รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะที่นิยมใช้งานกันมาก เพราะมีความคล่องตัว แต่รถแบบนี้ก็สร้างสถิติเกิดอุบัติเหตุสูงสุดเช่นกัน การใช้รถ เหล่านี้จึงต้องศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยของแต่ละรุ่น แต่ละคัน ระบบเบรคเป็นอย่างไร ระยะเบรคมากน้อยแค่ไหน เพื่อจะได้ขับรถ ได้อย่างปลอดภัย ลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุลงได้ ในที่นี้จะเน้นกล่าวถึงรถมอเตอร์ไซต์ขนาดเล็กเท่านั้น

 

ประสิทธิภาพในการเบรคของรถจักรยานยนต์จะต่างกัน โดยมีตัวแปรหลายอย่างที่เกี่ยวข้องที่จะต้องทำความเข้าใจ โดยเฉพาะกับ รถของตนเอง

ลมยางกับระยะเบรค

ก่อนอื่นให้ศึกษาเรื่องลมยางกับระยะเบรคกันก่อน ในรถแต่ละคันจะมีข้อกำหนดมาตรฐานในการเติมลมยาง ลมยางแข็งระยะเบรค จะลดลง ล้อหน้าจะเติมลมน้อยกว่าล้อหลัง เพื่อที่เวลาเบรคยางจะยวบลงได้มาก สัมผัสถนนได้อย่างเต็มที่ จะช่วยลดระยะเบรค และ เบรคได้ดีกว่าลมยางหน้าที่ค่อนข้างแข็ง

 

คุณภาพยางและประสิทธิภาพการเบรค

ยางแต่ละแบบ แต่ละยี่ห้อมีผลต่อประสิทธิภาพในการเบรค ยางบางยี่ห้อ ค่อนข้างนิ่ม เวลาเบรคจึงมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า แต่อาจ จะหมดเร็วกว่า เช่น IRC กับ Michelin ยาง IRC นั้นนิ่มและเบรคดีกว่า ยางแต่ละยี่ห้อจำเป็นต้องศึกษาในเรื่องประสิทธิภาพหากเน้นใช้ ความเร็วสูง ยางบางยี่ห้อขึ้นชื่อในเรื่องความลื่นและล้ม จำเป็นต้องศึกษาและเลือกให้เหมาะสมเช่นกัน

 

วิธีการใช้เบรครถมอเตอร์ไซค์

การใช้เบรครถมอเตอร์ไซค์ให้แตะเบรคหลังก่อนเสมอ เพื่อป้องกันล้อหน้าพับ หรืออาจทำให้รถหมุน ตีลังกา ล้มคว่ำหากเบรคล้อ หน้าแรงจนล้อหน้าล็อก เพราะกดแรงเกินไป โดยเฉพาะหากยางไม่ดี หรือถนนลื่น ทางลูกรังจะมีโอกาสล้มสูงมาก ให้แตะเบรคหลังก่อน แล้วตามด้วยเบรคหน้า วิธีนี้รถจะไม่เสียการทรงตัว ไม่เสียหลัก สำหรับรถที่มีครัชไม่ควรกำครัชเพราะจะทำให้ระยะเบรคยาวขึ้น ส่วน การเบรคที่ต้องการหวังผลมากขึ้น ให้ขยับตัวไปข้างหลัง เพื่อให้น้ำหนักตัวกดที่ล้อหล้ง จะเบรคได้ดีขึ้น ควรฝึกให้เคยชิน ในการเบรคนั้นแม้จะใช้เบรคหลังก่อนเพื่อไม่ให้เสียหลัก และก็ต้องใช้เบรคหน้ามากกว่า เพื่อให้รถสามารถหยุดได้ ซึ่งจะใช้มากหรือ น้อยก็ขึ้นอยู่กับความเร็วรถ ซึ่งจำเป็นต้องฝึกการเบรคที่ความเร็วระดับต่างๆ ให้เกิดความเคยชินกับรถของตัวเอง ทดลองขับบนถนน ว่างๆ ปลอดภัยแล้วลองฝึกการเบรคให้เกิดความเข้าใจ ให้รู้จังหวะ และใช้วิธีนี้ในชีวิตประจำวันให้เกิดความเคยชิน

 

ระยะเบรคของรถแต่ละคัน

เรื่องนี้จะต้องทดลอง ทดสอบรถที่ใช้งาน ในความเร็วต่างๆ เช่น 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือ 100 เพื่อให้รู้ ระยะเบรคของรถที่ใช้ ว่ารถจะสามารถหยุดได้ที่ระยะกี่เมตร โดยลงทดสอบหลายแบบ ทั้งการเติมลมยางตามมาตรฐาน วิธีเบรคในหัว ข้อก่อนหน้า

 

