ความหมาย : สำนวนนี้มักจะใช้พูดเปรียบเทียบคนที่ไม่ได้กระทำความผิดแต่ต้องรับผิดแทนผู้อื่น เหมือน แพะรับบาป ตัวเองไม่ได้ทำแต่ แต่อาจจะพลาดไปอยู่ในเหตุการณ์ หรือบางทีก็ไม่ได้เกี่ยวข้องแต่อย่างใด แต่ถูกปรักปรำ

ตัวอย่าง :

เมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น บางครั้งเจ้าหน้าที่ก็จับคนไม่ได้ทำความผิดมารับโทษ มารับผิดแทนผู้ร้ายตัวจริง กลายแพะรับบาป เพราะอาจจะมีส่วนพัวพันกับเหตุที่เกิดขึ้น หรือเจ้าหน้าที่ต้องรีบปิดคดี ในคุกนั้น มีคนที่ได้ชื่อว่าเป็นแพะอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน

โอกาสที่เราจะกลายเป็น แพะรับบาป ต้องรับผิดแทนคนอื่น ทั้งที่ไม่ได้กระทำความผิดนั้น มีหลายเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น ขณะขับรถ กรณีเกิดอุบัติเหตุ การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ต้องถ่ายวิดีโอเก็บไว้เป็นหลักฐาน เพราะไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือไม่ บ่อยครั้งก็อาจจะโดนกล่าวโทษไว้ก่อน หากไม่มีหลักฐานยืนยันก็อาจจะต้องรับโทษแทนคนอื่น

คนไม่น้อยมีนิสัยชอบโทษคนอื่น และโยนความผิดให้คนอื่น หา แพะรับบาป รับความผิดแทนตัวเอง แม้แต่คนในครอบครัว คนรอบตัว หรือคนไม่รู้จักก็ตาม ดังนั้นเวลาทำอะไร หรือมีใครไหว้วานให้ทำสิ่งใด จึงต้องระวังตัวให้ดี คิดให้รอบคอบ โดยเฉพาะการอยู่ในสังคมรอบข้างที่มีแต่คนมีเล่ห์เหลี่ยม ไม่มีความจริงใจ เรื่องแบบนี้มีโอกาสเกิดขึ้นกับคนเราได้ตลอดเวลาทั้งในที่ทำงาน หรือแม้แต่ที่บ้านก็ตาม

Sponsored Ads