Sponsored Ads

บทความนี้จะมาแชร์ข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ ที่ควรรู้สำหรับผู้ที่กำลังจะปลูกบ้าน อยากให้เป็นที่อยู่ของสมาชิกใน ครอบครัว ให้พ่อแม่ พี่น้องได้มาอาศัยอยู่ร่วมกัน บางเรื่องก็ค่อนข้างสำคัญ ที่จะต้องรู้ก่อนจะเริ่มต้นสร้างบ้าน เพื่อ ให้ได้บ้านที่มีประโยชน์ใช้สอยมากที่สุด ไม่สร้างปัญหาในการอยู่อาศัย

 

บ้านเป็นสิ่งก่อสร้างที่ยากจะออกแบบและสร้างให้ลงตัว เพราะประสบการณ์ในการเจอกับปัญหาต่างๆ ในการ อยู่อาศัยนั้น หากไม่เคยมีประสบการณ์ ก็จะมีปัญหาอย่างแน่นอน ผู้เขียนไม่เคยมีบ้านเป็นของตัวเอง แต่เคยเช่า บ้าน เช่าห้อง อยู่อาศัยมาหลายแห่งมาก จึงได้เห็นปัญหา หรือ เรื่องต่างๆ ที่จำเป็นจะต้องรู้ก่อนลงมือสร้างบ้าน

 

ตัวอย่างเรื่องควรรู้

จำนวนสมาชิกในบ้าน

จำนวนสมาชิกในบ้านมีกี่คน ก็ต้องสร้างห้องให้เพียงพอ เพื่อให้แต่ละคนได้มีห้องของตน มีความเป็นส่วนตัว โดยเฉพาะเมื่อต่างโตขึ้น ทุกวันนี้เราสามารถทำงานจากที่บ้านได้ เรียนจากที่บ้านได้ ไม่ว่าจะงานบริษัท หรือ งาน ส่วนตัว การมีห้องส่วนตัว ก็จะเป็นที่ทำงานไปในตัวด้วย

 

นอกจากนี้ก็ต้องเผื่อให้ลูกหลานได้มาพัก แม้จะแยกตัวไปมีครอบครัวของตัวเองแล้วก็ตาม การมีห้องที่รองรับ สมาชิกหลายคน ก็ยังมีประโยชน์เวลาใครเจ็บป่วย ต้องมาช่วยกันดูแล ก็จะมีห้องให้พัก เป็นการส่วนตัว นอกจากนี้ ก็เผื่อเพื่อนฝูงมาเยี่ยมเยียน ก็จะมีห้องพักเป็นการส่วนตัวเช่นกัน

 

ห้องน้ำในบ้าน

ห้องน้ำเป็นส่วนที่ต้องให้ความสำคัญเหมือนกัน ซึ่งมีหลายเรื่องต้องรู้เช่น
1. ต้องมีห้องที่มีห้องน้ำในตัว เหมือนหอพัก เผื่อกรณีเจ็บป่วย ไม่สบาย ก็จะเข้าห้องน้ำได้สะดวก บางคนทำห้อง น้ำไว้นอกบ้าน สร้างปัญหาอย่างมากในเวลาที่จะต้องเข้าห้องน้ำ
2. ถังพักสำหรับห้องน้ำ ต้องแยกจากถังซักล้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เต็มเร็ว
3. ดูระดับน้ำใต้ดิน บางแห่งในหน้าฝนระดับน้ำใต้ดินจะสูงมาก จึงสร้างปัญหาทำให้ส้วมเต็มเร็ว กรณีนี้ห้องน้ำจำ เป็นจะต้องยกสูงสักหน่อย เพื่อป้องกันปัญหานี้
4. ควรมีห้องน้ำนอกบ้าน อาจจะอยู่บริเวณโรงรถ เอาไว้ให้เผื่อกรณ๊ทำงานนอกบ้าน ตัวเปียก ตัวเปื้อนจะได้ไม่ต้อง เข้าห้องน้ำในบ้าน และกรณีมีคนนอกมาเยี่ยมเยียน หรือ มีงาน ก็ไม่ต้องใช้ห้องน้ำในบ้าน อาจจะสร้างไว้บริเวณ โรงจอดรถ กรณีกลับจากที่ทำงาน ปวดหนัก ปวดเบา ก็สามารถเข้าห้องน้ำได้ทันที
5. โถส้อมต้องใช้แบบนั่ง อย่าใช้แบบโบราณ นั่งยอง จะลำบากยามเจ็บป่วย

 

