Sponsored Ads

 

การคำนวณค่าคอมมิสชัน จะเป็นการใช้ เงื่อนไขมาช่วยคิดคำนวณตัวเลข
คุณมีบริษัทขายสินค้าประเภทหนึ่ง มีพนักงานขายทั้งหมด 12 คน แต่ละคนรับผิดชอบในแต่ละ เขต โดยแบ่งเป็น 2 เขต คือ กรุงเทพและต่างจังหวัด ในการจ่ายค่าตอบแทนให้พนักงาน จะจ่ายโดยมีเงื่อน ไขดังนี้
1. จ่ายเงินเดือน ตามอายุงาน ประสบการณ์ ความสามารถ
2. จ่ายเบี้ยเลี้ยง จะพิจารณาดังนี้
-ถ้าเขตที่พนักงานทำงานอยู่ในกรุงเทพจ่ายเดือนละ 2000 บาท
-ถ้าเขตที่พนักงานทำงานอยู่ในต่างจังหวัดจ่ายเดือนละ 3500 บาท
3. จ่ายค่าคอมมิสชั่น จะพิจารณาดังนี้
- ถ้ามียอดขายตั้งแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไป จะให้ค่าคอมฯ 4% ของยอดขาย
- ถ้ามียอดขายตั้งแต่ 700,000 บาทขึ้นไป จะให้ค่าคอมฯ 3% ของยอดขาย
- ถ้ามียอดขายตั้งแต่ 400,000 บาทขึ้นไป จะให้ค่าคอมฯ 2% ของยอดขาย
- ถ้ามียอดขายตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป จะให้ค่าคอมฯ 1% ของยอดขาย
- ถ้ามียอดขายน้อยกว่า 200,000 บาท จะไม่จ่ายค่าคอมฯ

เริ่มต้นคำนวณ
1. อาจแยกเป็นเดือนๆ แล้วค่อยสรุปภายหลัง หรืออาจจะสร้างเป็นไฟล์เทมเพลทก็ได้ โดยให้ช่อง ยอดขายคือเซลล์ E3 - E14 เป็น 0 เพราะยอดขายแต่ละเดือนไม่แน่นอน
2. ให้คุณป้อนข้อมูลตามตัวอย่าง
3. ยกเว้นในเซลล์ D3 - D14, F3 - F14, และ G3 ถึง G14 ห้ามพิมพ์ข้อมูลใดๆ เพราะต้องพิมพ์สูตร

4. การคำนวณหาเบี้ยเลี้ยงที่จะพิมพ์ในเซลล์ D3 จะใช้สูตร If
โครงสร้างของสูตร =if(เงื่อนไขที่หนึ่ง,if(เงื่อนไขที่สอง,.....))
การคำนวณเบี้ยเลี้ยงจะมีอยู่ 2 เงื่อนไขก็คือ
- ถ้าเขตที่พนักงานทำงาน อยู่ในกรุงเทพ (C3=”กทม”) จ่ายเดือนละ 2000 บาท
- ถ้าเขตที่พนักงานทำงาน อยู่ในต่างจังหวัด (C3=”ตจว”) จ่ายเดือนละ 3500 บาท
จากประโยคข้อความ เราจะมาตีความให้เป็นสูตรคำนวณ ก็จะได้ดังนี้
if(C3=”กทม”,2000
if(C3=”ตจว”,3500
5. จากนั้นก็นำสูตรทั้งสองมารวมเข้าด้วยกัน ในแต่ละเงื่อนไขให้คั่นด้วยคอมม่า วงเล็บปิดด้านท้าย ต้องสัมพันธ์กับวงเล็บเปิดด้านหน้า เช่น เปิด 2 ก็ต้องปิด 2 แล้วก็กดEnter เสร็จแล้วก็อปปี้ ไปจนถึงเซลล์ D14 ดังนี้ =if(C3=”กทม”,2000,if(C3=”ตจว”,3500))

6. การคำนวณหาค่าคอมฯในเซลล์ F3 ก็คล้ายๆ กัน ใช้สูตร If
การคำนวณจะมีอยู่ 5 เงื่อนไข
-ถ้ามียอดขายตั้งแต่ 1000000 บาทขึ้นไป (E3>=1000000) จะให้ค่าคอมฯ 4% ของยอดขาย (E3*4%)
-ถ้ามียอดขายตั้งแต่ 700000 บาทขึ้นไป (E3>=700000) จะให้ค่าคอมฯ 3% ของยอดขาย (E3*3%)
-ถ้ามียอดขายตั้งแต่ 400000 บาทขึ้นไป (E3>=400000) จะให้ค่าคอมฯ 2% ของยอดขาย (E3*2%)
-ถ้ามียอดขายตั้งแต่ 200000 บาทขึ้นไป (E3>=200000) จะให้ค่าคอมฯ 1% ของยอดขาย (E3*1%)
-ถ้ามียอดขายน้อยกว่า 200000 บาท (E3<200000) จะไม่จ่ายค่าคอมฯ (E3*0%)
จากประโยคข้อความ เราจะมาตีความให้เป็นสูตรคำนวณ ก็จะได้ดังนี้
if(E3>=1000000,E3*4%
if(E3>=700000,E3*3%
if(E3>=400000,E3*2%
if(E3>=200000,E3*1%
if(E3<200000,E3*0%
จากนั้นก็นำสูตรทั้งหมดมารวมเข้าด้วยกัน ในแต่ละเงื่อนไขให้คั่นด้วยคอมม่า วงเล็บปิดด้านท้าย ต้องสัมพันธ์กับวงเล็บเปิดด้านหน้า เช่น เปิด 5 ก็ต้องปิด 5 แล้วก็กด Enter

เสร็จแล้วก็อปปี้ ไปจนถึงเซลล์ F14
=if(E3>=1000000,E3*4%,if(E3>=700000,E3*3%,if(E3>=400000,E3*2%,if(E3>=200000,
E3*1%,if(E3<200000,E3*0%)))))
7. การคำนวณรวมเงินในเซลล์ G3 เงินเดือน+เบี้ยเลี้ยง+ค่าคอมฯ ใช้สูตร =B3+D3+F3
8. คำนวณยอดรวมทั้งหมดด้านล่างด้วย เพื่อจะได้ทราบว่าในแต่ละเดือนจะจ่ายเงินให้พนักงาน เท่าไรบ้าง เช่น ยอดรวมเงินเดือนทั้งหมด 102,500 บาท เบี้ยเลี้ยง 34,500บาท เป็นต้น
9. ในการแปลงข้อความเป็นสูตรคำนวณ อาจใช้ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นเกณฑ์ก็ได้ โดย จะมีความแตกต่างกันดังนี้
9.1. น้อยกว่า 5000 <5000 (เป็นตัวเลขตั้งแต่ 4999, 4998 ... ลงไป)
9.2. มากกว่า 5000 >5000 (เป็นตัวเลขตั้งแต่ 5001, 5002 .... ขึ้นไป)
9.3. 5000 ขึ้นไป >=5000 (เป็นตัวเลขตั้งแต่ 5000, 5001... ขึ้นไป)
9.4. 5000 ลงไป <=5000 (เป็นตัวเลขตั้งแต่ 5000, 4999... ลงไป)