การขับรถมอเตอร์ไซค์ท่องเที่ยวเป็นที่นิยมกันมาก รถอะไร แบบไหน รถครอบครัว รถคลาสสิค รถบิ๊กไบค์ ก็ออกทริปกันได้ทั้งหมด และหนึ่งในสถานที่ที่หลายคนอยากไปสัมผัสสักครั้งก็คืออุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ แต่การขับรถเล็กขึ้นเขาลงเขาก็มีหลายเรื่องที่จะต้องรู้ และเตรียมตัวให้พร้อม เช่น ศึกษาเส้นทาง ศึกษาการเตรียมรถ การเตรียมอุปกรณ์ของใช้ ฯลฯ
การเดินทางท่องเที่ยวโดยรถเล็กอย่างมอเตอร์ไซค์ได้รับความนิยม ซึ่งมีความประหยัด สามารถจอดแวะพักถ่ายรูป หรือหยุดตาม สถานที่สำคัญได้อย่างอิสระ ต่างจากรถยนต์ เพราะการจอดข้างทางจะกีดขวางการจราจร แต่ไม่เป็นปัญหาสำหรับจักรยานยนต์ เพียงแต่อาจจะปวดเมื่อยกรณีเดินทางไกล
อุทยานท่องเที่ยวเขาใหญ่และสถานที่โดยรอบมีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญหลายแห่ง อยู่ในเส้นทางที่จะต้องขับรถผ่าน เช่น เขื่อนขุนด่าน สถานที่ท่องเที่ยวในนครนายก หรือมวกเหล็ก สระบุรี หากต้องการเที่ยวหลายจุด ก็ต้องเผื่อเวลา อย่าเข้าเขาใหญ่ใกล้ช่วงเวลาเย็นหรือ เช้าเกินไป มีโอกาสเจอช้างค่อนข้างสูง จักรยานยนต์เจอช้างค่อนข้างอันตราย อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่นั้นมีอากาศเย็นตลอดทั้งปี อุณหภูมิอยู่ประมาณ 25-30 องศาสำหรับหน้าร้อน การเดินทางมาท่องเที่ยวที่นี่จึงต้องเตรียมตัวกันพอสมควร
คาถาเรียกทาก สำหรับใครที่มาเขาใหญ่แล้วอยากเจอตัวเป็นๆ
ค่าธรรมเนียมผ่านด่านเขาใหญ่ คน 40 บาท รถ 30 บาท
การเข้าไปในเข้ตอุทยานแห่งชาติจะมีการเก็บค่าธรรมเนียมผ่านด่าน โดยคิดเงิน 40 บาทต่อคน และจักรยานยนต์อีก 30 บาท ส่วนรถยนต์จะคิดแพงกว่า คิดคันละ 50 บาท
การขับรถขึ้นภูเขาจะเปลืองน้ำมันมากกว่าทางราบ
นี่คือเรื่องสำคัญที่จะต้องรู้ โดยเฉพาะหากมีคนซ้อนท้าย รถจะหนักและกินน้ำมันมากกว่าปกติ อย่างการขึ้นเขาใหญ่ฝั่งหมูสี ทางจะ ลาดชันรถกินน้ำมันมากกว่าทางปราจีนบุรีหรือนครนายก จึงควรแวะเติมน้ำมันให้เพียงพอ
กรณีน้ำมันหมด ก็จะมีน้ำมันขายอยู่ใกล้สามแยกเขาใหญ่ (สามแยกนี้จะมีป้ายบอกทางเช่น ไปปากช่อง ไปปราจีน ไปผากล้วยไม้ น้ำตกเหวสุวัตน์) จะมีมินิมาร์ท แต่จะเป็น แก๊สโซฮอลล์ 91
- แยกแรกไปหมูสี ปากช่อง นครราชสีมา ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ หากนำมันหมด การลงไปเติมน้ำมันทางฝั่งนี้จะใกล้กว่าที่อื่น มีปั๊มน้ำมัน เล็กๆ ไม่ห่างจากด่านเก็บเงินมากนัก
