ความหมาย : สำนวนนี้ใช้เปรียบเทียบการกระทำที่ถูกต้องตามจารีต ธรรมเนียม ประเพณี ค่านิยมของแต่ละ สังคมก็จะได้รับการยอมรับจากผู้คนในสังคมนั้นๆ หากทำผิด ก็จะเป็นผลเสียกับตัวเอง ไม่กล้าสู้หน้าคนอื่น หรือไม่ได้รับการให้ เกียรติ
ตัวอย่าง :
การทำอะไรแบบ เข้าตามตรอก ออกทางประตู เหมือนที่คนส่วนใหญ่ คนในสังคม นิยมกัน ก็จะเป็นความสุขความสบายใจของผู้ทำ และผู้คนในสังคมก็จะให้การยอมรับ ไม่ตำหนิ ติฉัน นินทา เช่น การแต่งงานตามธรรมเนียมประเพณี แทนที่จะพากันหนี หรืออยู่กินกัน แต่ไม่แต่งงาน เป็นต้น
นาย แดงชัย เป็นลูกเขยที่พ่อตาแม่ยายรัก เพราะเป็นคนนิสัยดี รู้จัก เข้าตามตรอก ออกตามประตู เป็นการให้เกียรติพ่อแม่ฝ่ายหญิง ไม่ทำให้เสียหน้า เพราะทำอะไรถูกต้องตามธรรมเนียมประเพณี
การทำในสิ่งที่คนในสังคมมองว่าไม่ดี หรือไม่เป็นที่นิยมในสังคมนั้น ย่อมจะสร้างปัญหา อาจจะอยู่ไม่ได้ ไม่ได้รับการยอมรับ หรือ ถูกตำหนิ ทำให้เกิดความยุ่งยากในการใช้ชีวิต
การทำอะไรแบบ เข้าตามตรอก ออกตามประตู ในบางเรื่องอาจจะใช้ไม่ได้แล้ว ในโลกปัจจุบัน เพราะหลายสิ่งหลายอย่างเปลี่ยนไป จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน จะเอาแต่ยึดถือตามวิธีเก่าๆ ก็อาจจะทำให้เกิดความทุกข์กาย ทุกข์ใจ หรือทำให้คนใกล้ตัวเดือดร้อน พ่อแม่คน จีนบางคน เน้นให้เผา เพื่อไม่ให้ลูกหลานยุ่งยาก ต้องไปไหว้บรรพบุรุษทุกปี