แบบบ้าน

บ้านสำหรับสมาชิกหลายคน มีหลายห้อง ก็จะต้องเป็นบ้านหลังใหญ่ ซึ่งจะมีรูปแบบการจัดวางห้องหลายแบบ เช่น
1. แบบบ้านคล้ายทาวเฮาส์ พร้อมแบ่งสมบัติ แยกกันในอนาคต
2. สร้างเป็นตึกหลายชั้น แต่ละชั้นมีห้องแยกกัน เผื่อสมาชิกในบ้านอยู่ที่เดียวกัน เช่น พ่อแม่อยู่ชั้นล่าง ลูกอยู่ชั้นบน อยู่กันเป็นครอบครัว ก็คนละชั้น เป็นต้น
3. แบบบ้านทั่วไป มีหลายห้อง บ้านในลักษณะนี้มักจะพบกันได้ทั่วไป คนส่วนใหญ่นิยมสร้างบ้านแบบนี้


4. กรณีอยู่ในทำเลที่ดี สถานที่ท่องเที่ยว ก็ควรเน้นแบบบ้านที่รองรับการเปิดรับลูกค้า นักท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน บางคนทำบ้านอยู่เองหลังเล็กๆ แต่หลังใหญ่เอาไว้ปล่อยเช่ารายวัน รายเดือน แต่ละเดือนก็ทำรายได้มีเงินเลี้ยงตัว เองได้ยามแก่ชรา
5. เน้นแบบบ้านมาตรฐานทั่วไป เข้าแบงก์ได้ เผื่อขาย หรือ กู้เงินมาใช้จ่าย ลงทุน

 

แบบบ้านทำแล้ว เปลี่ยนไม่ได้ จะสร้างแบบใด จะต้องดูองค์ประกอบอื่นๆ อีกหลายด้าน บางคนจะเน้นบ้าน แบบทาวเฮ้าส์ เผื่อแบ่งให้เช่า หรือให้เช่าทำรายได้ในอนาคตด้วยเช่นกัน และกรณีมีพี่น้องหลายคน ก็แบ่งสมบัติกัน ได้เลย แต่หากเป็นบ้านใหญ่ บางทีอาจจะต้องรื้อทิ้งแบ่งสมบัติกัน แล้วต่างคนต่างก็ปลูกใหม่

 

ที่ดินหรือตำแหน่งปลูกบ้าน

การปลูกในที่ดินของตัวเอง ตำแหน่งปลูกบ้าน ควรจะให้ความสำคัญเช่นกัน มีหลายเรื่องต้องคิดให้รอบด้าน เช่น
1. บางคนปลูกบ้านไว้กลางพื้นที่ ทำให้เสียพื้นที่โดยรอบไป เพราะปลูกบ้านได้หลังเดียว แต่หากปลูกบ้านให้ชิด ด้านใดด้านหนึ่ง ก็จะเหลือพื้นที่ให้สามารถปลูกบ้านเพิ่มได้อีก หรืออาจจะแบ่งขายในอนาคต
2. มีลูกหลานหลายคน การวางแผนเรื่องการแบ่งสมบัติ มรดกให้ลูกหลาน ต้องคิดให้รอบคอบ พ่อแม่บางคนก็ยก บ้านให้ลูกหลานที่ดูแลตัวเอง บางคนก็แบ่งอย่างยุติธรรม ไม่ลำเอียง บางครอบครัว มีลูกบางคนโสด อยู่กับพ่อแม่ ก็ได้บ้านไป เรื่องนี้ละเอียดอ่อนต้องคิดให้รอบด้าน
3. การปลูกบ้านโดยเงินลงทุนของลูกคนใด คนหนึ่ง ปลูกให้ครอบครัวได้อยู่ร่วมกัน ในพื้นที่ที่ดินของพ่อแม่ ควรจะ ปลูกในตำแหน่งที่จะแบ่งที่ดินนั้นให้ตัวเองในอนาคต จะได้ไม่มีปัญหากันภายหลัง หรือกรณีปลูกในพื้นที่ของตัว เองก็เช่นเดียวกัน ก็ต้องคิดเผื่อลูกๆ ของตนเองด้วย
4. ระวังการปลูกบ้านติดถนนมากเกินไป อาจจะมีปัญหาทั้งจากเสียงรถและฝุ่นรบกวน บางคนปลูกบ้านไว้ท้ายที่ดิน เพราะเผื่อด้านหน้าทำร้านขายของ หรือปล่อยให้เช่า
5. สร้างบ้านแยกเป็นหลังๆ ตามจำนวนสมาชิก เพราะในอนาคต แต่ละคนก็จะแยกตัวไปมีครอบครัว ก็จะต้องขยับ ขยาย ซื้อที่ดิน สร้างบ้านของตัวเอง การสร้างบ้านหลังน้อยๆ แบบนี้ ก็เผื่อปล่อยให้เช่า แบ่งขาย ผู้เขียนชอบบ้าน สไตล์นี้ เล็กดี


