ความหมาย : สำนวนนี้มักจะใช้พูดถึงอุปนิสัยของคนเรา ซึ่งจะมีความรัก ความชอบไม่เหมือนกัน และ ไม่เท่ากัน บางคนก็ เลือกที่รัก มักที่ชัง ลำเอียงแสดงออกอย่างชัดเจน ว่าตัวเองชอบใคร หรือชอบอะไร เรื่องแบบนี้ก็เป็น ธรรมดาของคนเรา ที่จะต้องทำความเข้าใจ หากตัวเองกลายเป็นที่ชัง ก็จะได้ทำใจ ไม่ต้องไปคิดอะไรมาก

ตัวอย่าง :

คนเรานั้นมีความรัก ความชอบคน หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยงที่อยู่ใกล้ตัว มีความลำเอียง เลือกที่รัก มักที่ชัง ซึ่งเป็นเรื่องปกติของ คนเรา บางคนมีลูกสองคน พ่อก็รักลูกสาว แม่ก็รักลูกชาย บางคนมีสัตว์เลี้ยงหลายตัว ก็รักบางตัว ไม่ชอบบางตัว เพราะดื้อ ซน บ้าง

ในบางครอบครัว พ่อแม่นั้นมีความลำเอียง รักลูกไม่เท่ากัน แสดงออกอย่างชัดเจน เลือกที่รัก มักที่ชัง ลูกที่รักมาก ก็จะให้ สมบัติมาก เอาใจมาก เรื่องแบบนี้ต้องระวัง หากตัวเองมีทรัพย์สมบัติมาก ต้องแน่ใจว่าลูกที่ตัวเองรักมาก กว่าคนอื่นนั้น เป็น คนดีหรือไม่ หากไม่ใช่คนดี ก็ระวังปัญหาจะตามมาในบั้นปลาย เพราะเมื่อลูกสุดที่รักได้สมบัติตามที่ต้องการแล้ว มีไม่น้อยจะ ทอดทิ้งพ่อแม่ให้ได้รับความลำบาก เรื่องแบบนี้เห็นกันบ่อยๆ ที่สุดท้ายแล้ว ก็ต้องบากหน้าไปอยู่กับลูกที่ตัวเองไม่รักไม่ชอบ

นอกจากนี้ในยามที่ตัวเองแก่ตัวลง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือเจ็บป่วยนั้น จะต้องการคนช่วยดูแลหลายคน ลูกคนเดียวไม่ สามารถทำได้ ก็ต้องทำใจว่าลูกที่ชัง ก็จะคิดว่าพ่อแม่ไม่รัก ก็จะพาลไม่เข้าใจ ไม่มาให้เห็นหน้า หากลูกที่ตัวเองรักมากเพราะ ความลำเอียง ไม่สนใจไยดีด้วยแล้ว คราวนี้ลำบากแน่นอน ชีวิตบั้นปลาย เรื่องนี้มีตัวอย่างให้เห็นกันบ่อยๆ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิด จากการ เลือกที่รัก มักที่ชัง นั่นเอง

คนเราอาจจะมีความลำเอียง รักใครชอบใครเป็นบางคน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนฝูง ลูกหลาน หรือคนรอบตัว เลือกที่รัก มักที่ชัง รักไม่เท่ากัน เป็นเรื่องธรรมดาของคนเรา คนที่ชอบก็จะแนะนำแต่สิ่งดีๆ ให้ของดีๆ แต่คนที่ไม่ชอบก็จะไม่ช่วยเหลือ เรื่องนี้ หากเป็นคนใกล้ ตัวที่มีความเกี่ยวข้องกับตัวเอง เป็นลูกหลาน ก็ต้องยึดความยุติธรรมไว้ก่อน มีทรัพย์สมบัติก็แจกจ่ายให้เท่ากัน โดยเฉพาะคน เป็นพ่อแม่คน เพราะหากขาดความยุติธรรมแล้ว สุดท้ายคนที่จะต้องเสียใจก็คือตัวเอง

บางคนในยามลำบากหรือเจ็บป่วย ลูกสุดที่รักก็ทอดทิ้งไม่ไยดี ต้องจำใจอยู่กับลูกที่ตัวเองไม่รัก ไม่เคยช่วยเหลืออะไร ปล่อยให้เกิดและโตแบบบุฟเฟ่ หากินเอง เมื่อใดที่คิดได้ ก็จะมีแต่ความเสียใจ ที่ลำเอียงรักลูกไม่เท่ากัน  เลือกที่รัก มักที่ชัง คนที่ได้สมบัติไปหมด แล้วก็ทอดทิ้ง คนที่ต้องอยู่อาศัยด้วยก็ยากจน ไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้มากนัก คิดได้ก็สายไปแล้ว เรื่องแบบนี้ มีโอกาส เกิดกับทุกครอบครัว ดังนั้นการเป็นพ่อแม่จึงต้องยึดถือความยุติธรรมให้เท่าเทียมกันกับการปฏิบัติกับลูกหลาน