ความหมาย : สำนวนนี้ใช้เปรียบเทียบคนที่ชอบเอา ความลับของคนอื่นไปเปิดเผย เป็นพวก ฆ้องปากแตก รู้เรื่องอะไร ก็ต้องพูด คันปาก ต้องบอกให้คนอื่นรู้ แมืจะเป็นเรื่องลับเฉพาะของ คนอื่นก็ตาม

ตัวอย่าง :

หากมีเรื่องราวใดๆ ที่เป็นความลับ การพูดคุย ปรึกษากับใครก็ตาม จำเป็นจะต้องดูคนฟังให้ดี ว่าเป็นคนประเภท ฆ้องปากแตก เก็บความลับไม่อยู่ ชอบพูด หรืออาจจะเผลอพูดให้คนอื่นรู้ ก็จะทำให้เกิดความเสียหายกับตัวเอง

เมื่อมีความลับ หรือมีเรื่องลับๆ บางคนนั้นถือคติประจำใจว่า จะต้องไม่ให้บุคคลที่ 2 รับรู้อย่างเด็ดขาด เพราะจะมีโอกาสนำความ ลับของตนเองไปเปิดเผย อาการ ฆ้องปากแตก เก็บความลับไม่อยู่ เป็นเรื่องปกติของคนทั่วไป เมื่อได้แอบไปรู้ความลับของใครก็ตาม ก็ มักจะนำไปพูด เพียงแต่การพูดนั้น อาจจะพูดกับคนอื่น ที่ไม่ใช่คนในกลุ่มเดียวกัน ยากจะเจอกัน โอกาสที่จะรู้ว่า ใครเป็นเจ้าของความ ลับนั้น จึงเป็นไปได้ยาก แต่น้อยคนจะเก็บความลับเอาไว้ได้

หากรู้ว่า ตัวเอง เป็นคนประเภท ฆ้องปากแตก เก็บความลับไม่อยู่ ก็อย่าไปรับฟังความลับของใคร เพราะรู้แล้วมักจะเกิดอาการคัน ปาก ทนไม่ได้ ต้องเอาไปเล่าให้คนอื่นฟัง ประเดี๋ยวจะกลายเป็นว่า โดนต่อยปากแตก แทน ฆ้องปากแตก

ฆ้องที่ยังคงมีสภาพดี ปากฆ้องยังดี ไม่แตก เวลาตีฆ้อง เสียงก็จะความไพเราะ ดังกังวาน ต่างฆ้องที่ปากแล้ว เสียงไม่ดี ก็เหมือนคน ปากไม่ดี เก็บความลับไม่อยู่ ไม่ต่างอะไรกับ ฆ้องปากแตก

สำนวน สุภาษิตที่ คล้ายกัน : ปากสว่าง