เมื่อคิดถึงการทำเว็บไซต์ เชื่อว่าคนส่วนใหญ่จะนึกถึงของฟรีทันที อะไรก็ตามที่เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต ทุกคนคุ้นชินกับของฟรีมานาน ทำให้นึกถึง ของฟรีเป็นลำดับแรกเสมอ แต่การทำเว็บไซต์เพื่อใช้งานจริง โดยเฉพาะการทำเว็บไซต์เพื่อหารายได้จากเน็ตในรูปแบบต่างๆ เช่น ทำเว็บขายของ ทำ เว็บคลิกโฆษณา นายหน้าขายสินค้า ฯลฯ การมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง เป็นเรื่องสำคัญ

ทำความรู้จักเว็บไซต์ฟรี

ของฟรีในเน็ต ซึ่งรวมทั้งการให้บริการเว็บไซต์ฟรี เป็นเรื่องที่ต้องทำความรู้จักและเข้าใจจุดประสงค์ในการให้บริการฟรีกันก่อน จะได้วางแผนใช้ งานได้ถูกต้อง
1. เว็บไซต์ฟรีส่วนใหญ่ให้ใช้เพื่อหวังให้ผู้ใช้บริการต่อยอดไปใช้บริการที่ต้องเสียเงินเสมอ
2. เว็บไซต์ฟรีถูกจำกัดการใช้งานหลายอย่าง หากต้องการใช้แบบเต็มประสิทธิภาพต้องเสียเงินเสมอ
3. เว็บไซต์ฟรีอาจจะถูกลบเมื่อใดก็ได้ มันคงจะไม่ดีนัก หากทำเว็บไซต์ขายสินค้า และได้ใส่ข้อมูลสินค้าเข้าเว็บไซต์เป็นพันรายการแล้วถูกลบ
4. เว็บไซต์ฟรีเมื่อมีคนเข้าใช้งานจำนวนมาก ยิ่งมีรายได้เข้าเว็บด้วยแล้ว ไม่ช้าก็เร็ว จะถูกไล่ให้ไปใช้บริการที่ต้องเสียเงิน
5. ผู้ให้บริการทำเว็บไซต์ฟรีรายใหญ่อย่าง Blogger.com เว็บไซต์ประเภทบล็อก แม้จะให้ฟรี แต่ก็เพื่อผลประโยชน์ที่ซับซ้อนที่จะตามมา
6. เว็บไซต์ฟรีมีไว้ให้ทดลองใช้งาน การใช้อย่างจริงๆ จังๆ อนาคตมีปัญหาตามมาแน่นอน

 

อะไรจะเกิดขึ้นบ้างเมื่อเว็บไซต์ฟรีของเราถูกลบออกไป

หากเป็นการฝึกทำเว็บไซต์ ทำเว็บไซต์เล่นๆ ไม่ได้คิดจริงจังอะไร คนเข้าชมก็ไม่มากนัก ก็คงจะไม่มีปัญหา เว็บจะโดนลบเมื่อไหร่ก็ได้ แต่หากเป็น เว็บไซต์ที่ทำเงิน เจ้าของคงได้ร้องไห้อย่างหนักอย่างแน่นอน
1. เว็บไซต์ของผู้เขียน ไม่ใช่เว็บไซต์ฟรี แต่เป็นเว็บหาเงินกับการคลิกโฆษณา ด้วยปฏิมาณคนเข้าต่อเดือนพอ (Visits) จึงมีรายได้มากพอให้อยู่ได้ โดยไม่ต้องทำงานอื่น แต่ลองนึกภาพว่าหากคุณทำเว็บไซต์ฟรี มีคนเข้าใกล้เคียงกัน มีรายได้ทั้งจากการคลิกโฆษณา หรือการขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ แล้วจู่ๆ เว็บไซต์ฟรีของเราก็ถูกลบ รายรับทั้งหมดก็จะหายไปทันที แต่เว็บไซต์ที่เราจดโดเมนเช่าพื้นที่จะไม่มีปัญหาอะไร เพราะเราเป็นเจ้าของ 100%


