หลังจากเขียนบทความเสร็จแล้ว จะต้องคิดวิเคราะห์ก่อนว่า บทความนั้นๆ เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ควรอยู่หมวดใด
1. บทความเกี่ยวกับรถยนต์ ซึ่งจะอยู่ในหมวดเกี่ยวกับรถยนต์แต่ก็ควรกำหนดหมวดหมู่ไว้หลายระดับ อย่างน้อย 2 ระดับ เพราะการทำเว็บไซต์นั้นเว็บไซต์จะต้องใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ โตขึ้นเรื่อยๆ หากกำหนดหมวดหมู่ไว้แคบเกินไปจะมีปัญหาในภายหลัง เกิดอาการหมวดตัน หรือไม่ก็หมวดหมู่เยอะเกินไป การย้ายหมวดหมู่ทีหลัง ไม่ใช่เรื่องดี ส่งผลเสียต่อการจัดอันดับเว็บไซต์
2. จากตัวอย่างก็จะกำหนดหมวดหมู่ไว้อีกระดับ โดยให้หมวดหมู่หลักเป็น ยานพาหนะ หมวดหมู่ย่อยเป็น รถยนต์
3. บทความ รถยนต์ป้ายแดง... ก็จะจัดให้อยู่ในหมวดนี้ คือหมวดย่อย รถยนต์
4. การออกแบบหมวดหมู่ให้ละเอียดรอบคอบเป็นเรื่องจำเป็น เพราะเมื่อทำเว็บไซต์ไปเรื่อยๆ จากเดือนเป็นปี จนหลายๆ ปี เรื่องที่จะต้องเขียนก็จะเริ่มตัน เริ่มคิดไม่ออก การกำหนดหมวดหมู่ให้มีหลายระดับจะช่วยให้เราสามารถทำเรื่องอื่นได้ หมวดหมู่อื่นได้ เช่น เมื่อเขียนไปสักพัก เรื่องเกี่ยวกับรถยนต์เริ่มหมดแก๊ก เขียนไม่ออก ก็ทำหมวดหมู่ย่อยเพิ่มเข้าไป เช่น จักรยานยนต์ และจักรยาน ซึ่งอยู่ในหมวดหมู่หลักหมวดเดียวกันก็คือ ยานยนต์ พาหนะ นั่นเอง
5. ซึ่งนอกจากจะช่วยให้บทความมีหมวดหมู่อย่างเป็นระเบียบแล้ว เราก็ยังสามารถทำเมนูย่อยเพื่อความสะดวกในการค้นหา ด้วยการนำหมวดหมู่ย่อย มาทำเป็นเมนูได้อีกด้วยดังภาพตัวอย่าง เราจะทำหมวดหมู่หลัก ยานยนต์ ยานพาหนะ ไว้ด้านบน หากคลิกเมนูนี้ ก็จะเข้าสู่หน้าจอ หมวดหมู่บทความเฉพาะเรื่องนี้ โดยจะมีเมนูย่อยให้เลือก
6. นอกจากนี้ เรายังสามารถสร้างโมดูล ดึงบทความเฉพาะภายในหมวดหมู่นั้นๆ มาแสดงได้อีกด้วย เช่น บทความอ่านบ่อยสุดในหมวดหมู่ ยานยนต์ หรือบทความล่าสุด โมดูลเหล่านี้จะไม่แสดงที่อื่น แต่จะแสดงก็ต่อเมื่อ คลิกเมนู ยานยนต์ ยานพาหนะ เท่านั้น ซึ่งจะเห็นว่า เราสามารถนำหมวดหมู่มาประยุกต์ออกแบบหน้าเว็บไซต์ได้คล้ายๆ กับว่า เป็นเว็บแบบ subdomain เลยทีเดียว
7. จากตัวอย่างบทความที่เขียนนั้น มีหลายเรื่อง หลายหมวดหมู่ เช่น การเงิน ลงทุน สุขภาพ อาหาร ก็ต้องกำหนดหมวดหมู่หลักไว้ก่อน ในเรื่องการเงิน อาจจะมีหมวดหมู่ย่อย เช่น บริหารเงิน ออมเงิน ลงทุน ก็ต้องดูว่าบทความที่เราทำนั้นออกน่าจะอยู่หมวดใดก็สร้างหมวดหมู่ย่อยเพิ่มเติม แล้วจึงสร้างบทความลงในหมวดหมู่
8. การทำความเข้าใจกับหมวดหมู่เป็นเรื่องสำคัญ แนะนำให้เข้าเว็บไซต์ใหญ่ๆ อย่าง thaisecondhand.com, pantipmarket.com, weloveshopping.com เพื่อไปดูว่า ได้มีการใช้หมวดหมู่อย่างไร จะได้เอามาเป็นตัวอย่าง
9. ตัวอย่างหมวดหมู่หลัก เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า รถ ยานพาหนะ เป็นต้น
10. ตัวอย่างหมวดหมู่รองหรือหมวดหมู่ย่อย เช่น เครื่องเสียง โทรศัพท์ เป็นต้น
ตัวอย่างการทำบทความในหมวดหมู่ ยานยนต์ ยานพาหนะ
สำหรับตัวอย่างนี้ ผมจะทำหมวดหมู่ไว้ 2 ระดับเท่านั้น ซึ่งก็ไม่ควรจะเกินนี้ เพราะเนื้อหาจะไม่ลึกมากเกินไป โดยในหมวดหมู่นี้จะไว้รองรับบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น รถยนต์ รถยนต์มือสอง จักรยานยนต์ จักรยาน เรือ ฯลฯ