Sponsored Ads

มีเงินทุนมาก แต่ทำธุรกิจแล้วเจ๊ง เป็นเรื่องที่พบเห็นกันได้ทั่วไป เพราะคนมีเงินทุนมากหรือคนส่วนใหญ่จะมีความเชื่อผิดๆ ว่าการมี ทุน จะทำอะไรย่อมประสบความสำเร็จ เมื่อมีเงินมาก ก็มักจะใช้เงินด้วยความประมาท และก็พลาดเสียเงินเปล่า ไม่ประสบความสำเร็จ อย่างที่คิด บางคนมีบ้าน มีที่ดินของตัวเอง ไม่ต้องเสียค่าเช่า เปิดร้านอาหารในบ้านยังเจ๊งเลย ทั้งๆ ที่ต้นทุนน้อยมาก

 

การมีทุนมาก ใช่ว่าจะทำให้ธุรกิจ การทำมาค้าขาย ประสบความสำเร็จอย่างที่คิด ซึ่งส่วนใหญ่จะเจ๊งหรือไปไม่รอด และเลิกกิจการ ในที่สุด นเป็นเพราะอะไร?

 

หัวข้อทั้งหมดในบทความนี้

  1. เปรียบเทียบการใช้เงินเพื่อลงทุนทำธุรกิจ
  2. มีทุนน้อยแต่ทำธุรกิจประสบความสำเร็จ
  3. มีเงินทุนมากแต่ทำไมทำอะไรแล้วเจ๊งได้ง่ายๆ
  4. คำแนะนำสำหรับคนทุนหนาเมื่อคิดจะทำธุรกิจ
  5. ศึกษาระบบการบริหารจัดการกับผู้มีประสบการณ์

เปรียบเทียบการใช้เงินเพื่อลงทุนทำธุรกิจ

เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ก็จะขอนำประสบการณ์ตัวองมาเล่าให้ฟัง กับการใช้เงินประมาณ 4 หมื่นบาทลงทุนทำธุรกิจ

 

มีทุนน้อยแต่ทำธุรกิจประสบความสำเร็จ

เรื่องนี้เป็นประสบการณ์ส่วนตัว สิบห้าปีก่อน ผมเคยลงทุนไม่มาก ด้วยเงินประมาณ 40,000 บาท แต่สามารถทำกำไรได้หลายล้านบาทใน ปีเดียวกันนั้น ทุนน้อย  แต่กลับประสบความสำเร็จ แนวทางการทำธุรกิจที่ลงทุนน้อยและประสบความสำเร็จนั้นสามารถทำได้จริง ด้วย เงินที่ลงทุนค่อนข้างน้อยและมันก็เป็นเงินก้อนสุดท้ายแล้วด้วย ทำให้สมองถูกใช้งานอย่างหนัก ต้องคิดอ่านอย่างรอบคอบในการลงทุน เรียกว่าพลาดไม่ได้เลย

 

หลังจากคิดอ่านอย่างรอบคอบแล้ว แนวทางของการทำธุรกิจในกรณีที่มีทุนน้อยๆ แบบนี้ ก็ต้องผลิตสินค้าของเราเอง และต้องเป็น สินค้าที่ต้นทุนต่ำ แต่สามารถทำกำไรได้สูงมากๆ สินค้าต้องไม่บูดไม่เน่า เป็นที่ต้องการในท้องตลาด ลอกเลียนแบบยาก ที่คิดออกใน ตอนนั้นก็คือ การทำโปรแกรมและทำหนังสือขาย

 

เงินทุนประมาณสี่หมื่นบาท จึงถูกลงทุนไปกับสินค้าทั้งหมด ผลิตหนังสือได้ทั้งหมด 3000 เล่มต้นทุนเล่มละประมาณ 13 บาทกว่าๆ ขายเล่มละ 195 บาท 3000 เล่ม ไม่มีการเอาไปลงกับซื้อข้าวของเครื่องใช้ หรือนอกลู่นอกทางอะไรทั้งนั้น เอาเงินไปลงกับสินค้าอย่าง เดียว ด้วยต้นทุนสินค้าต่อชิ้นไม่กี่สิบบาท แต่ทำกำไร 3-4 เท่าตัว และขายหมดเกลี้ยงในเวลาไม่นาน แถมมีออเดอร์ซ้ำเรื่อยๆ ขายได้ ทั้งปี จึงทำกำไรได้มากหลักล้านบาท

 