- แยกที่สอง ทางตัน ไปสถานที่กางเต็นท์ลำตะคอง ผากล้วยไม้ น้ำตกเหวสุวัต ใกล้แยกนี้จะมีมินิมาร์ทมีน้ำมันใส่ขวดขาย
- แยกที่สาม ไปปราจีนบุรี นครนายก
ก่อนขึ้นเขาใหญ่หากเติมน้ำมันให้เต็มถัง ก็เพียงพอสำหรับการขับสำรวจสถานที่สำคัญบนเขาใหญ่ เช่น ผาเดียวดาย น้ำตกเหวสุวัต หรือขับรถเล่น แต่ก็อย่าประมาท เพราะการขับขึ้นเขา รถจะกินน้ำมันมากกว่าปกติ
จากกรุงเทพฯ ไปเขาใหญ่เส้นทางไหนดีที่สุด
การเดินทางจากกรุงเทพเพื่อไปเที่ยวเขาใหญ่ มีหลายเส้นทาง แต่เส้นทางที่ดีที่สุด แนะนำเส้นทาง ธัญบุรี องครักษ์ นครนายก ปราจีนบุรี เขาใหญ่ เพราะเส้นทางนี้ รถใหญ่ๆ น้อยกว่า เส้นทาง สระบุรี มวกเหล็ก ซึ่งจะต้องใช้ถนนร่วมกับรถใหญ่ อันตรายมากกว่า เส้นทางนี้ ปลอดภัยมากกว่า
เติมน้ำมันให้เต็มถังก่อนขึ้นเขาใหญ่
ก่อนเดินทางเข้าพื้นที่เขาใหญ่ เพื่อความสนุกในการขับรถสำรวจสถานที่สำคัญ จุดชมวิวภายในเขาใหญ่ จึงควรเติมน้ำมันให้เต็มถังไว้ก่อน โดยเฉพาะหากไปกัน 2 คันต่อคัน เพราะการขับรถขึ้นภูเขาจะกินน้ำมันมากกว่าปกติ อย่าประมาท การขึ้นเขาใหญ่ฝั่ง หมูสี หรือมวกเหล็ก ปากช่อง ทางขึ้นจะชันมากกว่า รถกินน้ำมันมากกว่า
เรื่องน้ำมันอาจจะหากระป๋องน้ำมันเครื่อง กระป๋องเปล่าขนาด 1 ลิตร พกติดรถก่อนขึ้นเขาใหญ่ เติมแล้วทิ้งได้เลย เผื่ออาจจะต้องขับรถสำรวจจุดท่องเที่ยวบนเขาหลายจุด น้ำมันอาจจะขาดนิดหน่อย
ศึกษาการขับรถมอเตอร์ไซต์ขึ้นลงภูเขา
การขับรถขึ้นลงภูเขา ผ่านโค้ง ขึ้นเนิน ลงเนิน จำเป็นต้องศึกษาวิธีการขับ การเบรค การใช้เกียร์เพื่อความปลอดภัย
- การขับรถมอเตอร์ไซค์ผ่านโค้ง ต้องศึกษาวิธีขับ ดูวิธีเข้าไลน์ เข้าโค้งได้จากรายการแข่งรถ การเข้าโค้งด้วยความเร็วสูงจะต้องชิดขอบ ทางก่อนจะเลี้ยวโค้ง โดยพยายามเลี้ยวตัดเป็นเส้นตรง จะช่วยให้การเข้าโค้งทำได้ง่ายกว่า การขับวนไปตามโค้ง บางโค้งบนเขาใหญ่ ค่อนข้างอันตราย แต่ก็มีรถที่ใช้ความเร็วสูง โดยเฉพาะบิ๊กไบค์ ดังนั้นต้องระวังให้มาก
- การเบรคบ่อยๆ ระวังเบรคไหม้ ให้ศึกษาวิธีการใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรค โดยเฉพาะขณะขับรถลงเขา ลงเนิน
- การขับรถมอเตอร์ไซต์ลงเขา ให้ใข้ความเร็วให้เหมาะสม สามารถควบคุมรถได้ดี ไม่ลงเร็วเกินไป ใช้เกียร์ให้เหมาะสมเพื่อช่วยลด ความเร็ว แทนการใช้เบรค
- ศึกษาการใช้เบรคหน้า เบรคหลัง และเครื่องยนต์ช่วยเบรค รถแต่ละรุ่นจะไม่ต่างกัน แต่อาจจะมีรายละเอียดที่ต้องศึกษาเป็นกรณี พิเศษ เพราะรถบางยี่ห้อนั้นเบรคแย่มาก
