การทำงานประจำมีเงินเดือนทุกเดือน บางคนก็ใช้ชีวิตต้นเดือนเหมือนราคา แต่กลายสภาพเป็นเหมือนยาจกเมื่อเข้าสู่ช่วงปลายเดือน เพราะใช้เงินหมดก่อนถึงสิ้นเดือน บริหารเงินไม่เป็น ใช้เงินเก่ง เงินไม่ชอบหน้า เลยรีบหนีไปที่อื่น ฯลฯ เมื่อชีวิตมักจะเป็นแบบนี้อยู่ทุกเดือน ก็ต้องเตรียมเมนูโคตรประหยัดไว้รอรับมือ ไม่เช่นนั้น อดแต่ไม่ตาย แต่ทรมาน

 

เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือทำอาหารให้พร้อม

วิธีการรับมือช่วงปลายเดือน เริ่มกรอบ เพราะใช้เงินหมดแล้ว ปลายเดือนอาจจะแทบไม่พอใช้ ก็ต้องสรรหาวิธีช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย อย่างเรื่องค่าอาหาร ซึ่งจะประหยัดได้มากหากรู้จักทำอาหารเอง และต้องฝึกทานอาหารแบบเรียบง่ายให้เป็น จึงจะเอาตัวรอดไปจนกว่าจะถึงวันเงินเดือนออกได้ ตัวอย่างเครื่องมือทำอาหารที่จำเป็น

1. หม้อหุงข้าวไฟฟ้า มีหลายขนาด หากอยู่คนเดียวอาจจะเลือกขนาดเล็กๆ 0.3 ลิตรก็พอ เวลาย้ายที่พักก็ค่อนข้างสะดวกในการพกพา หรืออย่างน้อยก็ไม่เกิน 1 ลิตร เลือกแบบมีซึ้งด้วย เผื่อไว้ทำอาหารได้หลายประเภท ทั้ง นึ่ง อบ ต้ม ผัดและทอด (หม้อหุงข้าวไฟฟ้าก็สามารถผัดและทอดได้นะ) หม้อหุงข้าวไม่ควรเลือกแบบแทปล่อน เพราะมันจะร่อนเมื่อใช้ไปนาน หม้อหุงข้าวควรจะซื้อไว้ 2 ใบ โดยเลือกขนาดเท่ากัน ตัวหม้อหุงข้าวที่มีตัวทำความร้อน ให้นำไปเก็บไว้ที่บ้านในต่างจังหวะ เก็บกับตัวไว้เฉพาะตัวหม้อที่หุงข้าวเท่านั้น วิธีนี้ก็จะสามารถทำเมนูอาหารประเภทต้มได้ หรือไว้อุ่นอาหารได้ เพราะบางเมนูอาจจะทำไว้ทานหลายวัน


2. จาน ชาม ช้อน เน้น โลหะทั้งหมด เพื่อความทนทาน ใช้งานได้ทั้งชีวิต ถ้าไม่หาย พกพาสะดวก ไม่ต้องกลัวแตกหัก ควรเลือกขนาดให้พอดีสามารถเก็บในหม้อหุงข้าวไฟฟ้าได้ ไม่ อาจจะเลือกจานชามช้อนสำหรับแคมปิ้งเพราะจะมีขนาดกะทัดรัด เวลาจัดเก็บ ประหยัดพื้นที่ พกพาง่าย กรณีไปเที่ยวแคมปิ้งก็อาจจะซื้อแอลกอฮอล์แข็งไปใช้ หรือใช้เตาแก๊สปิกนิค อุปกรณ์ประเภทนี้ ไม่ควรซื้อแบบเคลือบแทปล่อน เพราะดูแลยากกว่า โดยเฉพาะเมื่อมันร่อนออก

 

 


3. ขวดน้ำ 6 ลิตร ไว้ใส่ข้าวสาร สะดวกเก็บข้าวสารขนาดถุงละ 5 กิโลกรัมได้พอดี ป้องกันมอดแมลงได้ 4. เครื่องเทศ ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ น้ำจิ้มประเภทต่างๆ แม็กกี้ คะนอปรุงรส เครื่องแกงเครื่องปรุงรสชนิดอื่นๆ 5. ตู้เย็นขนาดเล็ก ไว้เก็บอาหารสด แต่ไม่จำเป็นก็ได้ หากยังจะต้องย้ายที่พักอยู่บ่อยๆ ก็เลือกของใช้ขิ้นเล็กเท่าที่จำเป็นไว้ก่อน 6. อุปกรณ์อื่นๆ เช่น มีดให้เลือกมีดพับพกพาง่าย เขียงขนาดเล็ก สามารถเก็บลงในหม้อหุงข้าวได้เช่นกัน

 

หากชีวิตยังจะต้องเดินทางบ่อยๆ หรือยังต้องมีการย้ายที่พักอยู่บ่อยๆ เครื่องมือทำอาหารจำเป็นต้องวางแผนให้ดี ต้องมีขนาดเล็กหรือถ้าใหญ่ก็ต้องสามารถวางเก็บอุปกรณ์อื่นไว้ข้างในได้ทั้งหมด

ตัวอย่างเมนูประหยัดไว้รับมือช่วงปลายเดือน เงินแทบไม่เหลือแล้ว

ไข่ต้มกับข้าวสวย

เมนูพื้นฐาน ควรหาโอกาสลองชิม ข้าวสวยไข่ต้มใน 7-11 เพื่อจะได้คิดสูตรที่ใกล้เคียงไว้ทำกินเอง เมนูไข่ต้ม ก็สามารถทำได้หลายแบบเช่น 1. ไข่ต้มกับข้าวสวย การต้มไข่นั้นง่ายมาก กรณีใช้หม้อหุงข้าวแบบมีซึ้ง ก็ใช้การนึ่ง ถ้าไม่มีซึ้ง ก็ใช้การใส่ไปในข้าวขณะหุงง่ายๆ แค่นี้ ไม่ต้อทำอะไร 2. การทำไข่ต้มมีหลายวิธีที่จะทำให้อร่อย หากไม่ต้องการให้ไข่แดงสุกมากเกินไป ขณะนึ่งหรือหรือใส่ไข่ไปในข้าว ให้จับเวลา ประมาณ 15 นาที แล้วเอาออกมาแช่น้ำ ให้เย็น ก็จะได้ไข่ขาวสุก ไข่แดงเหมือนมะตูมสมใจ 3. การใช้ไข่เป็ดกรณีทำไข่ต้มแบบสุกหรือไข่แดงไม่สุก ไข่ที่ได้จะมีรสชาติดีกว่า เพราะเนื้อไข่ขาวเหนียวกว่าอร่อยกว่า แต่ไขเป็ดแพงกว่าไข่ไก่ 4. การซื้อไข่ไก่ให้เสาะหาตลาดสดใกล้บ้่าน เพราะไข่จะมีราคาถูกกว่าไข่ตามห้างหรือ 7-11 5. เมนูไข่อาจจะทำ ยำไข่ โดยต้มไข่ไม่ให้ไข่แดงสุก หั่นหอมแดงซอย พริกซอย เติมคะนองรสลาบเข้าไป บีบมะนาว เติมน้ำปลา น้ำตาล ก็จะได้ยำไข่แบบง่ายๆ


6. เมนูไข่ตุ๋น เป็นอีกเมนูหนึ่งที่ทำงาน แต่ต้องมีซึ่ง ไม่เช่นนั้น หากไม่มีซึ้ง ขณะหุงก็ต้องรอให้ข้าวให้สุก แล้วก็วางถ้วยลงไป เพื่อนึ่งทำเมนูไขตุ๋น ซึ่งจะมีสูตรการทำไข่ตุ๋นหลายแบบ สามารถค้นหาเมนูได้จากเว็บไซต์ทำอาหาร เลือกเมนูที่โดนใจไว้หลายๆ เมนู


7. หากที่อยู่อาศัยสามารถทำอาหารที่มีกลิ่นแรงและทำให้ห้องใกล้เคียงเกิดอาการโหยหิวอย่างไข่เจียว ก็จะมีสูตรทำอาหารที่หลากหลายไปอีก เช่น ไข่น้ำ ทำไข่เจียวเสร็จแล้ว ก้ใส่น้ำใส่ผักต้มต่อให้เป็นไข่น้ำ หรือจะผัดก็ได้ สับใข่เจียวที่สุกแล้วให้เป็นชิ้นพอคำ แล้วใส่กระเทียม เติมผัก เครื่องปรุง เพื่อผัด เป็นเมนูผักผัดไข่

 

เมนูไข่ยังมีอีกเยอะมาก จะเลือกเมนูใดก็ต้องดูที่กลิ่น หากมีกลิ่นไปไกลอย่าง ไข่เจียว อาจจะเลี่ยง และขณะทำอาหารต้องเปิดพัดลมในห้องระบายอากาศ และควรทำอาหารช่วงที่ไม่มีคน

