรวจสอบความเรียบร้อย ควรตรวจสอบเนื้อหาทั้งหมด การจัดรูปเล่มหนังสือ จากหน้าจอคอมพิวเตอร์ก่อนหลายๆ รอบ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ประหยัดกระดาษและหมึกพิมพ์ การพิมพ์ให้พิมพ์แบบหน้าหลังเหมือนจริงทุกประการ ปกติหน้าแรกของแต่ละบทนิยมกำหนดไว้ด้านขวา เช่น
บทที่ 1 มี 3 หน้า
บทที่ 2 มี 4 หน้า
บทที่ 3 มี 5 หน้า
ในบทที่ 1 และบทที่ 5 จะต้องเพิ่มหน้าว่างๆ เข้ามาอีกหนึ่งหน้า ไม่เช่นนั้นบทที่ 2 หน้าแรกจะ ไปอยู่ทางด้านซ้ายมือ หน้าที่เพิ่มเข้ามาจะเป็นหน้าว่างๆ อาจปล่อย ไว้แบบนั้น หรือเพิ่มเติมเนื้อหาลงไป ก็ได้ และในการเพิ่มหน้าว่างๆ ต้องทำก่อนการสร้างสารบัญไม่เช่นนั้น เลขหน้าจะไม่ตรงกัน
การจัดตำแหน่งบล็อกข้อความในหน้ากระดาษจากตัวอย่าง แผ่นแรกที่มี 2 หน้า ปกในและ รองปกใน ปกในเป็นหน้าที่อยู่ด้านขวามือ จะเว้นขอบทางซ้ายไว้ 2 ซม. เพื่อเย็บเล่ม หากจัดบล็อก ข้อความชิดมากไป เมื่อเย็บเล่มจะอ่านลำบาก ส่วนหน้ารองปกในเป็นหน้าที่อยู่ด้านหลังหน้าปกใน จะเว้น ขอบด้านขวามือไว้ 2 ซม. เพื่อ ใช้เย็บเล่มเช่นกัน จะเห็นว่าทั้งสองหน้านี้มีความสัมพันธ์กัน จึงต้อง จัดตำแหน่งข้อความให้ถูกต้อง โดยปกติโปรแกรมจะจัดการให้ ไม่ต้องวุ่นวายจัดเองให้เสียเวลา แต่ก็ควร ตรวจความถูกต้องก่อน พิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ อาจวาดภาพเป็นกรอบสี่เหลี่ยมแทนจำนวนหน้าจริง เพื่อตรวจเช็คไปทีละแผ่นว่าหน้าหลังสัมพันธ์กันหรือ ไม่ งานหนังสือเป็นงานที่ต้องการความละเอียด รอบคอบในการตรวจเช็คเนื้อหามาก ทุกอย่างต้องดีที่สุด ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด
การออกแบบที่ดีควรให้แต่ละบทมีจำนวนหน้าเป็นเลขคู่ หากเป็นเลขคี่ เช่น 5 หน้า เมื่อเพิ่ม หน้าว่างๆ เข้ามา ก็จะเสียไปเปล่าๆ หนึ่งหน้ากระดาษคือหน้าที่ 6 เพราะไม่มีข้อความ นอกจากนี้ก็ต้อง พยายามให้จำนวนหน้ารวมทั้งหมดลงตัวกับการใช้เพลทแต่ละแบบด้วย เช่น ถ้าทำหนังสือขนาด A5 จำนวน 80 หน้า ลงเพลท ตัด 2 80 หาร 16 = 5 เพลท ลงตัวพอดี ไม่มีหน้าใดขาดหรือเกิน
ในการตรวจสอบก็มีส่วนที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษก็คือ เลขหน้าและส่วนหัวหรือส่วนท้ายกระดาษ ของแต่ละบท ว่าถูกต้องหรือไม่ ให้ตรวจสอบโดยเปิดแต่ละไฟล์ขึ้นมา แล้วคลิกที่หน้าหลัก (Master Page) เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง