จัดการไฟล์ด้วย FileZilla
ก่อนอื่นก็ควรศึกษาการใช้โปรแกรมนี้ให้คล่องก่อน เพื่อให้เข้าใจถึงระบบการจัดเก็บข้อมูล ในเว็บไซต์และการจัดการกับไฟล์ที่อยู่ในนั้น ในบทที่ 1 จะกล่าวถึงแค่การดาวน์โหลดโปรแกรม มาติดตั้งไว้ในเครื่องเท่านั้น แต่บทนี้จะเจาะลึกการใช้งาน

 

ตั้งค่าการเชื่อมต่อกับเว็บไซต์
เป็นสิ่งแรกที่ต้องทำก็คือตั้งค่าในโปรแกรม FileZilla เพื่อเชื่อมต่อไปใช้ข้อมูล ไฟล์ต่างๆ ที่เก็บไว้ในเว็บไซต์ของเรา ซึ่งเมื่อสมัครขอฟรีเว็บไซต์หรือเช่าพื้นที่ทำเว็บไซต์ก็ตาม สิ่งที่ทางผู้ให้ บริการให้มา ก็คือข้อมูลสำหรับการตั้งค่า FTP

ตัวอย่างการใช้งานฟรีเว็บไซต์ www.joomlatips.kmancity.com
เป็นฟรีเว็บไซต์ที่ผู้เขียนสร้างขึ้นมาเพื่อใช้สร้างเว็บไซต์ตัวอย่างในหนังสือเล่มนี้ทั้งหมด จะ เป็นฟรีเว็บไซต์ที่ www.kmancity.com
1. คลิกแฟ้ม>>จัดการที่อยู่
2. คลิก สร้างที่ตั้งใหม่
3. พิมพ์ชื่อตามชื่อเว็บไซต์ เช่น joomlatips
4. คลิกและพิมพ์ชื่อโฮสต์ = ftp.kmancity.com
5. คลิกเลือกชนิดเซอร์เวอร์ = FTP-File Tranfer Protocol
6. Logontype คลิกเลือก ปกติ
7. ชื่อผู้ใช้ก็พิมพ์ลงไป เช่น This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
8. พิมพ์รหัสผ่านลงไป
9. พร้อมแล้วคลิกปุ่ม เชื่อมต่อ เข้าไปดูข้อมูลในเว็บไซต์
10. ถ้าเชื่อมต่อสำเร็จก็จะปรากฏข้อมูลข้างใน / จะเป็นตำแหน่งหลักที่เก็บไฟล์ข้อมูล ให้นำ เว็บเพจมาวางตรงนี้ หรือจะสร้างไดเรคทอรีย่อยเก็บข้อมูลให้เป็นระเบียบก็ได้
11. ส่วนลูกค้าท่านใดที่ได้ร้องขอให้ก็อปปี้โปรแกรมจูมล่า! ลงในฟรีเว็บไซต์ ภายใน / ก็ จะมีโฟลเดอร์ชื่อ joomla ซึ่งจะมีไฟล์ของจูมล่าอยู่ภายใน
12. ส่วนไฟล์ index.html หรือ index.php จะเป็นไฟล์เว็บเพจตัวอย่าง ลบทิ้งได้

ตัวอย่างการใช้งานเว็บไซต์จริงที่ www.siamcamping.com
นี่คือตัวอย่างการ FTP เข้าไปในพื้นที่เว็บไซต์จริงๆ ที่ได้เช่าทำเว็บไซต์
1. คลิกแฟ้ม>>จัดการที่อยู่
2. คลิก สร้างที่ตั้งใหม่
3. พิมพ์ชื่อตามชื่อเว็บไซต์ เช่น siamcamping
4. คลิกและพิมพ์ชื่อโฮสต์ เป็น ftp.siamcamping.com
5. คลิกเลือกชนิดเซอร์เวอร์เป็น FTP-File Tranfer Protocol
6. Logontype คลิกเลือก ปกติ
7. ชื่อผู้ใช้ก็พิมพ์ลงไป
8. พิมพ์รหัสผ่านลงไป ข้อมูลเหล่านี้ผู้ให้เช่าพื้นที่จะให้มา
9. พร้อมแล้วคลิกปุ่ม เชื่อมต่อ เข้าไปดูข้อมูลในเว็บไซต์
10. ถ้าเชื่อมต่อสำเร็จก็จะปรากฏข้อมูลข้างใน มีหลายโฟลเดอร์ สนใจเฉพาะโฟลเดอร์ชื่อ public_html ซึ่งจะเป็นโฟลเดอร์หลักที่ทำหน้าที่เก็บไฟล์ในเว็บไซต์ ให้ดับเบิ้ลคลิกโฟลเดอร์นี้ เพื่อ เข้าไปดูข้อมูลข้างใน ห้ามวุ่นวายกับโฟลเดอร์อื่นๆ เว็บอาจพังได้ ศึกษาหาความรู้ก่อน
11. การสร้างเว็บไซต์ ก็จะนำไฟล์ของ Joomla มาไว้ในนี้ โดยจะต้องจัดระบบเบียบสร้าง โฟลเดอร์เก็บไฟล์แยกเฉพาะของใครของมัน เช่น joomla เก็บไฟล์ของจูมล่า!