Sponsored Ads

ความหมาย : สำนวนนี้ใช้เปรียบเทียบเทียบคนที่ทำเรื่องที่ผิด หรือรู้เรื่องบางอย่างดี รู้ดีอยู่แก่ใจตัวเอง หรือเพราะทำเองแล้วแสร้งแกล้งทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นในเรื่องที่เกิดขึ้น คนรอบข้างอาจจะสงสัย แต่ก็ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน

สำนวน กินอยู่กับปากอยากอยู่กับท้อง มักจะใช้พูดถึงการกระทำในเรื่องที่ไม่ดี ของใครบางคน ซึ่งคนอื่นและตัวเองก็รู้ดีว่าใครเป็นคนทำ แต่พูดไม่ได้ หรือไม่มีหลักฐาน ส่วนคนทำ ก็แสร้งทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ เหมือนว่าตัวเองไม่ได้ทำเรื่องนั้นๆ

ตัวอย่าง :

กระเป๋าของนักเรียนในโรงเรียนถูกรื้อค้นและมีของใช้หายอยู่บ่อยๆ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในชั่วโมงพลศึกษา เพราะต้องออกไปเรียนนอกห้องเรียน ดช. ก้อนทอง ซึ่งเป็นหัวหน้าห้อง โดยรู้ดีอยู่แก่ใจว่าใครเป็นคนทำ แต่แสร้างทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น กินอยู่กับปาก อยากอยู่กับท้อง เพราะคนที่ขโมยนั้น จริงๆ แล้วเป็นตัวเขาเอง

คนที่มีพฤติกรรม กินอยู่กับปาก อยากอยู่กับท้อง อาจจะหาตัวอย่างได้ไม่ยาก จากละครไทย หลังข่าว แต่คนประเภทนี้ที่น่ากลัว ก็คือบรรดาคนใกล้ตัวอาจจะเป็นที่ทำงาน หรือแม้แต่ในครอบครัวก็ตาม แอบทำเรื่องไม่ดีกับเรา แต่แสร้งทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น โดยเฉพาะในเรื่องการนอกใจกัน การหมั่นสังเกตุจะช่วยป้องกันเหตุร้ายไม่ให้เกิดกับตัวเองได้ การวางใจคนใกล้ตัวจึงต้องระวังเรื่องร้ายๆ ที่อาจจะตามมา ซึ่งหากมีใครสักคนกำลังแอบทำสิ่งไม่ดีกับเรา ก็สังเกตุไม่ยาก เช่น ฟังความเห็นคนรอบข้าง วิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย ผลประโยชน์ในตัวเราที่คนอื่นต้องการ เป็นต้น

 

สำนวน สุภาษิตที่ คล้ายกัน : ไขสือ, ไม่รู้ไม่ชี้