6. การปลูกบ้านในที่ดินของคนอื่น ต้องเผื่อการรื้อถอนด้วย บางคนแต่งงานกัน ฝ่ายหนึ่งเป็นคนออกทุนปลูกบ้าน ไม่นานก็เลิกรากัน เงินก็หมดไป เพราะบ้านปูนรื้อถอนไม่ได้

 

ที่จอดรถยนต์

ที่จอดรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ต้องวางแผนเช่นกัน เพราะในอนาคตลูกหลานย่อมจะมีรถยนต์ มากกว่าหนึ่งคัน หรืออย่างน้อยก็ต้องเผื่อเพื่อนฝูงมาเยี่ยมเยียนด้วย บางคนปลูกบ้านหลังใหญ่เต็มพื้นที่ ก็จะมีปัญหาเรื่องการจอด รถในที่เพื่อนบ้าน

 

บางคนทำบ้านสองชั้น เน้นที่จอดรถชั้นล่าง ด้านข้าง บางคนก็ทำที่จอดรถไว้ด้านหลังบ้าน

 

คนออกทุนปลูกบ้าน

ในกรณีใช้เงินทุนของพ่อแม่ ปลูกบนที่ดินตัวเอง ก็ตามแต่เจ้าของบ้าน แต่หากเป็นลูกหลานเป็นผู้ออกทุนปลูก บ้าน จำเป็นจะต้องวางแผนให้ดี เช่น
1. ปลูกในตำแหน่งที่จะแบ่งที่ดินนั้นๆ ให้ตัวเองในอนาคต กรณีมีลูกหลานหลายคน
2. ซื้อที่ดินและปลูกบ้านในที่ดินของตนเอง เพื่อป้องกันปัญหากับสมาชิกในครอบครัวบางคน ที่เห็นแก่ตัว

 

ความสัมพันธ์ของพ่อแม่พี่น้อง

ความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว เป็นอีกเรื่องที่จะต้องพิจารณา บางคนมาทำงานต่างจังหวัด ส่งเงินกลับ บ้านให้พ่อแม่พี่น้องปลูกบ้าน ก็หวังว่าสักวันจะกลับมาอยู่ด้วยกัน โดยเฉพาะช่วงที่ตกงาน หรืออยากจะเกษียณตัว เอง แต่เมื่อตกงานกลับมาบ้าน ก็ไม่มีใครต้อนรับ ทุกคนกลัวเป็นภาระ ต้องระหกระเหินกลับไปอยู่ที่อื่นด้วยความ เจ็บปวดใจ

 

คนเรานั้นมีวันเปลี่ยน โดยเฉพาะพี่น้องที่่เริ่มโตขึ้น เริ่มแยกตัวมีครอบครัวของตนเอง เมื่อนั้น ความเป็นพี่น้อง จะลดลง ไปเรื่อยๆ จนอาจจะกลายเป็นคนอื่น คนไกล จึงต้องเผื่อใจและเตรียมรับมือในเรื่องนี้เอาไว้ด้วย อย่าคิด ว่าจะไม่เกิดกับตัวเอง ดังนั้นหากเป็นการปลูกบ้านบนที่ดินของคนอื่น ที่ไม่ใช่ที่ดินของตัวเอง จะกลายเป็นว่า ไป ปลูกให้เขาฟรีๆ อยู่ก็ไม่ได้ น่าช้ำใจยิ่งนัก แนวทางป้องกันปัญหา ก็ต้องปลูกบนที่ดินตัวเอง หรือที่ที่คิดว่า ทางบ้าน จะแบ่งให้ตัวเอง

 