สภาพถนนขณะนั้น

สภาพถนนมีผลต่อระยะเบรคเช่นกัน ถนนราบเรียบ แห้งและใช้ยางดอกใหญ่จะเบรคได้ดีกว่ายางดอกเล็ก แต่ถนนเปียก ยางดอก เล็กจะทำงานได้ดีกว่า นอกจากนี้ยางแต่ละยี่ห้อ ประสิทธิภาพในการเบรคก็ต่างกันด้วยเช่นกัน การรู้จักรถและสภาพถนน ก็จะใช้ความ เร็วได้อย่างเหมาะสม และสามารถหยุดรถได้อย่างปลอดภัย

 

น้ำหนักรถและระยะเบรค

รถมอเตอร์ไซค์บางรุ่น โดยเฉพาะรถใหญ่จะมีน้ำหนักตัวมาก ระยะเบรคจะยาวขึ้น เพราะมีแรงเฉื่อยมากกว่า น้ำหนักรถมากจะช่วย เรื่องการทรงตัวขณะขับขี่แต่ขณะเบรคจะส่งผลให้ระยะเบรคยาวขึ้น จึงต้องเลือกขนาดยางให้เหมาะสม บางคนไปเปลี่ยนยางเป็นขนาด เล็ก ระยะเบรคก็จะยาวขึ้น ไม่ปลอดภัย

 

การใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรค

เครื่องยนต์ช่วยเบรคหรือลดความเร็วรถ เมื่อผ่อนคันเร่งจะเกิดเสียง อื้อออ และรถจะเริ่มชะลอความเร็วลงเอง นี่ก็คือการใช้เครื่อง ยนต์ช่วยเบรคหรือ Engine Brake นั่นเอง การเบรคในลักษณะนี้นิยมใช้เวลาขับรถลงเขา ลงเนิน ซึ่งจะต้องมีความเข้าใจกับรอบเครื่อง ยนต์ของแต่ละเกียร์ เช่น เกียร์ 1 ใช้ความเร็วไม่เกินประมาณ 20 กิโลเมตร (รถแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อไม่เหมือนกัน ต้องลองทดสอบด้วย ตัวเอง), เกียร์ 2 ความเร็วไม่เกิน 40, เกียร์ 3 ไม่เกิน 60 กิโลเมตร เป็นต้น สังเกตุจากเสียงเครื่องยนต์หากดังมาก แสดงว่า รอบ เครื่องไม่สัมพันธ์กับเกียร์ ต้องใช้เบรค เพื่อให้รถอยู่ในระดับความที่เหมาะสมกับเกียร์ หากเป็นการลงเนินจะเห็นผลชัด เช่น ลงด้วย ความเร็วสูง แต่ใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรคที่เกียร์ 1 ก็มีโอกาสทำให้เกียร์พังได้ ก็ต้องเบรคให้ความเร็วลดเหลือประมาณ 20 หรือจนกว่า เสียงเครื่องจะไม่ดังมาก และความเร็วรถขณะลงเนิน ก็ไม่เร็วเกินไป

 

การใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรค ขณะขับรถลงเขาหรือลงเนินนั้น จะใช้เกียร์อะไรนั้นก็อยู่ที่ความชัน ชันมาก ก็ต้องใช้เกียร์ต่ำๆ เกียร์ 1 หรือ 2 แต่ความเร็วรถ ก็ต้องให้เหมาะสมกับเกียร์ด้วย โดยต้องใช้การเบรค เพื่อไม่ให้รถเคลื่อนที่ลงเนินเร็วเกินไป หากไม่ใช้เครื่องยนต์ ช่วยเบรค แต่ใช้การบีบเบรคหรือแตะเบรค อาจจะทำให้เบรคไหม้ได้ กรณีขับลงเนินเขาชันมากๆ จึงต้องใช้สลับกัน การเบรคในลักษณะ นี้ต้องศึกษา

 

ส่วนการใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรคในขณะขับรถบนทางเรียบนั้น จะใช้เมื่อความเร็วรถเริ่มลดลง แต่กรณีเป็นรถที่มีครัช ห้ามกำครัช กรณีนี้รถก็จะชะลอความเร็วลง มีระยะเบรคที่สั้นลงด้วยเช่นกัน แต่ก็ต้องฝึก ต้องลองทดสอบกับรถของตนเอง ให้เกิดความเคยชิน

เมื่อได้ทดสอบและรู้ประสิทธิภาพการเบรคของรถตัวเองแล้ว ก็จะใช้เบรคได้อย่างถูกต้อง ช่วยป้องกันอุบัตเหตุได้ในระดับหนึ่ง แต่ ไม่ทั้งหมด เพราะยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่มีโอกาสทำให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น ความไม่เคยชินกับรถ โดยเฉพาะรถใหญ่ รถบิ๊กไบค์ควรไป เรียนขับรถเพื่อศึกษาการขับขี่ที่ถูกต้อง ความประมาท หรืออาจมีรถ สัตว์เลี้ยง หรือคนวิ่งตัดหน้ากะทันหัน ฯลฯ