คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

เป็นหนังสือ บทความ เรื่องน่ารู้ ในหมวดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โปรแกรม คอมพิวเตอร์ การติดตั้งโปรแกรม ความรู้เกี่ยวกับโน้ตบุ๊ค แท็ปเล็ต สมาร์ทโฟน ฯลฯ

 

ทำความรู้จักคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะในเรื่องการ ทำงาน กลายเป็นศาสตร์ที่ต้องเรียนรู้ เพื่อช่วยให้สามารถทำงานต่างๆ ได้สะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา มากกว่าเดิม และนอกจากที่ทำงานแล้ว ที่บ้านคอมพิวเตอร์ก็ได้เป็น ส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยงานส่วนตัว ด้านต่างๆ เช่น ดูหนังฟัง เพลง ใช้อินเตอร์เน็ต ฯลฯ

คอมพิวเตอร์คืออะไร
คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์
“ อุปกรณ์อะไรก็ได้ที่สามารถรับข้อมูลเข้าไปประมวลผล แล้วได้ผลลัพธ์ออกมาตามต้องการ โดยส่วนต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นคอมพิวเตอร์จะต้องประกอบไป ด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ หน่วยรับ ข้อมูล หน่วยความจำ หน่วยประมวลผลกลาง และหน่วยแสดงผลข้อมูล ”

ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
มี 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2. ซอฟท์แวร์ (SoftWare)
3. บุคลากร (Peopleware)

ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
เป็นอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เช่น จอภาพ (Monitor) เมาส์ (Mouse) แป้นพิมพ์ (Keyboard) ซีพียู (CPU) พรินเตอร์ (Printer) สแกนเนอร์ (Scanner) ยูพีเอส (UPS) ซีดีรอมไดรว์ (CD-ROM DRIVE) โมเด็ม (Modem) แผ่นดิสก์ เก็ต (Disket) แรม (Ram) ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) การ์ดเสียง (Sound Card) เป็นต้น

ซอฟท์แวร์ (Software)
เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หรือเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถทำงานต่างๆ ตามที่เราต้องการ ซึ่งอาจแบ่งได้ 2 ประเภท ดัง นี้

1. โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System หรือ OS)
โปรแกรมระบบปฏิบัติการ เป็นโปรแกรมควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ควบคุม การทำงานต่างๆ เช่น การแสดงผลข้อมูล การติดต่อกับผู้ใช้ โดย ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้กับ คอมพิวเตอร์ให้สามารถสื่อสารกันได้ ควบคุมและจัดสรรทรัพยากร ให้กับโปรแกรมต่างๆ โปรแกรม ประเภทนี้มักเรียกกันย่อๆ ว่าโอเอส (OS)


ตัวอย่างโปรแกรมระบบปฏิบัติการ เช่น DOS, Windows 3.1, Windows 95 OEM, Windows 95 OSR, Windows 98, Windows ME, Windows NT, Windows 2000, Windows XP, Linux, Unix เป็นต้น

2. โปรแกรมประยุกต์ (Applications)
โปรแกรมประยุกต์ เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาใช้งานเฉพาะทาง เช่น ใช้พิมพ์เอกสาร วาดภาพ ติดต่อสื่อสาร คำนวณ ฯลฯ โปรแกรมประเภทนี้มีให้เลือกใช้มาก มายเป็นหมื่นๆ โปรแกรม ผู้ใช้สามารถ สร้างขึ้นเองได้ เพื่อให้ตรงกับงานที่ทำมากที่สุด


ตัวอย่างโปรแกรมประยุกต์ เช่น Microsoft Office, PageMaker, Photoshop, Cute FTP, WinAmp, Netscape, Internet Explorer ฯลฯ

บุคลากร (Peopleware)
เป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เช่น คนใช้ คนขาย คนสอน คนซื้อ คนสร้าง โปรแกรม คนผลิต โดยสรุปแล้วก็คือ บุคคลทุกคนที่ได้เข้ามาเกี่ยวข้อง กับคอมพิวเตอร์นั่นเอง


ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์จะแบ่งเป็น 4 ส่วนด้วยกัน
1. ส่วนรับข้อมูล (Input)
ทำหน้าที่รับข้อมูลโดยอาจรับข้อมูลจากแป้นพิมพ์ เมาส์ หรือเครื่องแสกนเนอร์ หน้าจอ แบบสัมผัส


2. ส่วนประมวลผล (CPU:Central Processing Unit)
เมื่อรับข้อมูลเข้ามาแล้ว ส่วน CPU จะทำหน้าที่เป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ในการคิดคำนวณ หรือประมวลผลเพื่อทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ


3. ส่วนหน่วยความจำ (Memory)
ในการคิดคำนวณของ CPU นั้น จะไปกระทำที่หน่วยความจำของเครื่อง


4. ส่วนแสดงผล (Output)
เมื่อคิดคำนวณได้ผลลัพธ์ออกมาแล้วก็จะส่งผลมาแสดงที่ส่วนแสดงผล เช่น แสดงทางจอภาพ เครื่องพิมพ์หรือส่งไปทางโมเด็ม


เมนบอร์ด (Main board) เมนบอร์ดหรือมาเธอร์บอร์ด หากเปิดฝาเคสออกก็จะพบแผงวรจร ขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกว่าเมนบอร์ด เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ เป็นแผงวงจร หลักในระบบคอมพิวเตอร์
สำหรับเมนบอร์ดแบบ AT ซึ่งเป็นเมนบอร์ดที่แทบจะไม่ใช้กันแล้ว ก็จะไม่อธิบายรายละเอียด อะไรมาก จะเน้นเพียงเมนบอร์ดแบบ ATX โดยแบ่งเป็น 2 พวกใหญ่ๆ ตามชนิดของซีพียูที่ใช้กัน อยู่ในปัจจุบัน

 

เมนบอร์ดแบบ Socket 7 และ Slot I รุ่นเก่า ที่อาจไม่ใช้กันแล้วหรือใช้กันน้อยมาก

เมนบอร์ดสำหรับซีพียูของอินเทลและไซริกซ์
ในปัจจุบันจะมีอยู่ 3 แบบ คือ เมนบอร์ดซ็อกเกต 370, 423 และ 478
1. เมนบอร์ดซ็อกเกต 370
เป็นเมนบอร์ดสำหรับอินเทลเซเลอรอนและเพนเทียมทรี (Celeron และ Pentium III) และซีพียู ของไซริกซ์บางรุ่นคือ Via Cyrix III

 

2. เมนบอร์ด Secket 423
เป็นเมนบอร์ดสำหรับซีพียูอินเทลเพนเทียม (Pentium 4) ลักษณะโดยรวมของเมนบอร์ดรุ่นนี้ ก็คล้ายๆ กับ Socket 370 ที่แตกต่างกันก็มีตำแหน่งซ็อกเก ตสำหรับติดตั้งซีพียู ที่ตัวซ็อกเก็ตจะพิมพ์ ข้อความ 423 Pin Socket และแรมซึ่งจะใช้แรมแบบ RDRAM ราคาแพงกว่า SDRAM ที่ใช้ใน เมนบอร์ด Socket 370 และ ใช้ระบบบัสได้ถึง 400 MHz ในขณะที่ 370 ใช้ได้เพียง 133 MHz
แต่ในปัจจุบันก็ได้มีการออกแบบเมนบอร์ดสำหรับเพนเทียมโฟร์ที่สามารถใช้กับ แรมแบบ DDR SDRAM ได้ ซึ่งก็ช่วยให้เครื่องมีราคาถูกลง

3. เมนบอร์ด Secket 478
เป็นเมนบอร์ดสำหรับ Pentium 4 ลักษณะของซ็อกเกตจะมีขนาดเล็กกว่าซ็อกเกต 423 ส่วน ลักษณะโดยรวมๆ อื่นๆ ก็คล้ายกัน และที่ตัวซ็อกเก็ตจะพิมพ์ข้อความ mPGA478B ลักษณะ ของเมนบอร์ดบางแบบจะมีขนาดเล็ก เพื่อใช้กับเคสที่มีขนาดเล็ก แต่ประสิทธิภาพโดยรวมก็ไม่ต่างกัน

