Sponsored Ads

สำหรับใครที่จะต้องอัดเสียงพูด เสียงบรรยาย หรือ อาจจะไลฟ์สด ถ่ายทอดสด ลงมือถือหรือแท็บเล็ตแอนดรอยด์ ก็สามารถทำได้ง่ายๆ เสียงชัด ด้วยมิกเซอร์จิ๋ว เช่น Yamaha รุ่น M4 แบบ 4 ชาแนล หรือรุ่นอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติคล้ายกัน เหมาะสำหรับงานเล็กๆ เบาๆ ใช้งานนอกสถานที่ได้ เพราะใช้พลังงานจากพาวเวอร์แบงก์ได้

 

รูปแบบการใช้งานนั้น อาจจะเป็นการพูดบรรยาย เล่าเรื่อง หรือจะถ่ายวิดีโอตัวเอง รีวิว พูดเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ โดยจะมีวิธีง่ายๆ คือ มีไมค์จะเป็นไมค์แบบหนีบ หรือ ไมค์คอนเดนเซอร์คุณภาพดี ก็ทำได้ตามสะดวก เพราะแค่ใช้ไมล์หนีบ ราคาถูก เสียงก็ออกมา ใช้ได้เลยทีเดียว
1. วิธีการบันทึกก็ไม่ยาก ต่อไมค์จะเป็นไมค์แบบหนีบก็ได้ เช่น ของ Boya
2. ต่อสายสัญญาณจากช่องบันทึก เส้นสีฟ้า เข้ามือถือ
3. จากนั้นก็เริ่มบันทึกเสียง ด้วยการใช้แอปบันทึกเสียงในมือถือ หรือ ถ่ายวิดีโอ แนะนำให้ใช้แอป Open Camera

 

อุปกรณ์ที่จะต้องใช้

สำหรับใครที่สนใจการบันทึกเสียง หรือ อัดคลิปวิดีโอ ในลักษณะนี้ ก็จะต้องซื้อหาอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้
1. มิกเซอร์ Yamaha M4 ราคาประมาณ 800 บาท รวมค่าสั่ง กรณีซื้อจากอินเตอร์เน็ต เป็นมิกเซอร์แบบ USB เหมาะสำหรับการ ใช้งานแบบพกพา ใช้งานง่าย ใช้พลังงานผ่านพาวเวอร์แบงก์ได้ นากจากยี่ห้อนี้แล้ว ก็ยังมียี่ห้ออื่นอีกหลายรุ่น ซึ่งมิกเซอร์แบบนี้สามารถใช้ในรถยนต์ได้ด้วยเช่นกัน 
2. พาวเวอร์แบงค์ความจุสูงพอสมควร เพื่อการใช้งานนอกสถานที่ เลือกแบบจ่ายไฟได้ 2 ช่องเป็นอย่างน้อย เผื่อเอาไว้จ่ายไฟให้ มิกเซอร์ และ ลำโพงบลูทูธ หรือ อุปกรณ์อื่นๆ
3. ลำโพงแบบ USB ใช้ไฟฟ้าจากพาวเวอร์แบงก์ เอาไว้ฟังเสียง หรือ จะใช้ หูฟัง หรือจะต่อเสียงเข้าเครื่องขยายเสียง ก็ตามสะดวก 
4. ไมค์แบบต่างๆ เช่น ไมค์แบบหนีบ ไมค์คอนเดนเซอร์ ไมค์ลอย ฯลฯ
5. สายสัญญาณเสียงเข้ามือถือ (สีฟ้า) หาได้ตามร้านทุกอย่าง 20 บาท แต่ขาย 30 บาท
6. มือถือ หรือ แท็บเล็ตแอนดรอยด์ หรือมือถือแบบอื่น ตามแต่งบประมาณ มือถือดีๆ คุณภาพเสียงดี การบันทึกเสียงก็จะได้เสียง ที่ดีกว่า จากตัวอย่างเป็น Huawei Mate 9 Pro แม้จะเก่าแล้ว แต่คุณสมบัติการบันทึกเสียงถือว่าดีกว่ามือถือราคา 3000 - 4000 ในปัจจุบัน

 

การเชื่อมต่ออุปกรณ์ทั้งหมด

เมื่อเตรียมอุปกรณ์ทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว ก็นำอุปกรณ์ทั้งหมดมาเชื่อมต่อกันตามนี้
1. เริ่มจากเชื่อมต่อพาวเวอร์แบงก์ หรือ จะใช้ที่ชาร์จมือถือก็ได้ จากตัวอย่างตัวพาวเวอร์แบงก์จะจ่ายไฟให้ทั้งลำโพง USB ด้วย ส่วน อีกช่อง จ่ายไฟให้มิกเซอร์


2. ต่อ USB จากพาวเวอร์แบงก์ จ่ายไฟให้มิกเซอร์


3. ส่วนลำโพง USB ให้นำแจ็คนำเข้าสัญญาณเสียงเสียบกับช่อง Phone


4. ต่อสายสัญญาณเสียง หรือ AV จากช่อง Rec เข้ามือถือ เสียบให้ตรงช่อง สีขาว และ สีแดง


