คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

เป็นหนังสือ บทความ เรื่องน่ารู้ ในหมวดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โปรแกรม คอมพิวเตอร์ การติดตั้งโปรแกรม ความรู้เกี่ยวกับโน้ตบุ๊ค แท็ปเล็ต สมาร์ทโฟน ฯลฯ

 


ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์เป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านข้อมูลในแผ่นดิสก์เก็ต (ปัจจุบันปี 2012 ไม่ใช้กันแล้ว) มีให้เลือก 2 ขนาด คือขนาด 3.5" นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน และ 5.25" ไม่นิยมใช้กันแล้ว กลายเป็นของเก่าเก็บเข้ากรุ นอกจากนี้ ก็ยังมีฟล็อปปี้ดิสก์แบบ External FDD สำหรับอ่านและบันทึกข้อมูลลงในแผ่นดิสก์ ประเภทติดตั้ง ภายนอก เพื่อความสะดวกในการพกพา ส่วนมากจะใช้กับคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊ค



ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ขนาด 5.25”, 3.5” และฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์แบบติดตั้งภายนอก สำหรับเครื่อง โน้ตบุ๊ค

 

ส่วนประกอบของฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์
สำหรับส่วนประกอบต่างๆ จะขอกล่าวถึงเพียงฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ขนาด 3.5" ที่ใช้กันอยู่ใน ปัจจุบันเท่านั้น ซึ่งมีส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้
1. ช่องใส่แผ่นดิสก์และปุ่มกดเพื่อดันแผ่นดิสก์ออก
2. ตำแหน่งสำหรับต่อสายแพร์ส่งข้อมูล ให้ตรวจดูว่าขาที่ 1 อยู่ด้านใด
3. ตำแหน่งสำหรับต่อไฟเข้าฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์

 



เคส เคสก็เปรียบได้กับตัวถังรถยนต์ที่ทำหน้าที่หุ้มห่อชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์ มีลักษณะ เป็นกล่องโลหะสี่เหลี่ยมทำหน้าที่หุ้มห่อชิ้นส่วนต่างๆ ของ คอมพิวเตอร์ เคสมีหลายแบบ เช่น แบบนอนหรือ Desktop เคสแบบตั้งหรือ Tower ซึ่งเคสแบบนี้ยังแยกย่อยไปอีก เช่น แบบ Mini Tower (แบบมินิ) Medium Tower (แบบมิเดี้ยม) หากจะเลือกซื้อแนะนำให้เลือกแบบ Tower ขนาด อย่างน้อย ต้อง Medium ซึ่งเป็นเคสขนาดกลางๆ รองรับการต่อเติมอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างเพียงพอ อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ถูกติดตั้งใกล้ชิดกันมากเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อน เพราะการระบายอากาศไม่ดี


เคสแต่ละแบบจะมีพาวเวอร์ซัพพลายในตัวซึ่งมีกำลังไฟแตกต่างกัน เช่น 200 W, 230 W หรือ 250 W หากเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้มีอุปกรณ์ไม่มาก เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ อย่างละตัว การ์ดจอ การ์ดเสียง ก็เลือกพาวเวอร์ซัพพลาย 230 W เป็นอย่างน้อย กำลังไฟฟ้าไม่พอ จะมีผลทำให้ฮาร์ดดิสก์เสีย ได้เหมือนกัน แต่การเลือกใช้พาวเวอร์ซัพพลายที่มีวัตต์สูงๆ ก็กินไฟมากกว่า จึงต้องพิจารณาให้ดีก่อนเลือกซื้อ
เคสบางแบบก็ถูกออกแบบมาเพื่อซีพียูบางรุ่นโดยเฉพาะ เช่นซีพียูเพนเทียมโฟร์ ไม่เช่นนั้น จะจ่ายไฟไม่พอ อาจทำให้ซีพียูเสียหายได้


ในปัจจุบันได้มีการออกแบบเคสแบบใหม่เรียกว่า ATX เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องบางอย่างของเคส และเมนบอร์ดแบบเก่าหรือแบบ AT ปัจจุบันก็มีผู้นิยมใช้เคสแบบนี้กัน มาก เริ่มมีการนำมาใช้กับ คอมพิวเตอร์เพนเทียมรุ่นหลังๆ ประมาณเพนเทียม 166 ขึ้นไป จนมาถึงปัจจุบัน ในขณะที่แบบ AT มีใช้กันมาตั้งนานนม ปัจจุบันก็ยังใช้ กันอยู่ ราคาถูกกว่าเคสแบบ ATX โดยสรุปก็คือ เราอาจแบ่ง ประเภทของเคสได้เป็น 2 แบบ ATX และ AT ข้อแตกต่างของเคสที่สังเกตง่ายก็คือ ด้านหลังเคส และสาย ต่อไฟเข้า เมนบอร์ดไม่เหมือนกัน เคสแบบ ATX ที่ด้านหลังพอร์ตต่างๆ เช่น พอร์ตเครื่องพิมพ์ เมาส์ Com1 หรือ Com2 จะอยู่ตำแหน่งติดๆ กัน พอร์ตต่างๆ จะอยู่ ในแนวตั้งและมีตำแหน่งเฉพาะ ไม่สามารถถอดเปลี่ยนตำแหน่งได้ แต่เคสแบบ AT ตำแหน่งของพอร์ดเหล่านี้จะอยู่ในแนวนอนและ ขึ้นอยู่กับผู้ติดตั้งว่าจะติดตั้ง ตำแหน่งใด