 

เมนบอร์ดสำหรับซีพียูของอินเทลมีให้เลือกหลายแบบ การเลือกใช้ต้องเลือกซื้อเมนบอร์ด ให้ตรงกับรุ่นของซีพียู โดยเฉพาะเพนเทียมโฟร์ที่มีทั้งซ็อกเกต 423 และ 478

เมนบอร์ดสำหรับซีพียูของเอเอ็มดี
1. เมนบอร์ดแบบ Socket A
เมนบอร์ดแบบ Socket A เป็นเมนบอร์ดสำหรับ CPU ของ AMD คือ Duron, Thunderbird และ Athlon XP ส่วนที่แตกต่างกันของเมนบอร์ดเหล่านี้กับเมนบอร์ดคู่แข่ง หรือ Socket 370 สำหรับ ซีพียูของอินเทล ก็คือตำแหน่งสำหรับติดตั้ง CPU จะพิมพ์ข้อความว่า SOCKET462 และระบบความ เร็ว Bus ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น ตำแหน่งติดตั้งแรมจะใช้แรมแบบ SDRAM และ DDR SDRAM เลือกซื้อเลือกใช้ได้ง่ายกว่าของอินเทลเพราะมีแบบเดียวคือซ็อกเกตเอ (Socket A) หรือ Socket462

 

รายละเอียดต่างๆ บนเมนบอร์ดที่ต้องใส่ใจเมื่อจะเลือกซื้อเมนบอร์ด
1. ซ็อกเกตเป็นแบบใด 370, 423, 478 หรือ 462 (Socket A)
2. ระบบบัสบนเมนบอร์ดรองรับที่ความเร็วเท่าไร 66, 100, 133, 200, 266 หรือ 400 MHz (บนเมนบอร์ดจะมีทางเดินข้อมูล เรียกว่าบัส การรองรับที่ความ เร็วเท่าไร ก็หมายความว่าสามารถรับส่ง ข้อมูลให้วิ่งไปบนทางเดินข้อมูลเหล่านั้นได้ด้วยความเร็วเท่าไร)
3. รายละเอียดอื่นๆ เช่น
- ATX เป็นเมนบอร์ดแบบ ATX
- AGP 4x/AGP Pro รองรับการ์ดจอความเร็วเท่าไร เพื่อจะได้เลือกซื้อการ์ดจอ ได้ตรงกับ ความเร็วที่รองรับบนเมนบอร์ด
- 2 DIMM 168 pin SDRAM ใช้กับแรมแบบ SDRAM ได้ 2 ตัว
- 2 DIMM DDR มีตำแหน่งหรือซ็อกเกตให้เสียบแรมแบบ DDR SDRAM 2 ช่อง
- 2 RIMM 2 DIMM ใช้แรมได้ 2 แบบ คือแบบ RDRAM 2 ช่อง หรือ SDRAM 2 ช่อง โดยเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง
- UDMA 66/100/133 รองรับฮาร์ดดิสก์ที่มีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 66 / 100 หรือ 133 MHz

ตัวอย่างรายละเอียดในคู่มือเมนบอร์ด
Summary Of Features
Form Factor
30.5 cm x 18.0 cm ATX size form factor, 4 layers PCB.

CPU
Socket 370 Processor
Supports all new Pentium III processors
Intel Pentium III 100/133 MHz FSB, FC-PGA
Intel Celeron 66 MHz FSB, FC-PGA/PPGA
VIA Cyrix III 100/133 MHz FSB, PPGA

Chipset
VT82C694T (VIA Apollo Pro 133T
VT82C686B

Clock Generator
ICS 9248DF-39
66/100/133 MHz system bus speeds (PCI 133 MHz)
75/83/112/124/140/150 MHz system bus speeds (PCI 44 MHz)

Memory
3 168 pin DIMM sockets.
Supports PC-100 / PC-133 SDRAM and VCM SDRAM
Supports up to 1.5 Gb DRAM
Supports only 3.3 v SDRAM DIMM
Supports 72 bit ECC type DRAM integrity mode.
I/O Control
VT82C686B
Slots
1 AGP slot supports 4X mode & AGP 2.0 compliant
5 PCI slot supports 33 MHz & PCI 2.2 compliant
1 AMR (Audio Modem Reser) Slot
1 16-bit ISA Bus slots

