ความหมาย : สำนวนนี้มักจะใช้พูดถึงคนที่ได้ของมีค่าอยู่กับตัว แต่ไม่รู้คุณคู่ ไม่รู้ประโยชน์ เหมือน วานรได้แก้ว ได้ของมีค่าอยู่กับตัว ก็ไม่เก็บให้ดี สุดท้ายก็มักจะทำให้ของมีค่านั้นสูญหายหรือเกิดความเสียหาย
ตัวอย่าง :
คนที่ได้ของมีค่า ไม่ว่าจะเป็น แก้ว แหวน เงินทอง แต่หากไม่รู้ว่าสิ่งนั้นมีค่า ก็เหมือน วานรได้แก้ว ได้มาแล้วก็อาจจะสนใจ แค่ในช่วงแรกหยิบมาดูบ้าง ว่ามันคืออะไร แล้วก็จะไม่สนใจ ทิ้งขว้างไม่ไยดี กว่าจะรู้ว่าสิ่งนั้นมีค่าก็ต่อเมื่อถึงเวลาของมัน ซึ่ง อาจจะสายเกินไปแล้ว เพราะสิ่งของนั้นไม่อยู่แล้ว
สิ่งมีค่าไม่ใช่จะเป็นแก้ว แหวน เงินทองเท่านั้น ความรู้ที่สามารถนำไปทำเงินได้ นั้นมีค่ายิ่งกว่าเงินทอง เพราะเมื่อมีความรู้ก็ จะใช้ได้ไม่หมด มีโอกาสหาเงินได้มากกว่า แต่ความรู้ดีๆ ที่บางคนสอนสั่งเรานั้น หากยังไม่ถึงเวลา คนเราก็มักจะไม่ค่อยสนใจ เหมือน วานรได้แก้ว ได้ของมีค่า แต่ไม่รู้ตัว ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นมีค่าเพียงใด
การให้ของมีค่าแก่ผู้ใด ควรจะอธิบายถึงคุณค่าของสิ่งนั้น หรือวิธีนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ไม่เช่นนั้นก็ไม่ต่างอะไรไปจาก วานรได้แก้ว เหมือนลิงได้ของมีค่า ย่อมจะไม่สินใจไยดี เพราะสิ่งที่ลิงต้องการก็เพียงอาหารเท่านั้น คนเราก็เช่นกัน หากของมี ค่าที่ต้องการนั้น ไม่ใช่เงินหรือสิ่งที่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินได้ ก็จะไม่สนใจไยดี
การให้ของมีค่า ไม่ว่าจะเป็นความรู้ ทรัพย์สิน บ้าน ที่ดิน รถยนต์ หรือแม้แต่จักรยานยนต์ ก็ต้องอธิบายถึงคุณค่า หรือวิธีนำของสิ่งนั้นไปต่อยอดหรือทำให้เกิดราย ได้ เด็กวัยรุ่นบางคนมีมอเตอร์ไซต์คันเดียว เน้นขับรถเที่ยวไปทั่วประเทศ ถ่ายวิดีโอมาลง Youtube ก็ทำเงินจากโฆษณาได้เป็น แสน ซึ่งก็มีเด็กหลายคนที่รบเร้าพ่อแม่ให้ซื้อรถให้ตนเอง ก็คงจะเป็นเรื่องดี หากสอนให้รู้ถึงวิธีใช้ประโยชน์ รู้ถึงคุณค่าของสิ่งนั้น ไม่ทำตัวเหมือน วานรได้แก้ว ได้ของดี แต่ไม่รู้คุณค่า