แกงสำเร็จรูปกับข้าวสวย

เมนูนี้ง่ายเช่นกัน โดยซื้อแกงสำเร็จรูป เช่น ตามห้างใกล้บ้าน หรือสั่งตามร้านอาหารตามสั่ง ก็ได้ 1. การซื้อแกงหรืออาหารสำเร็จรูป จะค่อนข้างสะดวกเพียงแค่อุ่นอาหารเท่านั้นก็พร้อมรับประทาน อาจจะซื้อตอนเย็นมาทานมื้อเย็นและเผื่อไว้สำหรับมื้อเช้าอีกมื้อ ส่วนกลางวันทานที่ทำงาน ก็จะประหยัดไป 2 มื้อ 2. การเก็บแกงไม่จำเป็นต้องใช้ตู้เย็น เพียงแค่อุ่นแล้วเก็บใส่ถ้วย ชาม หรือหม้อ ที่มีฝาปิด แล้วแง้มฝาไว้เล็กน้อย ก็ไม่มีปัญหาเรื่องบูด แน่นอน 3. ส่วนการอุ่นแกงนั้น ทำได้ง่ายๆ โดยขณะหุงข้าวก็วางไปบนซึ้งนึ่ง หรือหากไม่มีซึ้งเมื่อข้าวใส่สุขก็ใส่ถ้วยแล้ววางไว้บนข้าวที่ใกล้สุก กับข้าวก็จะอุ่นพอดี ไม่ต้องไปต้มให้เสียค่าไฟฟ้า ไม่ควรใช้เตาไมโครเวฟเพราะกินไฟมาก ใช้การนึ่งก็พอแล้ว


4. ข้าวแกงที่ซื้อมานั้น อาจจะเสริมเติมผักหรือเนื้อเข้าไป เช่น ซื้อพะโล้ ก็อาจจะเติมผักเข้าไป หรือทำไข่ต้ม แล้วใส่เพิ่มเข้าไป ก็จะเพิ่มปริมาณและสามารถทานได้อีกวัน แถง 1 ถุง ราคา 30 อาจจะเติมผักหรือเนื้อไปอีกหน่อย ต้นทุนเพิ่ม แต่ก็ทานได้หลายมื้อหรือมากกว่าหนึ่งวัน

 

 

สารพัดน้ำพริก ผักสด และข้าวสวย

น้ำพริกมีหลายแบบ อย่างน้ำพริกเผา อย่าใส่ตู้เย็นจะเก็บไว้ได้นาน และไม่ขึ้นรา ส่วนผักสด ต้องเลือกผักที่ทานแล้วรู้สึกว่าเข้ากันได้ดีกับน้ำพริกแต่ละแบบ ต้องทดลองเอง ปากใคร ลิ้นใคร ลิ้นมัน ชอบไม่เหมือนกัน 1. น้ำพริกมีหลายแบบ จะซื้อตามห้างหรือสั่งจากเน็ตก็ไม่มีปัญหา เพราะน้ำพริกบางอย่างเก็บไว้ได้นาน โดยไม่ต้องแช่ตู้เย็น อาจจะมีระยะเวลาส่งของหลายวันแต่ไม่มีปัญหาแน่นอน 2. การทานน้ำพริก อาจจะมีเมนูเสริมเช่น ไข่ต้ม ไข่เจียว ไข่ตุ๋น หรือเมนูอื่น 3. กรณีซื้อน้ำพริกจากตลาด เช่น น้ำพริกกระปิ ให้ต้มให้สุก ก็จะเก็บได้เกินหนึ่งวัน โดยไม่ต้องแช่ตู้เย็น เพียงแต่แง้มฝาไว้หน่อยเท่านั้น 4. กรณีของน้ำพริกกะปิอาจจะทำเอง ซื้อกะปิกระป๋องไว้ทำอาหารเอง อาจจะลองสูตรนี้ก็ได้ นำกระปิไปต้มกับน้ำพอขลุกขลิก แล้วปรุงรสด้วย มะนาว น้ำปลา น้ำตาล ก็จะกลายเป็นน้ำพริกกะปิยามยาก แต่จะกินได้หรือไม่ ก็ต้องหาสูตรเอาเองนะ

 

เมนูปลากระป่อง อาหารกระป๋องกับข้าวสวย

เมนูปลากระป๋อง อาหารกระป๋องมีหลายแบบ แต่รวมๆ แล้วแพง เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง 30 บาท ซื้อข้าวแกงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า ไม่ช่วยให้ประหยัดเงินแต่อย่างใด แต่ก็มีบ้างบางเมนูที่ไม่ต้นทุนไม่แพงมาก 1. เมนูปลากระป๋อง อาจจะซื้อปลากระป๋องที่ไม่เกิน 20 บาท แล้วนำมาทำยำปลากระป๋อง ใส่หอมแดงซอย ต้นหอมซอย พริกป่น มะนาว เกลือไม่ต้อง น้ำตาล ก็ให้รสชาติไม่เลว 2. เมนูประเภทน้ำพริกปลากระป๋อง แต่ส่วนใหญ่รสชาติออกทะเลกันหมด ไม่อร่อย