On-Board IDE
2 IDE bus master (UDMA 33/ ATA 66/ ATA 100) IDE & supports PIO mode 3, 4 (DMA 33/ ATA66) IDE & ATAPI CD-ROM

On-Board Peripherals
1 floppy port supports 2 FDD with 360K, 720K, 1.2M, 1.44M
1 parallel port supports SPP/EPP/ECP mode
2 serial ports (COM A & COM B)
2 USB ports
1 IrDA connector for Fast IrDA

Hardware Monitor
CPU / System fan revolution detect
CPU / System temperature detect
System voltage detect (Vcore, Vcc3, Vcc, +12V
ACPI Shutdown temperature

PS/2 Connector
PS/2 Keyboard interface and PS/2 Mouse interface

BIOS
Lisecsed AMI BIOS, 2M bit flash ROM

Additional Features
Support Wake-On-LAN (WOL)
Support Internal / External Modem Ring On.
Includes 3 fan power connectors. (PWR-FAN Optional)
Poly fuse for keyboard over-current protection

ความหมายจากข้อความบรรยายคุณลักษณะของเมนบอร์ด
Form Factor
เป็นลักษณะของเมนบอร์ด ซึ่งจะเป็นแบบ ATX ใช้การผลิตแบบ 4 เลเยอร์ PCB ก็แสดงว่า ต้องหาซื้อเคสแบบ ATX มาใช้กับเมนบอร์ดรุ่นนี้

CPU : Latest Processor Support
เมนบอร์ดรุ่นนี้รองรับซีพียู Socket 370 รุ่น Pentium III และ Celeron ระบบบัสหรือ FSB รองรับที่ 66/100/133 MHz

Memory : PC133 SDRAM
ส่วนแรมรองรับ 3 168 pin DIMM ติดตั้งแรมแบบ SDRAM PC 100/133 MHz ได้ 3 ช่อง และรองรับเฉพาะแรมแบบ SDRAM ที่ใช้ไฟ 3.3 v. (SDRAM แบบเก่า จะใช้ไฟ 5.0 v. ต้องสอบถาม ทางร้านด้วย แต่ส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะเป็นแรมที่ใช้ไฟล์ 3.3 v.) ใส่แรมได้สูงสุดที่ 1.5 Gb

Slots
เป็นตำแหน่งสำหรับต่อการ์ดขยายต่างๆ เช่น การ์ดเสียง การ์ดเน็ตเวิร์ค โมเด็ม ฯลฯ แบบ AGP จะมีสล็อตเดียว รองรับการ์ดจอ ที่ความเร็ว 4x (บางรุ่นรองรับ AGP Pro ซึ่งมีความเร็วสูงกว่า) ส่วนสล็อตแบบ PCI มีอยู่ 5 ช่อง ก็มากพอที่จะเสียบการ์ดต่างๆ

On Board IDE
มีพอร์ต IDE 2 ช่อง แต่ละช่องต่อสายแพร์ได้ 1 เส้นๆ หนึ่งรองรับฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัว ช่องละ สองตัว โดยมีอัตราการรับส่งข้อมูลที่ 33/66/100 MHz จะให้ดีก็ เลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ที่สามารถรับส่งข้อมูล ได้ที่ 100 MHz มาใช้กับเมนบอร์ดนี้เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งานที่ดีกว่า

On Board Peripherals
เป็นตำแหน่งสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เช่น โมเด็ม เมาส์ เครื่องพิมพ์ USB ฟล็อปปี้ดิสด์ และอินฟราเรดพอร์ต

PS/2 Connector
รองรับคีย์บอร์ดและเมาส์แบบ PS/2 อย่างละช่อง



CPU (Central Processing Unit) หรืออาจเรียกอีกชื่อว่า ไมโครโปรเซสเซอร์ เปรียบได้กับ สมองของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่คิด คำนวณและทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ การเรียกคอมพิวเตอร์ อีกแบบหนึ่ง นอกจากยี่ห้อแล้วก็นิยมเรียกตามความเร็วของซีพียู