มีเงินทุนมากแต่ทำไมทำอะไรแล้วเจ๊งได้ง่ายๆ

เรื่องนี้ก็เป็นประสบการณ์ส่วนตัวอีกเช่นกัน คราวนี้ผมมีทุนมากกว่าเดิมมาก มีเงินลงทุนหลายแสนบาท แต่กลับทำธุรกิจไม่ประสบ ความสำเร็จ การลงทุนบางอย่าง กลับเจ๊งไม่เป็นท่า สาเหตุหลายอย่าง เช่น
1. คิดว่ามีเงินมาก จะทำอะไรก็ได้ ไม่มีการศึกษาให้ดี หมดก็ช่างมัน เงินเยอะ ผมกลับทำให้ทุกอย่างเจ๊งไม่เป็นท่า การมีเงินทุนมากมัก จะทำให้ประมาท ใช้จ่ายไม่คิด ไม่รอบคอบ
2. การนำเอาเงินไปใช้ผิดทางบ้าง ผมไม่ได้ลงทุนในแบบที่ผมเคยทำ เงินถูกใช้กับข้าวของ เครื่องใช้ที่ไม่มีประโยชน์ อย่าง iPad, มือถือ สมาร์ทโฟนแพงๆ แท็บเล็ต และอีกหลายอย่าง รวมๆ แล้วสี่หมื่นกว่าบาท และนี่ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกมากที่เอาเงินไปใช้ผิดทาง
3. ให้ความสำคัญกับบางอย่างมากเกินไป ภาษาดารา ก็จะต้องพูดว่า โฟกัสผิดจุด เช่น ทำร้านอาหาร แต่ดันไปทุ่มเทเงินไปกบแต่งร้าน ไม่ทุ่มเทเรื่องแม่ครัว เรื่องอาหาร บางคนมีบ้าน มีที่ดิน มีอุปกรณ์ทำอาหาร อุปกรณ์สำหรับร้านอาหารครบ แต่ทำร้านอาหารแล้วเจ๊ง
4. ไม่มีความรู้ในเรื่องที่ทำอย่างแท้จริง บางคนเปิดร้านอาหารแต่ตัวเองทำอาหารไม่เป็น ต้องจ้างแม่ครัวพ่อครัว เมื่อคนเหล่านี้มีปัญหา ร้านก็เจ๊ง การลงทุนทำอะไรก็ตาม หากไม่มีความรู้ จะต้องจ้างคนอื่น และเป็นตำแหน่งสำคัญ การลงทุนแบบนี้มีความเสี่ยง
5. นำเงินที่ได้จากกิจการไปใช้ผิดทาง เช่น บางคนเปิดร้านอาหาร ขายดีมาก แต่เจ๊ง เพราะติดการพนันอย่างหนัก พนันกันได้ทุกเรื่อง แม้แต่เรื่องฟ้าฝน เมฆตั้งเค้า ก็พนันกันแล้วว่าจะตกหรือไม่ตก สุดท้ายก็ต้องปิดร้าน เลิกกิจการ และย้ายหนี เพราะสร้างหนี้ไว้รอบตัว บางคนใช้เงินถูกทางจริง แต่ไม่ควรใช้ อย่างการส่งเงินให้ทางบ้าน ให้อยู่กันแบบสบายๆ แต่สิ่งที่ควรทำ ควรจะเป็นการให้สมาชิกในบ้าน มาช่วยกัน ใครทำ ก็มีรายได้

 

เพราะคิดว่ามีทุนมากจึงประมาท ใช้ไม่คิด และไม่รอบคอบ ซึ่งนี่ก็คือสาเหตุที่หลายคนทำธุรกิจแล้วไม่ประสบความสำเร็จ บางคนทำ ร้านกาแฟ ต้นทุนทำร้านหมดไปแล้ว 6-7 แสนบาท ร้านกาแฟที่มีลักษณะคล้ายโบกี้รถไฟ ต้นทุนประมาณนี้ การลงทุนแบบนี้ทำให้ พลาดเช่นกัน

 

เพราะฉะนั้นหากจะทำธุรกิจให้รวยเร็ว ประสบความสำเร็จเร็ว การมีเงินทุนแค่หลักหมื่น หลักแสน ไม่เกินล้าน หรือเท่าไหร่ก็ตาม อย่าไปทำธุรกิจที่ต้องเอาเงินไปจมกับข้าวของ จมไปกับการแต่งร้าน หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่ไม่ช่วยสร้างผลกำไร เงินจะจมไปเปล่าๆ ได้ เงินมาแล้วก็ต้องบริหารให้เป็น

 

