ความหมาย : ใจจีดใจดำ สำนวนนี้มักจะใช้พูดถึงนิสัยใจคอของใครสักคน ในด้านไม่ดี เป็นคนไม่มีความเมตร ตาปราณี เป็นคนไม่มีน้ำใจ ช่วยเหลือเผื่อแผ่ใคร คิดถึงแต่ตัวเอง ไม่คิดถึงส่วนรวม เป็นคนเห็นแก่ตัว

ตัวอย่าง :

บางครั้งพ่อแม่ก็ต้องทำตัว ใจจืดใจจำ ไม่ช่วยเหลือลูกหลาน เพื่อให้เรียนรู้วิธีช่วยเหลือตัวเอง รู้จักช่วยเหลือตัวเอง เพราะการช่วย เหลือมากเกินไป ก็จะทำให้กลายเป็นคนที่ไม่รู้จักทำมาหากิน ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และจะเป็นภาระต้องรับผิดชอบไปอีกนาน เลี้ยงลูก ไม่รู้จักโต

ในเมืองใหญ่ที่ผู้คนต่างแก่งแย่งแข่งขันกัน เรื่องความมีน้ำใจ อย่าไปเรียกร้อง ผู้คนอาจจะดู ใจจีดใจดำ ก็เป็นเรื่องปกติ อย่างการลุกให้ เด็ก คนแก่ผู้สูงวัย นั่งเก้าอี้บนรถเมล์ บางคนก็ให้เหตุผลว่า เด็กยังมีโอกาสได้นั่งอีกนาน ส่วนผู้สูงวัย ก็นั่งมานานแล้ว ก็ควรจะเสียสละ ควรจะพอได้แล้ว ส่วนคนที่อายุใกล้เคียงกัน ก็ถือว่าโอกาสใกล้เคียงกัน ดังนั้นก็ไม่ต้องไปสนใจอะไรใคร หากไม่ได้รับความช่วยเหลือ การพยายามช่วยเหลือตัวเองนั้นดีที่สุด ไม่เป็นภาระใคร สบายใจ

หลายคนเห็นเด็กมานั่งขอทานแล้ว ก็อด ทำใจจีดใจดำ ไม่ได้ ไม่อยากให้ทาน เพราะมักจะเป็นการส่งเสริมพวกมิจฉาชีพ เนื่องจาก เด็กๆ เหล่านี้ อาจจะถูกลักพาตัวให้มานั่งขอทาน บางคนอาจจะถูกทำให้พิการ หากใจดี ให้ทาน ก็จะทำให้คนชั่วเหล่านี้ ยังคงทำอาชีพ นี้ต่อไป หากไม่มีใครให้ทาน ก็จะต้องเลิกและหยุด เพราะอาชีพขอทานนั้น บางคนมีรายได้มากจริงๆ หลักล้านต่อปี

คนบางคนก็มีนิสัยใจจีดใจดำมาตั้งแต่เกิด แม้จะเป็นคนในครอบครัวด้วยกันเอง ก็จะไม่ช่วยเหลือ เห็นแก่ตัว เอาตัวเองรอดอยู่คน เดียว พี่น้องกันในแต่ละครอบครัว ย่อมจะต้องมีคนแบบนี้ไม่คนใดก็คนหนึ่ง เป็นเรื่องที่พบเห็นกันได้เป็นปกติ ในวัยเด็กอาจจะไม่มี ปัญหาอะไร แต่เมื่อใดที่พี่น้องแยกกันไปมีครอบครัวของตัวเองแล้ว หรือเริ่มมีอายุมากขึ้น เรื่องใจจีดใจดำ ตัวใครตัวมัน ไม่ช่วยเหลือกัน เป็นเรื่องที่ต้องเตรียมตัวเตรียมใจรับมือ

Sponsored Ads