- กรณีมีผู้ซ้อนท้าย ต้องศึกษาขนาดและกำลังเครื่องยนต์ของมอเตอร์ไซต์ที่ใช้งาน อาจจะไม่มีแรงมากพอจะขึ้นเนินได้ ต้องศึกษาจากผู้ เคยมีประสบการณ์
เสื้อกันหนาว เสื้อกันฝน
บนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ แม้จะเป็นหน้าร้อนหรือหน้าหนาว แต่ก็อาจจะมีฝนตกได้เช่นกัน จึงต้องเตรียมอุปกรณ์กันฝน ส่วนเสื้อ ผ้ากันหนาวนั้นขาดไม่ได้เลย ต้องมีเสื้อที่กันลม กันอากาศเย็นได้ดี เพื่อความอบอุ่นขณะเดินทาง
เสื้อสำหรับขับรถมอเตอร์ไซต์อย่าใช้แบบมีปกเสื้อ เพราะจะสร้างความรำคาญ ปกเสื้อกระพืออยู่ตลอดเวลา ขณะขับรถ จึงควรหลีก เลี่ยง เสื้อสำหรับขับรถมอเตอร์ไซต์จำเป็นต้องเลือกให้เหมาะสม
อุปกรณ์เสริมสำหรับการขับจักรยานยนต์
อุปกรณ์เสริมอื่นๆ เช่น ผ้าพันคอ ช่วยป้องกันอากาศเย็น ถุงมือ ถุงเท้า ร้องเท้าผ้าใบ
ยางสำหรับรถมอเตอร์ไซค์
หากต้องการความมั่นใจในการเดินทาง ไม่ต้องกลัวยางรั่ว ยางมีปัญหา ผู้มีประสบการณ์ในการขับรถมอเตอร์ไซค์เล็ก รถครอบครัว เที่ยวไปทั่วประเทศ หรือแม้แต่ข้ามประเทศก็ตาม จะใช้ยางคุณภาพดีๆ อย่าง Michelin ผู้เขียนก็ใช้รุ่นนี้ มั่นใจ ไม่กลัวเศษแก้ว หนาม ลวด ข้างทาง แต่ลมยางต้องเติมมากหน่อย ประมาณ 35 - 40 หากน้อยกว่านั้นจะแบนเร็ว เพราะการกระแทก ทำให้ลมออกตรงที่เติม ลมนั่นเอง
การกางเตนท์ที่เขาใหญ่สำหรับชาวสองล้อ
การขับรถมอเตอไซค์ไปกางเต็นท์ที่เขาใหญ่ การเตรียมอุปกรณ์ที่เหมาะสมจะไม่ต้องแบกขนมากนัก เพราะรถเล็กอย่างมอเตอร์ไซค์ นั้นไม่สามารถขนของได้มากนัก เช่น เต็นท์ ถุงนอน เสื้อกันหนาว ถุงนอนกับเสื้อกันหนาวนั้นขาดไม่ได้เลย กรณีเที่ยวคนเดียวอาจจะใช้ เปลแทนสะดวกกว่ามาก ใช้เปลมุ้งกับฟลายชีท และถุงนอนก็เพียงพอสำหรับอุณภูมิประมาณ 20 องศาขึ้นไป แถมยังจอดรถใต้ฟลายชีท ได้อีกด้วย
อาหารการกินสำหรับการเที่ยวบนเขาใหญ่
การเดินทางด้วยมอเตอร์ไซต์เรื่องอาหารการกินจะไม่ค่อยสะดวกนัก ดังนั้นอาจเตรียมไปเฉพาะอาหารแห้ง ของขบเคี้ยว น้ำดึ่ม และ ซื้ออาหารสำเร็จ จะไม่ยุ่งยากในการจัดการเรื่องอาหาร ไม่เช่นนั้น อาจจะเตรียมเฉพาะหม้อโลหะขนาดเล็กไปก็พอ เผื่อไว้สำหรับการ ต้มน้ำหรืออุ่นอาหาร หรือเช่าเตาถ่าน สะดวกไม่ต้องพกพาไปเอง หรืออาจจะใช้เตาแก๊สแบบพกพา พับแล้วมีขนาดเล็กมากประมาณฝ่า มือเท่านั้นเอง
การแคมปิ้งสำหรับชาวสองล้อ
อุปกรณ์ทำอาหารสำหรับชาวแคมปิ้ง หากเน้นเที่ยวบ่อยๆ ควรซื้ออุปกรณ์เครื่องครัวสำหรับเที่ยวกางเต็นท์โดยเฉพาะ เพราะถูกออก แบบได้สะดวกในการพกพามากกว่าเครื่องครัวมาตรฐาน เมื่อเก็บเป็นชุดแล้วจะไม่ขนาดไม่ใหญ่มากนัก แต่ถ้าหาไม่ได้จริงๆ หาซื้อเทียน ไปหสักหลายๆ เล่ม ก็ใช้ต้มน้ำพอกินม่าม่า กาแฟได้สบายๆ