ส่วนประกอบของเคส
สำหรับเคสโดยปกติที่ซื้อมาใหม่หรือไม่ถูกถอดเปลี่ยนชิ้นส่วนใดๆ ก็จะมีส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้
1. พาวเวอร์ซัพพลายหรือตัวจ่ายไฟ จะถูกติดตั้งมาพร้อมกับเคส
2. สายสัญญาณ Reset, Hdd Led, Power Switch, Power Led และ Speaker
3. น็อตและหมุดพลาสติกสำหรับยึดเมนบอร์ดเข้ากับเคส
4. สายไฟพาวเวอร์ สำหรับต่อไฟเข้าเมนบอร์ดต่อไฟฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรว์ ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ เป็นต้น

 

 


คีย์บอร์ดเป็นอุปกรณ์รับข้อมูลหรือเป็นส่วน Input เพื่อนำไปประมวลผล คีย์บอร์ดมีหลาย แบบ เช่น แบบมีปุ่มควบคุมการเล่นเพลง ซึ่งเรียกว่าคีย์บอร์ดแบบมัลติมิ เดีย คีย์บอร์ดแบบไร้สาย สื่อสารข้อมูลผ่านพอร์ตอินฟราเรด เป็นต้น


เมาส์เป็นอุปกรณ์ใช้เลือกและป้อนคำสั่งเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ โดยปกติเมาส์จะมีสามปุ่ม แต่บางรุ่นอาจจะมีสองปุ่ม ปุ่มซ้าย เป็นปุ่มที่ใช้งานโดยปกติ ปุ่มขวา ใช้เรียกคำสั่งลัดหรือคำสั่ง ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานตรงส่วนนั้นๆ ส่วนปุ่มตรงกลางไม่มีหน้าที่อะไร แต่ก็ขึ้นอยู่กับโปรแกรมบาง โปรแกรมอาจกำหนดให้สามารถใช้ ปุ่มกลางทำบางสิ่งบางอย่างได้ ทั้งนี้ตรงกลางเมาส์บางแบบ ทำเป็น ล้อเลื่อน สำหรับดูข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต สามารถเลื่อนที่ล้อเลื่อนเพื่อดูหน้าต่างๆ ได้



ประเภทของเมาส์
เมาส์มีหลายแบบ ซึ่งอาจแบ่งประเภทของเมาส์ได้ ดังนี้
1. Serial Mouse เป็นเมาส์แบบดั้งเดิมหรือแบบเก่าหรือเรียกว่าหัวเหลี่ยม เชื่อมต่อกับ พอร์ต Com1 หรือ Com2


2. PS/2 Mouse เป็นเมาส์แบบใหม่ที่ได้มีการพัฒนาขึ้นมา หัวต่อจะมีขนาดเล็กกว่าแบบ แรก ข้อดีของการใช้เมาส์แบบนี้ก็คือ จะเหลือพอร์ต Com1 และ Com2 ไว้ใช้งานอย่างอื่น เช่น ต่อโมเด็มหรือปาล์ม


3. Trackball เป็นเมาส์อีกแบบหนึ่งคล้ายๆ กับการจับเมาส์หงายขึ้นแล้วใช้มือหมุนลูกกลิ้ง แทน โดยส่วนมากจะใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ Notebook


4. Infrarate Mouse คล้ายๆ กับรีโมตคอนโทรลที่ควบคุมการทำงานของทีวี จะไม่มีสายเชื่อมต่อระหว่างเมาส์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่จะใช้แสงอินฟราเรดใน การรับส่งสัญญาณ แทน เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นวิทยากร หรืออาจารย์สอนคอมพิวเตอร์ หรือการนำเสนอข้อมูลใดๆ ด้วย คอมพิวเตอร์ เพราะคุณสามารถเลื่อนตัวชี้ ของเมาส์เพื่อควบคุมการนำเสนอได้ค่อนข้างสะดวก ไม่ต้องยืน ควบคุมเมาส์ที่โต๊ะอย่างเดียว

 

การเลือกซื้อเมาส์
การเลือกซื้อเมาส์ราคาประมาณ 200 บาทขึ้นไป เลือกที่มียี่ห้อสักหน่อย ใช้กันจนลืมไปเลย ทีเดียว เมาส์จะมีอายุการใช้งานก็ต้องดูแลรักษา เรื่องฝุ่นอย่าให้เข้าใกล้ คลุมทุกครั้งหลังเลิกใช้งาน หมั่นเช็ดฝุ่นที่แกนหมุน จะช่วยให้การเลื่อนเมาส์ลื่นไหลไม่ติดขัด
การเลือกซื้อ ก็ลองกดปุ่มหรือลองคลิก นิ่มนวลหรือไม่ เสียงไม่ดัง จับกระชับมือ เลือกแบบ มีล้อตรงกลางก็ยิ่งดี ไว้เลื่อนหน้า เวลาท่องเว็บ หรือใช้งานโปรแกรมพิมพ์ เอกสารจะสะดวกมาก