คำแนะนำสำหรับคนทุนหนาเมื่อคิดจะทำธุรกิจ

ท่านใดที่กำลังจะทำธุรกิจซึ่งคิดว่าตนเองมีเงินทุนมากพอสมควร เพื่อป้องกันความผิดพลาด ก็มีคำแนะนำต่างๆ เช่น
1. มีทุนมาก ทำอะไรย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จ ให้ตัดความคิด ความเชื่อผิดๆ นี้ไปจากหัวเสียก่อน มีทุนมาก มีโอกาสเจ๊งมากกว่า 2. วางแผนใช้เงินอย่างรัดกุม และต้องทำตามแผนที่วางไว้ให้ได้
3. อย่านำเงินไปลงทุนกับข้าวของมากเกินไป การแต่งร้าน หรือซื้อของใช้ที่ไม่จำเป็น บางคนทำร้านอาหาร แต่ซื้อ iPad มาไว้ใช้ เผื่อใช้ แอปช่วยคิดคำนวณตัวเลข คิดค่าใช้จ่าย เงินจมไปกับไอแพดหลักหมื่นบาท มีของใช้หลายอย่างที่เรานำเงินไปลงทุน โดยไม่มีเหตุผลที่ สมควรแบบนี้
4. ศึกษาหาความรู้ ต้องมีความรู้ในเรื่องที่จะทำ และสามารถทำเองได้ ก่อนจะจ้างคนอื่นมาช่วยงาน ธุรกิจบางประเภท จำเป็นต้องพึ่ง พาคนต่างชาติ เพื่อป้องกันการหนีไปเปิดร้านของตัวเองหรือเปิดร้านขายแข่งกัน
5. อยากรวยเร็วต้องหาทางเอาเงินไปลงกับสินค้าและหาทางระบายสินค้าให้ได้เร็วๆ นั่นเอง จะผลิตเองขายเอง หรือซื้อมาขายไปก็ดี ความเสี่ยงจะน้อยกว่าและมีโอกาสประสบความสำเร็จ ไม่ต้องมานั่งเครียดกับข้าวของเครื่องใช้ที่เสื่อมราคา แถมยังไม่รู้ว่าจะเอาไปไว้ที่ ไหนหากต้องเลิกกิจการ
6. การลงทุนที่ต้องใช้เงินมาก ควรฟังคนอื่นบ้าง หรือศึกษาหาข้อมูลให้รอบคอบหลายๆ ด้าน
7. การมีทุนมากต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ

 

ศึกษาระบบการบริหารจัดการกับผู้มีประสบการณ์

การมีเงินทุนมาก หากคิดจะทำธุรกิจอะไรบางอย่าง อาจจะใช้ทางลัดด้วยการลงทุนกับแฟรนไชส์ เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการ เป็นทางลัด ก่อนจะพัฒนาสูตรให้เป็นของตนเอง แล้วเปิดสาขาเพิ่ม เป็นต้น โอกาสประสบความสำเร็จ ย่อมสูงกว่าการเริ่มต้นทำ เองอย่างแน่นอน

 

การมีเงินทุนจะมีโอกาสประสบความสำเร็จ หากมีความรู้ในเรื่องนั้นๆ เช่น มีความสามารถในการทำแอปสำหรับมือถือ หลังจากทำ แอปเสร็จแล้ว ก็ใช้เงินทุนโปรโมตโฆษณา ให้แอปเป็นที่รู้จัก หรืออาจจะผลิตสินค้าอะไรก็ตาม ก็ใช้หลักการคล้ายกัน กรณีอย่างนี้การมี เงินมาก ก็มีโอกาสประสบความสำเร็จมาก แต่หากทำแอปไม่เป็น ต้องจ้างคนอื่นทั้งสร้างทั้งแก้ไข ก็จะกลายเป็นปัญหาทันที มีเงินทุนแต่ มีโอกาสเจ๊ง หากค่าใช้จ่่ายในการสร้างแอปนั้นสูงเกินไป

 

การมีเงินทุนมาก จึงต้องรู้ว่าวิธีใช้เงินลงทุนให้เกิดประโยชน์จริงๆ ไม่เช่นนั้น มีเงินมากเท่าไร ก็มีแต่หมดกับหมด บางคนได้เงินมาง่าย เรียนจบ ไฟแรง อยากเปิดร้านของตนเอง เปิดได้สักพักใหญ่ พบว่าไม่ใช่แนวทางของตัวเองแล้ว ก็เลิกทำ กรณีอย่างนี้ก็เห็นบ่อยๆ ที่นำ เงินไปทิ้งเปล่าๆ ไม่ได้อะไร เพราะไม่ใช่เงินตัวเอง จึงใช้จ่ายไม่ระวัง