Sponsored Ads

ความหมาย : สำนวนนี้มักจะใช้พูดถึงนิสัยไม่ดีของคนเราอย่างหนึ่งก็คือ นิสัย เสียน้อยเสียยาก เสียยากเสียง่าย เมื่อมีปัญหาเล็กๆ น้อยๆ เกิดขึ้น เรามักจะไม่หาทางแก้ไข แต่มักจะปล่อยไว้จนบานปลาย กลายเป็นปัญหาใหญ่ มีค่าใช้จ่ายมาก ในการแก้ไข เพราะลุกลามใหญ่โตแล้ว เมื่อนั้นจึงจะยอมแก้ไข ซึ่งมักจะเสียทรัพย์จำนวนมาก เสียเวลามากในการจัดการกับปัญหาที่ได้เกิดขึ้น

ตัวอย่าง :

ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ มักจะทำให้เราต้องตามแก้ปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นกับชีวิตของเรา หรือทรัพย์สินต่างๆ เสียน้อยเสียยาก เสียยากเสียง่าย เมื่อเริ่มเกิดปัญหาเล็กๆ น้อยๆ เราก็มักจะปล่อยผ่านไป ซึ่งหากแก้ไข ก็จะไม่เสียเวลามากนัก แต่หากปล่อยไว้ ก็จะกลายเป็นปัญหาที่ยากจะแก้ไข อย่าง นิสัยไม่ดีบางอย่างของเรา ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ขี้เกียจ หากปล่อยไว้นาน การแก้ไขก็จะทำได้ยากมาก เพราะติดไปแล้ว เรื่องแบบนี้ต้องอาศัยการเอาชนะใจตนเองให้ได้ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ยากที่สุด เพราะเป็นที่ตัวเราเอง ไม่มีใครสามารถช่วยเหลืออะไรได้ ต้องทำเอง

การปล่อยปละละเลยเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ให้ผ่านไป เพราะไม่คิดว่าจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ในภายหลัง จะเข้าทำนอง เสียน้อยเสียยาก เสียยากเสียง่าย อย่างการจอดรถตากแดดตามฝน ย่อมจะสร้างปัญหาเรื่องสีซีด หรือขึ้นสนิม ตามมาด้วยรายจ่ายหลักหมื่นบาท ในการซ่อมสีและตัวถัง ซึ่งหากลงทุนทำทีจอดรถ ก็จะไม่มีปัญหา ที่จอดรถมีหลายแบบ บางแบบก็ลงทุนไม่มาก หลักพันบาทเท่านั้นเอง

เมื่อมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นกับตัวเรา คนรอบตัว หรือทรัพย์สินของเรา แม้จะเป็นปัญหาเล็กๆ น้อย ก็ต้องยอมเสียเวลา จัดการกับปัญหาให้เรียบร้อย เพราะการปล่อยไว้ อาจจะ เสียน้อยเสียยาก เสียยากเสียง่าย หากปัญหานั้นลามใหญ่โต จนยากจะแก้ไข อย่างหลังคารั่ว บางคนก็ละเลย ก็อาจจะสร้างปัญหาอื่นตามมา เช่น ต้องเปลี่ยนทั้งหลังคา ฝ้า และข้าวของซึ่งได้รับความเสียหายจากน้ำฝันที่รั่วเข้ามาในบ้าน