การเลือกใช้ซีพียูที่ความเร็วเท่าไรนั้นให้พิจารณางานที่ทำอยู่ หากเป็นการใช้งานทั่วๆ ไปใน สำนักงาน ใช้อินเตอร์เน็ตเลือกประมาณ เพนเทียม 200 MHz ขึ้นไป ก็ ใช้งานได้สบาย และในปัจจุบัน เครื่องใหม่ๆ จะมีความเร็วตั้งแต่ 700 MHz ขึ้นไป จึงไม่ต้องกลัวเรื่องตกรุ่น หากใช้งานโปรแกรม ประเภทกราฟิค 3 มิติ ออกแบบ เล่นเกม ประเภทนี้เครื่องต้องแรง แบบนี้ต้องเลือกซีพียูความเร็ว สูง แต่ถ้าเป็นการใช้งานทั่วๆ ไป ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องนี้มากนัก ผู้เขียนเองยังใช้เครื่องกระจอกๆ 486DX-100, Pentium 150, Pentium 200 มีดีหน่อยก็ Pentium II 450 MHz เมื่อเทียบกับเครื่องที่ขายกัน อยู่ในตอนนี้ ความเร็ว ความแรง คนละเรื่องกันเลย แต่ก็ไม่มีปัญหาอะไร ใช้อินเตอร์เน็ต พิมพ์งาน ตกแต่งภาพ ดูหนังฟังเพลงได้สบาย ใช้มาตั้งแต่ปี 41 ก็ดูเหมือนจะใช้ไปได้เรื่อยๆ จนกว่าจะพังกันไปข้าง ใคร่แนะนำ ว่า ระหว่างที่เขาอยู่กับเรา ก็จงใช้ให้คุ้มกับความสามารถเครื่องที่มีอยู่ น่าจะดีกว่านะ


นอกจากซีพียูที่ผลิตโดยอินเทลแล้วก็มีของ AMD เช่น K5, K6, K6-II, K6-III, K7,Duron, Thunderbird และ Athlon XP และ ซีพียูของ VIA Cyrix/IBM เช่น 6x86L, 6x86MX, MII-300/333, MIII-533/550/600 และ VIA Cyrix III


ซีพียูมีอยู่หลายชนิดหลายบริษัท ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะซีพียูที่มีจำหน่ายในท้องตลาดที่นิยม ใช้กันมากๆ ในบ้านเรา โดยจะแยกเป็น 2 ค่ายใหญ่ๆ คือ อินเทล (Intel) และเอเอ็มดี (AMD) เหมือนกับ การแยกชนิดของเมนบอร์ด

ซีพียูของอินเทล
จะแบ่งเป็น 3 แบบตามชนิดของเมนบอร์ดดังนี้
1. ซีพียูที่มีอินเตอร์เฟสหรือลักษณะการติดตั้งแบบ FC-PGA 370
สำหรับเมนบอร์ดแบบ Socket 370 ซีพียูในกลุ่มนี้จะเป็นเซเลอรอนและเพน เทียมทรี (Celeron & Pentium III)


2. ซีพียูที่มีอินเตอร์เฟสหรือลักษณะการติดตั้งแบบ FC-PGA 423
สำหรับเมนบอร์ดแบบ Socket 423 ซีพียูในกลุ่มนี้จะเป็นเพนเทียมโพร์


3. ซีพียูที่มีอินเตอร์เฟสหรือลักษณะการติดตั้งแบบ FC-PGA2 478
สำหรับเมนบอร์ดแบบ Socket 478 ซีพียู่ในกลุ่มนี้จะเป็นเพนเทียมโฟร์เหมือนกัน

 

ซีพียูของเอเอ็มดี
เป็นซีพียูของเอเอ็มดี ในปัจจุบันที่มีวางขายอยู่จะเป็นซีพียูที่มีอินเตอร์เฟสหรือลักษณะการ ติดตั้งแบบ Socket A ทั้งหมด จะมีรุ่นต่างๆ เช่น Duron, Athlon Thunderbird และ Athlon XP

