อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่อากาศเย็นสบายตลอดปี หน้าฝนก็สามารถมากางเต็นท์ได้ เพียงแต่อุปกรณ์กันฝนต้องพร้อม ไม่เช่นนั้น อยู่ลำบากแน่นอน อีกทั้งช่วงเดือน ก.ค. ส.คฺ. ปีนี้ก็มีวันหยุดยาว 3 วัน การกางเต็นท์หน้าฝน ก็ได้บรรยากาศไปอีกแบบ
ฝนตกบนเขาใหญ่ เรื่องเปียกอาจจะไม่เท่าไหร่ แต่ยังมีอะไรมากกว่านั้น ดังนั้นจึงต้องรู้และเตรียมตัวให้พร้อม เช่น
ฟลายชีท
อุปกรณ์กางเต็นท์ ต้องมีฟลายชีทที่แข็งแรง ป้องกันฝนได้ 100% อาจจะใช้ฟลายชีทแบบหนาสีบรอนซ์ตามห้างก็ได้ อุปกรณ์ตัวนี้ จะทำหน้าที่เหมือนหลังคา กันฝน เพราะบางครั้งฝนตกนานมากหลายชั่วโมง ฟลายชีทควรมีขนาดไม่น้อยกว่า 3 x 4 เมตร ขึ้นไป น้อย กว่านี้ฝนสาดเละเทะแน่นอน
การกางฟลายชีทให้เลือกต้นไม้ที่มีความแข็งแรง กางฟลายชีทและผูกเปลนอนข้างในด้วยเลย หากไปกันหลายคน การผูกเปลนอน อาจจะผูกแบบ 2 ชั้น นอนข้างบน ข้างล่าง
ผ้าปูพื้น
ในหน้าฝนจะมีทากดูดเลือด การใช้ผ้าปูพื้นย่อมจะดีกว่า เพราะปกติสนามหญ้าบนเขาใหญ่นั้น ไม่สามารถไปเดินเอ้อระเหยได้อยู่แล้ว ได้แผลเต็มแน่ๆ หน้าฝนแบบนี้ด้วยแล้วทากชุมมาก
คาถาเรียกทาก สำหรับใครที่มาเขาใหญ่ แล้วอยากจะเจอทากตัวเป็นๆ หน้าตามันเป็นอย่างนี้
เปล
การผูกเปลนอน จะนอนจริงๆ หรือนอนเล่นก็ตาม เป็นเรื่องที่ดีกว่า เพราะสบายใจเรื่องทากที่เดินอยู่ตามพื้นหญ้าและสบายใจจาก น้ำฝนเช่นกัน พื้นเปือกแฉะ ก็จะไม่เป็นปัญหาเลย ควรมีเต็นท์อย่างน้อย 2 หลัง ต่อคน ผูกเปล 2 ชั้น ชั้นบนไว้บางของ ชั้นล่างไว้นอน เล่น ส่วนรองเท้าให้หาที่แขวนกันทาก อย่าวางไว้กับพื้นหญ้า
ร่ม
ร่มเป็นอุปกรณ์สำคัญขาดไม่ได้เลย เพราะเป็นหน้าฝน เวลาจะเข้าห้องน้ำไปซื้อของ เดินเล่น ไม่มีร่มก็เปียกแน่นอน
จักรยานพับ
จักรยานพับคันเล็กๆ เป็นพาหนะที่จำเป็น ไว้เผื่อเข้าห้องน้ำ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสนามหญ้าหรือพื้นดิน ป้องกันทากเกาะ โดย เฉพาะผู้ที่กางเตนท์บนพื้นหญ้า แต่หากกางเต็นท์บนพื้นปูนก็ไม่ใช่ปัญหา
เต็นท์กันน้ำ 100%
การเลือกเต็นท์เพื่อใช้งานในหน้าฝน ต้องสามารถกันน้ำได้ดี ไม่เช่นนั้น ก็ต้องเตรียมพลาสติกมาไว้คลุมเต็นท์อีกที ตัวเต็นท์นั้นจะ ต้องผูกเชือกให้ครบทั้งหมด ซึ่งจะช่วยให้เต็นท์มีความแข็งแรง เพราะบางครั้งก็มีลมแรงมาก และทำให้ผ้าเต็นท์ตึง ลดโอกาสที่น้ำจะซึม เข้าภายในเต็นท์ ดังภาพ
ส่วนเต็นท์ชั้นเดียวแบบนี้ ไม่ควรใช้ในหน้าฝน เพราะจะไม่มีฟลายชีทช่วยป้องกันฝน ข้างในน้ำซึมเข้าได้ หากฝนตกต่อเนื่องนานๆ จึงควรหลีกเลี่ยงเต็นท์แบบนี้ นอกเสียจากจะมีฟลายชีทคลุมข้างบนอีกชั้นหนึ่ง