การปฏิบัติตัวเมื่อเจอสัตว์ป่าบนเขาใหญ่
การขับรถมอเตอร์ไซค์ขึ้นเขาใหญ่ ความตื่นเต้นจะอยู่ที่การได้เจอะเจอกับสัตว์ป่า โดยเฉพาะสัตว์ขนาดใหญ่อย่างช้าง ในหน้าหนาว และหน้าร้อน อาจจะมีช้างออกมาหากินใกล้ถนน เมื่อขับรถเข้าเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่แล้ว จึงต้องระวัง อย่าประมาท ศึกษาการ ปฏิบัติตัวเมื่อเจอสัตว์ป่า เช่น
- หากเจอฝูงลิง อย่างจอดถ่ายรูปหรือให้อาหาร เพราะจะทำให้ลิงมารออยู่บนถนนเพื่อจะขออาหาร ส่งผลให้ลิงมีโอกาสเสียชีวิตจากการ ถูกรถชน ส่วนการจอดถ่ายรูปหรือให้อาหาร ก็เป็นการกีดขวางการจราจร อาจจะเป็นอันตราย เพราะรถบางประเภทแล่นเร็วมาก
- หากเจอข้าง ดูท่าทาง อารมณ์ แล้วก็ขับผ่านไป ห้ามแกล้ง ห้ามถ่ายรูปโดยมีแสงแฟลชเป็นอันขาด เพราะช้างจะตกใจแสงแฟลชและ อาจทำอันตรายถึงชีวิตได้ เคยมีคนตายมาแล้ว ห้ามเด็ดขาด การแกล้งช้างก็เช่นกัน โดยเฉพาะหากคิดจะกางเต็นท์ที่เขาใหญ่ ห้ามอย่าง เด็ดขาด เพราะมีหลายราย ที่ช้างตามไปเอาคืน ช้างจำแม่นมาก อย่างเสี่ยงอย่างเด็ดขาด อย่าเร่งเครื่อง อย่าบีบแตรทำให้ตกใจ ช้างตัว ใหญ่เคลื่อนที่เร็ว อย่าอยู่ใกล้ช้างมากเกินไป
ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางในช่วงเวลาที่มีโอกาสเจอช้างเช่น ช่วงเช้าก่อน 8 โมงเช้า และช่วงเย็น หลัง 4 โมงเย็น ซึ่งมีโอกาสเจอช้าง มากที่สุด ส่วนช่วงกลางวันอาจจะมีโอกาสเจอแต่ก็น้อยกว่า
ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์เจอช้างกับตัว ขณะขับรถมอเตอร์ไซต์ขึ้นเขาใหญ่ เกิดนึกได้ว่าลืมของบางอย่างอยู่ที่บ้าน ก็เลยหยุดรถเพื่อ จะดูของในเป้ โดยตำแหน่งที่จอดนั้น ช้างก็กำลังกินหญ้า กินไบไม้ห่างออกไปไม่ถึง 10 เมตร ผู้เขียนไม่รู้ตัวเลยว่ามีช้างอยู่ใกล้ๆ จนกระ ทั่งสังเกตุจากรถที่แล่นสวนทางมา จอดไม่ยอมขยับ จึงเริ่มเอะใจ แล้วหันไปข้างทาง ปรากฏว่าช้างตัวใหญ่ยืนมองผู้เขียนแบบงงๆ ว่ามัน มาจอดทำอะไร โชคดีที่ช้างตัวนี้ไม่อยู่ในอารมณ์ไม่ดี ไม่เช่นนั้น อาจจะไม่รอด เพราะระยะไม่ถึง 10 เมตร ช้างเดิน 2-3 ก้าว ก็ถึงตัวแล้ว ไม่มีทางหนีพ้นแน่นอน
ส่วนประสบการณ์ที่ทำให้เสียเวลามาก จะเป็นการเดินทางช่วงเช้าๆ เจ็ดโมงเช้า ซึ่งจะมีโอกาสเจอช้างสูงมาก และชางตัวนี้ก็ไม่ยอม ลงข้างทาง ต้องขับรถย้อนกลับหลายกิโมตร เสียเวลาอยู่ชั่วโมงกว่า