 

ส่วนประกอบต่างๆ ของซีพียู
ซีพียูแต่ละแบบจะมีส่วนประกอบต่างๆ คล้ายๆ กัน
1. จำนวนขาหรือพินจะมีตำแหน่งที่บ่งบอกว่าขาที่ 1 อยู่ด้านใด ซึ่งจะสัมพันธ์กับตัวซ็อกเกต ที่เมนบอร์ด การติดตั้งก็เพียงแต่วางซีพียูลงไปบนซ็อกเกตให้ตำแหน่ง ขาที่ 1 ตรงกัน


2. ตำแหน่งติดตั้งพัดลมระบายความร้อน (Heating) ต้องใส่ใจพอสมควร โดยเฉพาะซีพียู ของเอเอ็มดี จะมีความร้อนสูงกว่าของอินเทล จึงต้องเลือกพัดลมที่มี คุณภาพพอสมควร พัดลมดีๆ สักตัวแพงพอๆ กับซีพียูเลยทีเดียว แต่ถ้าเป็นซีพียูรุ่นเก่าโดยเฉพาะของ อินเทลจะมีพัดลมติดมาพร้อม กับซีพียูด้วย ไม่ต้องซื้อเพิ่ม เหมือนของเอเอ็มดี


3. สายไฟพัดลมซีพียู เมื่อติดตั้งพัดลมก็จะมีสายไฟต่อไฟเข้าพัดลม ให้นำสายไฟไปต่อที่ ตำแหน่ง CPU FAN บนเมนบอร์ด


ตำแหน่งซ็อกเก็ตสำหรับติดตั้งซีพียูบนเมนบอร์ดแต่ละแบบ จะมีลักษณะเฉพาะสำหรับซีพียู แต่ละรุ่น จึงไม่ใช่เรื่องยากเลยกับการติดตั้งซีพียูลงบนซ็อกเก็ต เพราะ ถ้าผิดตัวผิดทางก็ไส่ไม่ได้อยู่แล้ว

 

การเลือกซื้อซีพียู
การเลือกซื้อซีพียู ในบ้านเราส่วนใหญ่จะเลือกซีพียูของอินเทลมากกว่าของ AMD ที่เป็นคู่แข่ง แม้ราคาจะถูกกว่าและประสิทธิภาพ ก็ไม่ได้ด้อยกว่า โดยเฉพาะ Athlon XP หากเทียบประสิทธิภาพ การทำงานกับ Pentium 4 แล้วหลายๆ ด้านดีกว่ามาก คุ้มค่าเงินมากว่า แต่ซีพียูของเจ้านี้จะมีปัญหา ก็เรื่องความร้อน ราคาซีพียูไม่แพง แต่ต้องเลือกซื้อพัดลมระบายความร้อนดีๆ มาติดให้กับซีพียู ก็หายห่วง


หากมองในข้อดีแล้วซีพียูของ AMD จะได้เปรียบในเรื่องการอัพเกรด ค่าใช้จ่ายน้อยกว่า เพราะ มีซ็อกเก็ตแบบเดียวคือ Socket A ใช้กับซีพียูได้ทุกรุ่น อัพเกรดโดย เปลี่ยนเฉพาะซีพียูเท่านั้น ในขณะ ที่ซีพียูของอินเทลค่อนข้างหลากหลาย เมนบอร์ดและอุปกรณ์อื่นๆ ก็หลากหลายตามไปด้วย อัพเกรด แต่ละทีค่าใช้จ่ายสูงกว่า เพราะต้องเปลี่ยนอุปกรณ์หลายตัว แต่ข้อดีของซีพียูค่านี้ก็คือ เรื่องความร้อน น้อยกว่า และเมื่อความร้อนน้อย ความเสถียรในการทำงานก็จะมีมากกว่า

สรุปหากมองในแง่ความคุ้มค่าเงินแล้ว เลือกซีพียูของ AMD น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับ ผู้ที่มีงบน้อย แต่ต้องการซีพียูประสิทธิภาพคุ้มค่า