สร้างบ้านเผื่อตัวเองตอนแก่หรือเจ็บป่วย

การปลูกบ้านมีหลายเรื่องที่ต้องคิดเผื่อเอาไว้ ศึกษาในเรื่องที่ตัวเองยังไม่เคยมีประสบการณ์ โดยเฉพาะคนโสด บางคนก็จะอยู่กับพ่อแม่ ก็ต้องนึกถึงวันที่พ่อแม่เริ่มแก่ชรา ช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้ หรือตัวเองต้องอยู่คนเดียว จึงต้องวางแผน ออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกเผื่อตัวเอง และทำในขณะที่ยังมีโอกาส ตัวอย่างเช่น
1. ห้องที่มีห้องน้ำในตัว
2. ทางเดินในบ้านที่ไม่ต่างระดับมากนัก บางคนปลูกบ้านหลังใหญ่ ทำห้องน้ำไว้ท้ายบ้าน ระยะห่างกันเกิน 10 เมตร แถมพื้นที่ต่างระดับอีกต่างหาก ไม่อยากจะนึกภาพ ในวันที่อายุมากขึ้น จนถึงเวลาที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
3. บ้าน 2 ชั้น ก็ต้องทำบันใดแบบมีที่พักด้วย ป้องกันอันตรายจากการตกบันได
4. พื้นที่ไว้ปลูกพืชผักรอบบ้าน เผื่อยามแก่ชรา ตกงาน ไม่มีรายได้ แม้จะมีเงินเพียงน้อยนิด ก็อยู่ได้

 

ค่าใช้จ่ายของสมาชิกในบ้าน

การที่มีหลายคนอยู่ในบ้าน พ่อแม่พี่น้อง ก็จะมีค่าใช้จ่าย เพิ่มมากขึ้น เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ บางบ้านเดือนละ หลายพันบาท เพราะเปิดแอร์ทุกห้อง ใช้คอมพิวเตอร์ ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ดังนั้นต้องวางแผนเรื่องนี้ด้วย บางบ้าน ก็มีลูกบางคนที่มีนิสัยเห็นแก่ตัว ใช้แต่ไม่ช่วยเรื่องค่าใช้จ่าย เมื่อต้องอยู่ร่วมกันหลายคน ก็ต้องวางแผนเรื่องนี้ให้ดี ใครจะช่วยอะไรอย่างไร ต้องรับผิดชอบตัวเองในเรื่องใด เท่าไร ต้องคุยกัน

 

เผื่อเพื่อนบ้าน ถมที่ดินสูงขึ้น

เรื่องนี้ก็เป็นประสบการณ์ตรง บ้านของพ่อผู้เขียนเอง ซึ่งปลูกโดยไม่ได้ถมที่ให้สูงและยังทำพื้นบ้านติดดิน เหมือนบ้านปูนทั่วไป ซึ่ง ณ เวลานั้น ก็ไม่มีบ้านใครเลย อยู่เดี่ยวๆ แต่ปัจจุบันกลายเป็นที่ต่ำที่สุด หน้าฝนน้ำท่วม บ้าน บางคนจะเน้นบ้านที่มีระดับ อาจมีใต้ถุนบ้านประมาณ 1 เมตร หรือน้อยกว่านั้น จะไม่ทำพื้นบ้านติดดิน เผื่อ รองรับเพื่อนบ้านโดยรอบ ซึ่งก็มักจะถมที่ให้สูงขึ้น

 

อย่าปลูกบ้านเต็มพื้นที่ ต้องเผื่อพื้นที่ไว้ใช้สอย

ควรเหลือพื้นที่ในบริเวณบ้านไว้บ้าง เอาไว้ทำสวนครัว ปลูกพืชผักไว้กินเอง หรือหากมีลูก ก็ใช้เป็นที่เอาไว้สอน ลูกๆ ให้ฝึกปลูกพืชผักกินเอง ไม่เพียงช่วยประหยัดเงิน ได้สุขภาพที่ดี ปลอดสารพิษ แต่ในบางสถานการณ์ก็มี ประโยชน์มาก อย่างช่วงเกิดโรคระบาด ก็จะมีแหล่งอาหารของตัวเองในบ้าน พื้นที่แม้เพียงเล็กน้อย ก็สามารถปลูก พืชผักได้หลายชนิด โดยผักกินใบ และอย่าปล่อยให้ต้นโตเกินไป อย่างกระถินต้นนี้อายุหลายปี หมั่นแต่งกิ่งให้อยู่ แค่นี้ ไม่ให้โต กินไม่ทันก็ต้องตัดทิ้ง ไม่เปลืองน้ำ เปลืองปุ๋ย เปลืองพื้นที่ หรือไม่ก็ปลูกลงกระถาง ดูแลง่าย

 

สรุป

การปลูกบ้านให้ลงตัว ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีประสบการณ์จึงจะมองออกว่า บ้านควรมีคุณสมบัติหรือองค์ ประกอบอะไรบ้าง ผู้เขียนไม่เคยปลูกบ้่านเป็นของตัวเอง แต่เคยเช่าบ้านมาหลายแห่งมาก จึงพอจะรู้ถึงปัญหาที่จะ เกิดขึ้นตามมา ในหลายๆ เรื่อง เพื่อให้เกิดปัญหาในการอยู่อาศัยน้อยที่สุด