 

เมนูปลากระป๋อง รวมๆ แล้วไม่คุ้ม แพงเกินไป

 

เมนูเนื้อไก่ เนื้อหมู ปลา ต้ม ทอด ผัด

หากสามารถทำอาหารประเภท ต้ม ทอด ผัดได้ เมนูที่มีเนื้อไข่ หมู ประเภทต้มผัดทอด ก็มีหลายวิธีในการทำอาหาร เช่น 1. ต้มไก่กับผัก อย่างฟัก หรือผัดชนิดอื่น การต้มก็ใช้หมูหุงข้าวได้เลย ตามที่ได้แนะนำการเลือกหม้อให้ซื้อไว้ 2 ชุดเหมือนกัน เพื่อจะเอาหม้อชั้นในไว้ใช้ ไว้สำหรับหุงข้าวและไว้ทำอาหารประเภทอื่นนั่นเอง แต่หากค่าไฟแพงเกินไป ก็ต้องเลี่ยงไปใช้เตาแก๊สปิ๊กนิ๊กแทน 2. เมนูประเภทต้มยังมีอีกหลายอย่าง การต้มนั้น ให้หั่นเนื้อให้มีชิ้นเล็กที่สุด เพื่อให้สุกเร็ว ประหยัดค่าไฟฟ้า หรือประหยัดแก๊ส อย่าเพิ่งปรุงรส อาจจะใส่แค่เกลือเล็กน้อยเท่านั้น การปรุงรสให้ปรุงเมื่อต้องการทาน ก็ตักแยกออกมา แล้วปรุงรสตามต้องการ ก็จะทานได้เกินหนึ่งวัน 3. เมนูแบบขี้เกียจสุด ก็มีเมนูนึ่งมาแนะนำ เพียงแต่ต้องหาสูตรหนักเนื้อ หมู ไก่ หรือปลา แล้วนำไปนึ่งขณะหุงข้าว โดยหั่นให้มีชิ้นเล็กที่สุด ใช้ถ้วยกระเบื้องหรือเซรามิก เพราะจะเก็บความร้อนได้ดี สุกทั่วถึง ข้าวสุกก็ทานด้วยกันได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาทำเมนูประเภทต้ม อาจจะทำน้ำจิ้มรสเด็ดไว้รองรับ

 

ข้าวสารผสมธัญพืช

ข้าวสารที่ใช้หุงข้าวนั้น เพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหาร แนะนำให้ผสมธัญพืชหลากหลายชนิดลงไป เพื่อหุงพร้อมกับข้าว เช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ลูกเดือย หรือธัญพืชชนิดอื่น ไม่ต้องกลัวว่าจะขาดสารอาหาร

 

เมนูประเภทนึ่งสารพัดผักหรือผลไม้หรือธัญพืช

สำหรับหม้อหุงข้าวไฟฟ้าที่มีซึ่งสามารถนึ่งได้ ก็จะสามารถทำเมนูได้หลากหลาย ขณะหุงข้าวอาจจะนึ่งไปด้วยเช่น 1. การนึ่งถั่วลิสง 2. การนึ่งถั่วเขียว ต้องแช่น้ำไว้ก่อนประมาณ 1 ชั่วโมงไม่เช่นนั้นจะไม่สุก 3. อาจจะใส่น้ำตาลใส่น้ำเพื่อทำของหวานก็ได้ 4. นอกจากธัญพืชแล้ว ก็มีผักประเภทหัว อย่าง เผือก กล้วยดิบ ข้าวโพดดิบ ฯลฯ สามารถนำมานึ่งไปพร้อมกับการหุงข้าวได้เช่นกัน ไม่ต้องไปต้มให้เสียเวลา

 

การต้มน้ำเพื่อทานกาแฟหรือเครื่องดื่มธัญพืชอื่นๆ

สำหรับคอกาแฟต้นเดือนอาจจะกินกาแฟสดแก้วละ 40-50 บาท แต่ปลายเดือน กินกาแฟซองก็ได้ ขณะหุงข้าว ก็นำน้ำใส่ถ้วย วางไว้ในซึ้งขณะหุงข้าว น้ำก็จะร้อน ยกออกมา เทกาแฟซองลงไป ห้ามใส่กาแฟลงไปขณะนึ่งให้น้ำร้อน เพราะกาแฟจะฟูและล้นลงไปในข้าว วิธีนี้ไม่ต้องเสียเลาต้มน้ำ ให้เปลืองค่าไฟฟ้า

