เมื่อหนังสือเริ่มวางแผงแล้วก็คอยๆ อย่างเดียว ว่างๆ ไปเดินร้านหนังสือมีหนังสือของเราติดอันดับ ท็อปเท็นกับชาวบ้าน เขาบ้าง หรือไม่ ถ้าช่วงแรกๆ เริ่มมีก็สบายใจได้เลย ยังไงก็ไม่ขาดทุนและถ้ายังติดตลาด ต่อไปเรื่อยๆ เตรียมปิดเกาะช้างฉลองได้เลย
ปล่อยให้ผ่านไปสักเดือนสองเดือน ก็ขอเช็คยอดสักทีหนึ่ง โทรแจ้งกับตัวแทนจัดจำหน่าย เพื่อขอ เช็คยอดขาย
แต่ละเดือนก็ผ่านไปอย่างสบายๆ เดือนหนึ่งไปเก็บเช็คครั้งหนึ่ง เวลาที่เหลือก็ ศึกษาค้นคว้าเขียน เรื่องใหม่หรือทำงานประจำ ไปตามปกติ
เมื่อขายไปสักระยะหนังสือหมดสต๊อก ทางตัวแทนจัดจำหน่ายจะโทรแจ้งให้ทราบ เราก็เพียง แต่ติดต่อไปยังโรงพิมพ์ โอนเงิน ค่าพิมพ์เข้าบัญชีโรงพิมพ์ นัดวันเวลาว่าพิมพ์เสร็จเมื่อไหร่ สามารถ ส่งให้ตัวแทนจัดจำหน่ายได้วันไหน
สำหรับนักเขียนท่านใดที่ทุนน้อยไม่อยากยุ่งยาก เพราะการจัดรูปเล่ม แยกสี ยิงฟิล์ม ทำเพลท ติดต่อ โรงพิมพ์ ฯลฯ ไม่สามารถทำเองได้อาจติดงานประจำ ไม่มีเวลาศึกษา หาความรู้เพิ่มเติม ก็มีหนทางให้เดินอีก ทางหนึ่ง ขอย้อนกลับไปขั้นตอนที่ 7 การจัด ทำรูปเล่ม เมื่อคุณจัดทำรูปเล่มเสร็จแล้ว ก็จัดส่งให้สำนัก พิมพ์ต่างๆ เผื่อจะมีสำนักพิมพ์ใดสนใจนำไปพิมพ์ แต่ถ้าคุณคิดว่าหนังสือ ของคุณน่าสนใจ ก็เก็บเงินเป็น ทุนพิมพ์เองจะดีกว่า เพราะคุณจะได้ส่วนแบ่งเพียง 15% ของราคาปกเท่านั้น โอกาสโดนเบี้ยวก็เยอะ
สำนัก พิมพ์แจ้งว่าพิมพ์ 3000 เล่ม แต่ยอดพิมพ์จริงมันเกินอยู่แล้ว อาจมั่วนิ่มไป 5000 เล่ม ใครจะไปรู้ถามมาก อาจโดนด่าอีกต่างหาก พยายามสอบถามจากนักเขียนหลายๆ ท่านก็แล้ว กันว่าสำนักพิมพ์ไหนคบได้บ้าง แต่ถ้าเราพิมพ์เองโอกาสโดนโกงน้อยมาก เพราะโรงพิมพ์จะพิมพ์ก็ต่อเมื่อเราสั่งให้พิมพ์เท่านั้น ถ้าแอบลัก ไก่พิมพ์เกิน ก็อาจเกิดปัญหาว่าแล้วจะเอาไปปล่อยที่ไหนคุ้มหรือ ไม่กับชื่อเสียที่จะได้รับ ตัวแทนจัดจำหน่าย ก็อาจโทรมาด่าเรา เพราะตกลงให้เขาจัดจำหน่ายแล้ว ทำไมต้องมีตัวช่วยอีกด้วย เราก็รู้แล้วว่าโรงพิมพ์ พิมพ์เกินจำนวนที่เราสั่ง ตรวจสอบกันได้อยู่แล้ว
ถ้าเป็นหนังสือเพื่อสาธารณะประโยชน์ อาจชอสปอนเซอร์จากห้างร้านบริษัทหรือ หน่วยงานต่างๆ มาเปนทุน ในการจัดพิมพ์ จะช่วยลดค่าใช้ได้พอสมควรเผลอๆ อาจไม่ใช้เงินซักบาท ลงทุนแค่สมองและ แรงกาย