2. เช่นเดียวกัน หากเราทำร้านค้า ทำรีสอร์ท ทำหอพัก ฯลฯ ซึ่งมีการนำข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าและบริการของเราไปไว้ในนั้น และเว็บไซต์ของเรา ก็เป็นที่รู้จัก ค้นหาใน Google ก็เจอ แล้วหากจู่ๆ เว็บไซต์ฟรีของเราถูกลบออกไป อะไรจะเกิดขึ้น ข้อมูลหายไม่เท่าไหร่ แต่คนค้นหาใน Google ไม่พบ เป็นเรื่องใหญ่ทันที เพราะกว่าจะทำให้เว็บถูกค้นพบและแสดงผลในหน้าแรกของ Google นั้นไม่ง่ายเลย โอกาสที่จะมีคนหลักแสนเข้าชมเว็บ อาจจะ ไม่มีอีกเลยก็ได้ จากสินค้าที่เคยขายดี ก็จบกัน
3. การเริ่มต้นทำเว็บไซต์ใหม่ หากเว็บไซต์ถูกลบ หรือแบนห้ามใช้ นั่นก็หมายความว่า ต้องนับหนึ่งใหม่ จากผู้เข้าชมวันละหลายพันคน หลายหมื่นคน สร้างรายรับต่อเดือนหลักหมื่นบาท การเริ่มต้นใหม่ คนเข้าไม่กี่คน กว่าจะทำเว็บให้เป็นที่รู้จักมีคนเข้าเท่าเดิมนั้น ไม่ง่ายเลย หากคิดจะทำเว็บอย่าง จริงๆ จังๆ จงหลีกเลี่ยงเว็บฟรี
4. เว็บไซต์ฟรีแม้ไม่ถูกปิด แต่กรณีที่มีคนเข้าชมเว็บไซต์ฟรีของเราจำนวนมาก นั่นหมายถึงโอกาสทำเงินได้มาถึงแล้ว ซึ่งผู้ให้บริการหลายรายไม่ยอม ให้เราทำแบบนั้น ไม่เช่นนั้นก็จะถูกลบ เสียโอกาสมาก

 

ข้อดีของการลงทุนจดโดเมนเช่าพื้นที่ทำเว็บไซต์เป็นของเราเอง

ถ้าคิดจะทำอย่างจริงจัง ถ้าคิดจะทำเว็บไซต์เพื่อหาเงินแล้ว ต้องกล้าลงทุน การจดโดเมนเว็บไซต์และเช่าพื้นที่ทำเว็บไซต์มีรายจ่ายเริ่มต้นปีละ ประมาณ 600 บาท ขึ้นไปเท่านั้นเอง ไม่มากเลย แต่คุ้มเพราะเราเป็นเจ้าของ 100% เราจะสามารถจัดการกับเว็บไซต์ของเราได้อย่างเต็มที่

การจดโดเมนเว็บไซต์ของตนเองนั้นจะมีค่าใช้จ่ายทั้งค่าจดโดเมนเริ่มต้นที่ 289 บาทต่อปี ได้ชื่อเว็บไซต์เป็นของเราเอง มีความน่าเชื่อถือมากกว่า

 


เมื่อมีโดเมนแล้วก็ต้องมีพื้นที่เก็บไฟล์สำหรับเว็บไซต์เพื่อใช้งานคู่กัน ตัวอย่างการเช่าพื้นที่เก็บไฟล์สำหรับเว็บไซต์ เช่น ของ hosttook.com จะมีค่าใช้ จ่ายเริ่มต้นที่ 300 บาทต่อปีเท่านั้นเอง

 

ช่องทางสร้างรายได้หรือหาเงินจากเว็บไซต์มีหลายวิธี การมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง เราจะสามารถฝึกทดลองหาเงินได้ทุกรูปแบบ แต่เว็บไซต์ฟรี หลายเจ้าไม่อนุญาตให้เราทำแบบนั้น

ในอนาคตหากไม่อยากจะทำเว็บต่อไปแล้ว ก็สามารถประกาศขายเลิกกิจการได้ ยังทำเงินได้อีก แต่เว็บไซต์ฟรีจะทำแบบนั้นไม่ได้ เพราะเราไม่ใช่ เจ้าของ

 

บทสรุป

ของฟรีในเน็ตมีมากมาย เรื่องอื่นไม่เท่าไหร่ แต่เรื่องเว็บไซต์ต้องศึกษาให้ดีก่อนใช้บริการ การแยกแยะความสำคัญ ศึกษาข้อดี ข้อเสีย เป็นเรื่อง สำคัญ เพื่อจะได้เลือกใช้บริการให้ตรงวัตถุประสงค์และช่วยป้องกันความเสียหายที่จะตามมา เฉพาะปัจจุบันการทำเว็บไซต์ นั้นเป็นช่องทางสร้างราย ได้อีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งมีโอกาสทำได้ทันทีหากมีคนเข้าชมเว็บไซต์จำนวนมาก

 

บทความเนื้อหาใกล้เคียงกัน :