อุปกรณ์ประกอบอาหาร
หากต้องการทำอาหารทานเอง ก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะที่จุดกางเต็นท์ลำตะคอง อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จะมีปลั๊กไฟฟ้าบริการ หุงข้าวได้ ชาร์จแบตเตอรี่ ได้ อาจจะพกหม้อหุงข้าวไฟฟ้าใบเล็กๆ อาหารแห้ง ติดตัวไปด้วย พร้อมเตาแก๊สกระป๋อง และอุปกรณ์ประกอบอาหาร ที่จำเป็น
กล่องข้าวหรือปิ่นโต
เรื่องอาหารการกิน ถ้าไม่อยากให้เป็นเรื่องยุ่งยาก ก็เตรียมปิ่นโตไปก็พอ มีช้อนส้อม ที่ล้างจาน ก็พอแล้ว สั่งอาหารสำเร็จแล้วใส่ ปิ่นโตหรือกล่องอาหาร ไม่ต้องยุ่งยากเรื่องการทำอาหาร และไม่เป็นขยะ เหมือนกล่องโฟมหรือถุงพลาสติก อาจจะเตรียมไปเฉพาะ อาหารแห้ง ขนมปัง กาแฟ ที่ต้มกาแฟ ผลไม้ ก็พอแล้ว
พาวเวอร์แบงก์ความจุสูงๆ
การแคมปิ้งหน้าฝนหากเจอฝนตกหนักต่อเนื่องก็ต้องมีกิจกรรมหรืออะไรทำ การใช้งานมือถือเป็นที่นิยม อ่านข่าว ดูวิดีโอ แชท ฯลฯ ดังนั้นพาวเวอร์แบงก์ความจุสูงๆ เป็นสิ่งจำเป็น จะได้ไม่ต้องไปชาร์จบ่อยๆ โดยจะมีที่ชาร์จบริการฟรี เน้นรุ่นที่มีไฟฉายด้วย จะดีมาก เพราะสามารถเปิดได้ทั้งคืนทั้งวัน
ตำแหน่งกางเตนท์เลือกตรงไหนดี
การกางเตนท์หน้าฝนที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ แนะนำให้ กางเต็นท์ที่ลำตะคอง (ข้อมูลภาพและสภานที่) ที่นี่ค่อนข้างโปร่ง โล่ง โดยพยายามเลือกตำแหน่งที่ติดพื้นปูนหรือติดถนน เพราะบนพื้นหญ้ามีทากดูดเลือด จึงควรหลีกเลี่ยงการเดินบนพื้นหญ้าให้มากที่สุด ไม่เช่นนั้นก็ต้องมีจักรยานพับไว้ปั่น เผื่อเข้าห้องน้ำ นอกจากนี้หากฝนตกหนัก ก็จะได้ย้ายเต็นท์มาไว้บนพื้นถนนหรือพื้นปูน
ผู้เขียนชอบกางเต็นท์ในหน้าฝน ผูกเปล นอนฟังเสียงฝน ได้บรรยากาศมาก จิบอะไรเย็นๆ นอนดูทาก ดูกวาง และดูเต็นท์อื่นพา กันหนีฝน ก็เพลินดี เพราะประสบการณ์น้อย ยังไม่เคยเจอฝน เตรียมอุปกรณ์ไม่พร้อมก็ต้องลำบากเป็นธรรมดา แต่หากเตรียมตัวตาม ที่ได้แนะนำไป ก็ไม่ลำบากแน่นอน สิ่งสำคัญก็คือหลังคา หรือฟลายชีท ต้องใหญ่และกันฝนได้ และผูกเปลนอนใต้ฟลายชีท ก็ต้องหามุม หรือทำเลที่มีต้นไม้สามารถกางฟลายชีทได้ ส่วนเต็นท์จะกางหรือไม่ก็ไม่ใช่ปัญหาแล้ว
หากอุปกรณ์ไม่พร้อมก็ต้องพากันไปอยู่ในรถสักพักก็ต้องกลับ เสียเวลา เสียความตั้งใจที่จะมากางเต็นท์ นอกจากอุทยานเขาใหญ่ แล้วใกล้ๆ กรุงเทพก็ยังมีสถานที่ที่น่าสนใจเช่น ที่กางเต็นท์เจ็ดคต ทับกวาง สระบุรี แต่ข้อเสียก็คือ ยุงเยอะ ต้นตะเคียนก็เยอะ มันน่ากลัว