 

การซื้ออาหารตุนไว้ก่อนช่วงต้นเดือน

ถ้าคิดว่าตัวเองเป็นคนใช้เงินเก่ง ทันทีที่เงินเดือนออก ต้องรีบซื้ออาหารตุนไว้ ข้าวสารอาหารแห้ง ต่างๆ เพราะบางทีก็ใช้เงินเพลิน แม้จะกินอยู่อย่างยาจกเข็นใจ แต่ก็แทบจะไม่รอด เมื่อเงินเดือนออก ก็ต้องรีบ รีบเลย ก่อนจะใช้เงินหมดเสียก่อน

 

ผลไม้เสริมวิตามิน

เพื่อไม่ให้ขาดสาารอาหาร ควรซื้อผลไม้ไว้ด้วย เช่น กล้วยเพราะจะสุกไม่พร้อมกัน แม้จะเป็นกล้วยดิบก็สามารถนำไปนึ่งได้ ไม่จำเป็นต้องรอให้สุก เน้นผลไม้ที่เก็บไว้ได้นาน

 

ปลูกพืชผักรอบบ้าน

หากมีพื้นที่รอบบ้าน ก็ควรปลูกพืชผักสวนครัว อาจจะปลูกลงกระถางก็ได้ ถ้าไม่สะดวกปลูกลงดิน หรือกรณีอยู่หอพัก ก็มีพืชหลายชนิดที่สามารถปลูกในชิ้นชักโต้ได้ หรือปลูกแบบแขวน ปลูกแนวตั้งข้างผนังห้อง ระเบียง ปลูกผักเหล่านี้ไว้ใส่ในเมนูง่ายๆ อย่าง บุหมี่สำเร็จรูป

 

 

เมนูบะหมี่สำเร็จรูป

บุหมี่สำเร็จรูปเป็นเมนูยอดฮิตของคนไทย เมื่อเริ่มกรอบ เงินเริ่มหมด หลายคนก็จะนึกถึงเมนูนี้ขึ้นมาทันที แต่เพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหาร จำเป็นจะต้องมีไข่และผักไว้ผสมลงไปด้วย หรืออาจจะใส่เข้าเพิ่มเข้าไปด้วยก็ได้ ให้อยู่ท้อง

 

 

 

ซื้อทรัพย์สินไว้บ้างเผื่อแลกเปลี่ยนเป็นเงินสด

หากคิดว่าตัวเองเป็นคนที่ใช้เงินเก่งมาก มักจะใช้เงินหมดก่อน สิ้นเดือน ก็ควรหาซื้อทรัพย์สิน อย่างทอง แต่ไม่ควรทำบัตรเครดิต ไว้เผื่อนำไปแลกเปลี่ยนจำนำ เปลี่ยนเป็นเงินสด ไว้สำรองช่วงปลายเดือน แต่จริงๆ แล้วก็ไม่ควรทำ เพราะจะเสียนิสัย อย่างการซื้อทองเก็บไว้ ก็อาจจะนำไปจำนำทุกปลายเดือนแบบนี้ก็แย่เหมือนกัน แต่ก็เป็นตัวเลือกที่ดี หากไม่มีใครให้พึ่งพา เป็นคนตัวคนเดียว หรือไม่อยากรบกวนใครให้เดือดร้อน

 

เมนูประหยัดไว้รองรับช่วงปลายเดือนที่เปลี่ยนสถานะตัวเองจากราชาเป็นยาจก ก็ยังมีอีกหลายเมนู เพียงแต่ต้องหาเมนูที่ถูกปากไว้รองรับ การมีนิสัยใช้เงินเก่ง บางทีก็แก้ยาก และไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จึงจะสามาระแก้ได้ ก็ต้องมีแผนสำรองไว้รับมือ ไม่เช่นนั้นชีวิตปลายเดือนลำบากแน่นอน แต่วิธีแก้ไขในลักษณะนี้เป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ จริงๆ แล้วต้องฝึกจิตใจให้เข็มแข็ง ควบคุมตัวเอง เรื่องการใช้เงินให้ได้ อย่าตามใจตัวเอง จนเสียวินัยการเงิน ก็จะไม่มีปัญหาการเงิน เพราะหากใช้จนหมดทุกเดือนแบบนี้ ชีวิตบั้นปลายลำบากแน่นอน

 

Sponsored Ads