ความหมาย : สำนวนนี้มักจะใช้พูดเปรียบเปรยถึงสิ่งที่จะต้องทำ ภาระกิจ หรืองานใดๆ ก็ตาม ซึ่งเป็นงานที่มี ความยากลำบากมาก ต้องใช้ความอดทน ใช้แรงกาย แรงใจ ทุ่มเทอย่างมาก หากต้องการประสบความสำเร็จ เหมือนการกลิ่งครกขึ้นภู ดเขานั่นเอง
ยุคสมัยเปลี่ยนไป คนรุ่นใหม่อาจจะเห็นครกมีขนาดใหญ่สุด ก็ประมาณครกตำส้มตำ และอาจจะงงว่า ทำไมจะต้องกลิ้ง ถือหรือแบก ขึ้นภูเขาได้สบายๆ แต่เมื่อก่อนจะมีครกขนาดใหญ่ อย่างครกไว้ตำข้าวเปลือก ซึ่งมีขนาดใหญ่ประมาณเกือบ 1 คนโอบ การขยับครก ก็ จะใช้การกลิ้ง เพราะยกหรือแบกคงจะไม่ไหว หากจะต้องเข็นหรือกลิ้งครกใหญ่ๆ แบบนี้ขึ้นภูเขา ก็เป็นเรื่องที่ยากมาก เหนื่อยมาก ซึ่งก็ เปรียบได้กับการทำงานบางอย่างที่มีความยากลำบากไม่มีทางสำเร็จได้ง่ายๆ นั่นเอง
ตัวอย่าง :
หลังจากทุ่มเทการเรียนอย่างหนัก นาย วิชัย ก็สามารถสอบเข้าเรียนมหาวิทยาลัยในคณะที่ตัวเองต้องการได้ ในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น เป็นการเรียนที่ต้องทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจอย่างมาก ยิ่งกว่าการเข็นครกขึ้นภูเขา แต่ความสำเร็จก็คุ้มค่า ได้เรียนในสายที่ตัวเองชอบ และมีงานที่ดี มีอนาคตก้าวหน้าในชีวิตรออยู่
การทำงานยากๆ เหมือนการกลิ้งครกขึ้นภูเขา หากสามารถผ่านไปได้ ก็จะมีจิตใจที่เข็มแข็ง จะทำงานใดๆ ก็มีโอกาสประสบความ สำเร็จ ดังนั้นอย่าไปกลัวงานยาก หรืองานที่มีความลำบาก เพราะประสบการณ์ที่จะได้รับ มันคุ้มค่าเสมอ