ซีดีรอมไดรว์เป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านข้อมูลในแผ่นซีดีรอม มีหลายแบบ ทั้งแบบติดตั้งภายใน เครื่อง (Internal) ซึ่งนิยมใช้กันมาก และแบบติดตั้งภายนอก (External) มีหลายความเร็วให้เลือก เรามักจะเรียกซีดีรอมไดรว์ตามความเร็วเช่น 4x, 8x, 12x, 50x เป็นต้น ควรเลือกใช้เครื่องอ่านที่มี ความเร็วไม่ต่ำกว่า 32x หรือเลือกที่ เร็วสุดเท่าที่จะเลือกได้ เพื่อความสบายหูสบายตาเวลาดูหนัง ฟังเพลง เพราะการอ่านข้อมูลในแผ่นซีดีรอมจะทำได้รวดเร็วกว่า ภาพไม่กระตุก เสียงไม่สะดุด อารมณ์ ไม่บูด ตามไปด้วย
ประเภทของซีดีรอมไดรว์
Internal CD-ROM Drive เป็นซีดีรอมไดรว์ที่ติดตั้งภายใน นิยมใช้กันมากกว่าแบบอื่นๆ เพราะ มีราคาค่อนข้างถูก ติดตั้งง่าย
External CD-ROM Drive เป็นซีดีรอมไดรว์ที่ติดตั้งภายนอก ราคาแพงกว่าแบบติดตั้งภายใน แต่มีความสะดวกกว่าเพราะสามารถนำไปใช้กับเครื่องอื่นๆ ได้
CD-RW Drive เป็นซีดีรอมไดรว์ที่มีความสามารถทั้งอ่านและบันทึกข้อมูลได้ด้วย RW ย่อมา จาก Read และ Write ราคายิ่งแพงขึ้นไปอีก แต่ก็ช่วยให้สามารถบันทึก ข้อมูลลงแผ่น CD-R ได้ ซึ่งอาจ ทำเป็นแผ่นซีดีเพลงหรือวีดีโอซีดีก็ได้ มีให้เลือกทั้งแบบติดตั้งภายในและแบบติดตั้งภายนอก
ซีดีรอมอาจแยกย่อยได้อีก 2 ประเภท คืออินเตอร์เฟสหรือรูปแบบการเชื่อมต่อกับเมนบอร์ด แบบ IDE และ SCSI แบบ SCSI จะมีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่า
ส่วนประกอบของซีดีรอมไดรว์
1. Open/Close Button ปุ่มควบคุมด้านหน้า เช่นปุ่ม Eject สำหรับปิด/เปิด ถาดสำหรับ ใส่แผ่นซีดี
2. Headphone Jack ช่อง Phone หรือแสดงเป็นสัญลักษณ์รูปหูฟัง จะเป็นช่องสำหรับต่อ หูฟังหรือสายสัญญาณเข้าลำโพง สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีการ์ด เสียง หากอยากฟังเพลงจาก แผ่นซีดีเพลงก็คงต้องใช้วิธีนี้แก้ขัดไปก่อน โดยต่อสายไปเข้าเครื่องขยายเสียงหรือลำโพงอีกที เสียงก็ ดังลั่น สะใจไม่แพ้กัน
3. Headphone Volume Control ตัวควบคุมความดังค่อยของเสียงขณะเล่นแผ่นซีดีเพลง
4. Emergency Eject Hole เป็นรูพิเศษสำหรับเสียบเข็มหรือสอดคลิปหนีบกระดาษเข้าไป เพื่อปลดล็อค จะได้เลื่อนถาดออกมาได้ ใช้ในกรณีที่มีแผ่นซีดีค้างอยู่ข้าง ใน แต่ลืมเอาแผ่นออก ปิดเครื่องไปเสียก่อน
5. ตำแหน่งสำหรับต่อสายออดิโอ ซึ่งจะเชื่อมต่อไปยังการ์ดเสียง
6. จัมเปอร์สำหรับกำหนดให้ซีดีรอมเป็นตัว Master หรือ Slave ซีดีรอมส่วนใหญ่ ให้เซ็ต เป็นเสล๊ฟ (Slave), (ตัวย่อ S=Slave, M=Master, C=Cable Select) โดย ถอดตัวจัมเปอร์มาเสียบคร่อม เข็มคู่ที่สองหรือดูที่ข้อความด้านบนประกอบว่าต้องคร่อมเข็มคู่ใด แต่ละตัวจะมีขาตัวละคู่ (ปกติเมื่อ ซื้อมาใหม่ๆ จะถูกเซ็ตเป็น Slave)
7. ตำแหน่งสำหรับต่อสายแพร์หรือสายรับส่งข้อมูล จะมีข้อความบอกว่าขาที่ 1 อยู่ด้านใด ส่วนท่านใดที่ใช้ซีดีรอมไดรว์แบบ SCSI ก็จะมีการ์ด SCSI สำหรับต่อกับ ตัวซีดีรอมไดรว์ โดยเฉพาะ ส่วนใหญ่จะเสียบที่สล็อต PCI ไม่สามารถเสียบกับสายแพร์ที่ต่อกับพอร์ต IDE ที่ใช้กับฮาร์ดดิสก์ได้ เพราะขนาดไม่เท่ากัน
8. ตำแหน่งสำหรับต่อสายไฟจากพาวเวอร์ซัพพลาย
การเลือกซื้อซีดีรอมไดรว์
ซีดีรอมไดรว์แบบ CD-RW ที่สามารถอ่านและบันทึกข้อมูลได้ ในปัจจุบัน ราคาค่อนข้างถูกมาก ควรเพิ่มเงินอีกหน่อย เพื่อเลือกซื้อซีดีรอมไดรว์แบบนี้จะดีกว่า