5. ต่อไมค์เข้ากับมิกเซอร์ ที่ช่องแรก ผู้เขียนใช้ไมค์ BOYA By M1 สายยาว 6 เมตร ซึ่งจะมีตัวแปลงจากแจ็ค 3.5 เป็น 6.5 ก็เสียบ ช่องไมค์ได้เลย หากไม่มีตัวแปลง ก็ต้องสั่งซื้อเพิ่ม สำหรับไมค์ของ BOYA รุ่นนี้จะต้องเลื่อนสวิทซ์ไปที่ Off

 

วิธีบันทึกเสียง หรือ ถ่ายคลิปแบบง่ายๆ

การใช้งานมิกเซอร์จิ๋วแบบนี้ เพื่ออัดเสียง หรือ ถ่ายคลิปของตนเอง อาจจะเป็นการสาธิต อธิบาย หรือสอน ถ่ายทอดสด ก็เริ่ม ตามนี้

1. กดปุ่มจ่ายไฟที่ตัวพาวเวอร์แบงก์ เมื่อไฟเข้าแล้ว ที่ตัวมิกเซอร์จะปรากฏไฟสีแดงขึ้นมา จากตัวอย่าง พาวเวอร์แบงก์จะจ่ายไฟ ให้ลำโพง USB และ มิกเซอร์ เราจึงสามารถนำไปใช้งานนอกสถานที่ได้

2. ที่ตัวมือถือ ถ้าต้องการบันทึกเสียงอย่างเดียว ก็แนะนำให้ใช้แอปบันทึกเสียงที่มากับมือถือรุ่นนั้นๆ ก่อน หากไม่เข้าท่า ก็ลอง ดาวน์โหลดแอปอื่นมาใช้ เช่น Recforge แอปนี้อัดเสียงได้ดีมาก ไม่ต้องใช้มิกเซอร์ ก็ได้เสียงคุณภาพดีมากทีเดียว ส่วนใครที่ต้อง การถ่ายคลิปวิดีโอ ให้ติดตั้งแอป Open Camera แทนแอปกล้อง หรือจะลองใช้แอปกล้องของมือถือดูก่อนก็ได้ หากไม่ดีพอ ก็แนะ นำให้ใช้แอปนี้


3. ปรับปุ่มควบคุมไมค์ตามตัวอย่างก่อนก็ได้ เมื่อเข้าใจดีแล้ว ก็ลองปรับเสียงให้ตรงตามต้องการ เริ่มจากปุ่มจ่ายไฟให้ไมค์แบบ 48 โวลล์ สำหรับไมค์บางประเภทอย่างไมค์คอนเดนเซอร์ แต่ตัวอย่างใช้ไมค์ธรรมดาทั่วไป ไมค์หนีบ ก็ไม่ต้องกดปุ่มนี้
4. ปรับความดังของลำโพงไว้ตามผู้เขียนก่อนก็ได้ ตัวแรก Gain ถ้าเสียงแตก ก็หมุนกลับมาทางซ้าย ทวนเข็มนาฬิกา
5. ปรับเสียงสูง เสียงแหลม
6. ปรับเสียงต่ำ เสียงทุ้ม
7. โวลุ่มหลักควบคุมเสียงทั้งแถว
8. กดเปิดใช้งานปุ่ม Effect เสียงดีเลย์ เสียงซ้ำ ช่วยให้เสียงน่าฟังมากขึ้น
9. เมื่อกดปุ่มในข้อที่ 8 ก็มาปรับเอฟเฟ็คเสียงที่โวลุม 2 ตัวนี้อีกที
10. ปรับเสียงของโวลุมหลักของมิกเซอร์
11. ปรับโวลุมของเสียงที่ออกทางลำโพง หรือ หูฟัง
12. จากนั้นก็ลองพูดผ่านไมค์ แล้วปรับเสียงเพิ่มเติม จนกว่าจะได้เสียงที่ต้องการ และหากต้องการทดลองบันทึกเสียงลงมือถือ ใน ขณะที่พูดทดสอบเสียง พร้อมกับปรับโวลุมต่างๆ นั้นก็แตะปุ่มบันทึกเสียง หรือ ถ่ายคลิปวิดีโอในมือถือไปด้วย และหยุด เพื่อลอง ฟังเสียงที่ได้

 

สรุป

การใช้งานมิกเซอร์เล็กๆ แบบนี้ การเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ไม่ยาก แต่จะต้องเรียนรู้การปรับเสียง ให้ตรงตามที่ตัวเองต้องการ และทำเครื่องหมายเอาไว้ อาจจะใช้เทปกาวและที่โวลุม เพื่อจะได้ทำเครื่องหมายไว้ว่าจะต้องปรับไว้ที่ตำแหน่งใด โดยอาจจะใช้การ เทียบกับเข็มนาฬิกา ตัวอย่าง
1. โวลุมตัวนี้ปรับไว้ประมาณ 12:00 นาฬิกา หรือ เที่ยง ดูเข็มที่ตัวโวลุม
2. ส่วนตัวนี้ก็ประมาณ 15:00 นาฬิกา
3. ส่วนวิธีที่ง่ายที่สุด หลังจากปรับเสียงได้ตามต้องการแล้ว ก็แปะกระดาษกาวที่พื้นแล้วขีดทำเครื่องหมายเอาไว้ เพราะหากมีใคร มาปรับเล่น ก็จะเสียเวลาในการปรับแต่งเสียง