เมื่อเห็นช้างและตั้งสติได้ ผู้เขียนก็ขับรถออกไปช้าๆ แบบทางใครทางมัน ช้างก็กินหญ้าต่อ หากเจอช้างสิ่งสำคัญก็คือ ไม่ต้องไปจอด ดูช้าง ถ่ายรูปช้าง ให้ขับผ่านไปเลย เพราะอาจจะทำให้ช้างรำคาญ คราวนี้จะทำให้เพื่อนร่วมทางลำบากไปด้วย เผลอๆ อาจจะมีเพื่อน ช้างอยู่ไม่ไกลออกไป จะตกอยู่ในวงล้อมของช้าง จะยิ่งอันตรายมาก เจอช้าง จำไว้เลยว่า ไม่ต้องไปยุ่งกับเค้า ทางใครทางมัน
การขับรถมอเตอร์ไซค์ครอบครัวเดินทางไกล
การขับรถมอเตอร์ไซค์ทางไกล หลายคนอาจกลัวจะเกิดอันตราย หากขับในเลนซ้ายสุด หรือเลนสำหรับรถมอเตอร์ไซค์ ก็ยากจะเกิด อุบัติเหตุ นอกจากจะมีรถแซงซ้าย หรือมีสิ่งกีดขนาด ตกหล่นบนไหล่ทาง รถเล็กใช้ความเร็วให้เหมาะสม ก็จะช่วยลดอุบัติเหตุได้มากขึ้น
การขับรถมอเตอร์ไซค์ท่องเที่ยวรถขนาดเล็กอย่างรถครอบครัวทุกค่าย สามารถเดินทางไปได้ทุกที่ ปัจจุบันเป็นที่นิยม ต่างพากัน ออกทริปกันมาก ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง โดยเฉพาะการเที่ยวแคมปิ้งจะประหยัด เพียงแต่ต้องวางแผนให้ดี ซึ่งเรื่องนี้ก็ไม่น่า เป็นห่วงเพราะมีการแชร์ข้อมูลมากมายในเน็ต
การออกกำลังกายเพื่อช่วยลดความเมื่อยล้าเมื่อขับรถทางไกล
การขับรถมอเตอร์ไซต์ระยะทางไกลๆ ต้องออกกำลังกายเพื่อลดความปวดเมื่อย แนะนำท่าง่ายๆ 2 ท่า
1. กระโดดขาข้างเดียว สลับข้าง จะช่วยให้กล้ามเนื้อขาและก้นแข็งแรง การขับรถทางไกลนั่งบนเบาะนานๆ จะช่วยได้มาก ไม่ปวดเมื่อย มากนัก
2. การดึงข้อ จะช่วยให้กล้ามเนื้อหลัง แขน ไหล่ แข็งแรง ช่วยลดอาการเจ็บปวดหลัง แขน ไหล่ จากการขับรถระยะทางไกลๆ ได้เป็น อย่างดี
รถมอเตอร์ไซค์ขนาดเล็ก ก็ออกทริปได้ เพียงแต่ ต้องเตรียมตัวให้พร้อม ทั้งรถทั้งคน รถเล็ก อาจต้องพักคน พักรถให้บ่อย ไปไหนก็ ไปได้ ข้อดีอีกอย่างก็คือ ประหยัดค่าใช้จ่ายอย่างมาก เพราะเป็นรถเล็ก จึงสามารถแวะเที่ยวได้มากกว่ารถใหญ่ แต่หากต้องเดินทาง บ่อยๆ ก็ควรเลือกรถที่มีกำลังเครื่องมากสักหน่อย เช่น 125 cc เพื่อความมั่นใจในกำลังเครื่อง และรถใหญ่จะมีน้ำหนักตัวมากกว่ารถเล็ก คนขับจะไม่ค่อยเหนื่อยมากเหมือนรถเล็ก
ผู้เขียนเลือกรถค่ายคนบ้า Suzuki Shogun 125 ซึ่งแม้จะมีอายุมากแล้ว สิบกว่าปี เลขไมล์เกิน 120.000 กิโลเมตร แต่ก็ยังอยู่ในสภาพดี เป็นรถที่มีน้ำหนักตัวมาก นิ่ง ไม่ว่อกแว่กเมื่อสวนกับสิบล้อหรือรถบัส นิ่งมาก ขับทางไกลไม่ เหนื่อย เครื่องยนต์มีบาลานซ์เครื่อง ทำให้ไม่สั่น เมื่อใช้ความเร็วสูง เมื่อเครื่องไม่สั่นก็จะไม่เมื่อยฝ่ามือ รวมๆ แล้ว เป็นรถที่โอเครมาก แต่กินน้ำมันไปหน่อย