Sponsored Ads

 

การสวดมนต์เป็นมงคลแก่ชีวิต ช่วยสร้างบุญกุศลให้ตนเอง สำหรับชาวพุทธท่านใดที่อยากสวดมนต์ แต่ไม่เคยสวดมนต์มาก่อน ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ไม่รู้ว่าจะต้อง สวดบทใดบ้าง ก็สามารถจะใช้บทสวดต่อไปนี้ เป็นแนวทางได้ โดยเริ่มไปตามลำดับ ตามหัวข้อที่ได้จัดวางไว้

 

วิธีสวดมนต์สำหรับมือใหม่

สำหรับการสวดมนต์ ผู้สวดมือใหม่สามารถเริ่มต้นได้ตามลำดับ ดังนี้
1. การเตรียมตัวสวดมนต์
2. บทสวดมนต์พื้นฐาน
3. บทสวดมนต์ต่างๆ
4. บทสวดสวดบทคาถาต่างๆ
5. การแผ่เมตตาหลังสวดมนต์

 


 

การเตรียมตัวสวดมนต์

1. ข้อนี้สำคัญมากที่สุด ทำใจให้พร้อม ทำใจให้บริสุทธิ์ สวดด้วยความตั้งใจจริง จะเป็นผลดีต่อตัวเองมากที่สุด
2. ก่อนจะสวดมนต์ ควรอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด ใส่เสื้อผ้าสะอาด แต่ไม่จำเป็น หากไม่สะดวก สถานการณ์ไม่อำนวย ขอให้ใจสะอาดก็พอแล้ว มัวแต่เรื่องมาก ก็ไม่ ได้สวดกันพอดี
3. เลือกเวลาสวดได้ตามต้องการ เช่น ก่อนนอน หรือหลังตื่นนอน เหมือนพระทำวัตรเช้าและทำวัตรเย็น หรือตามแต่ความสะดวกของ อย่าไปยึดติดเรื่องเวลา หรือกังวล กับเรื่องใด ว่างตอนไหน อยากสวดเมื่อใด ก็สวดมนต์ได้ทันที บางครั้งอยู่ในสถานการณ์คับขัน อันตราย หรือต้องการความอบอุ่นทางใจ ก็สวดได้เลย การทำบุญ สร้างบุญ ให้ตนเอง จะไปรอเวลาทำไม ว่างทั้งวันจะสวดทั้งวัน ก็ได้บุญทั้งวัน ได้ความสงบ สบายใจทั้งวัน
4. สวดออกเสียง กรณีการสวดมนต์ในห้องคนเดียว สามารถสวดแบบมีเสียงได้ เพื่อให้สิ่งรอบตัว คน สัตว์ เทวดา วิญญาณ ได้ฟังด้วย ก็จะได้กุศลมากยิ่งขึ้น
5. สวดมนต์ในใจ กรณีอยู่ในสถานที่มีผู้คนมากมาย ที่ทำงาน บนรถสาธารณะ สามารถสวดในใจ ไม่มีเสียง แต่ได้บุญเหมือนกัน
6. มือใหม่ยังสวดไม่คล่อง สวดผิดๆ ถูกๆ ช้าบ้าง จังหวะ ไม่ไพเราะ ไม่มีปัญหาอะไร อยู่ที่ความตั้งใจ และการสวดด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ ก็ได้บุญ ได้กุศลกับตัวเองเช่นเดียว กัน

 


 

บทสวดมนต์พื้นฐาน

รวมบทสวดมนต์พื้นฐาน ให้ปฏิบัติไปตามลำดับ ดังนี้

 

การปรับลมหายใจ และ จิตใจให้สงบก่อนเริ่มสวดมนต์

1. หายใจเข้าช้าๆ แล้ว หายใจออกช้าๆ พร้อมกับนับ 1
2. หายใจเข้าช้าๆ แล้ว หายใจออกช้าๆ พร้อมกับนับ 2
2. หายใจเข้าช้าๆ แล้ว หายใจออกช้าๆ พร้อมกับนับ 3
* หรือมากกว่านี้ จนกว่าจะรู้สึกว่า จิตใจเริ่มสงบ ก็เริ่มสวดมนต์ได้เลย

 

การกล่าว อัญเชิญเทวดาและขอพรพระ ก่อนสวดมนต์

** ก่อนสวดมนต์ ให้กล่าวอัญเชิญเทวดา และขอพรพระก่อน ดังนี้ **

ข้าแต่พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า ข้าพเจ้าขอน้อมอัญเชิญ เทพยดาเจ้าทั้งหลาย โปรดได้เสด็จมาฟังการสวดมนต์ของข้าพเจ้า ขอให้มาอนุโมทนา และประสิทธิ์ ประสาทพรให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ

ข้าพเจ้าขอขมากรรม หากกรรมใดที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้วพลาดผิดประการใด ด้วยกาย วาจา และด้วยใจก็ดี ตั้งแต่อดีตชาติเป็นต้นมาจวบจนในวันนี้ ทั้งที่ตั้งใจก็ดี ไม่ตั้งใจ ก็ดี ทั้งที่ข้าพเจ้าระลึกได้ก็ดี ระลึกไม่ได้ก็ดี ทั้งที่ข้าพเจ้ารู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี และรู้เท่าถึงการณ์ก็ดี

ขอทุกๆ พระองค์ ทุกๆ ดวงวิญญาณ เจ้ากรรมนายเวร จงโปรดเมตตาอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ

ข้าพเจ้า ขอถวายพระพร ขอทุกๆ พระองค์จงทรงพระเกษมสำราญ จงทรงพระชนม์อายุยืนนาน จงทรงพระญาณบารมีสูงยิ่งๆ ขึ้นไปเทอญ

ขอพระองค์ท่านทั้งหลาย จงประทานพรให้ข้าพเจ้า พ้นจากสัพทุกข์ สพพะโศรก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร จงพ้นไปจากตัวของพาพเจ้า และขอให้ ข้าพเจ้าได้ตาทิย์ หูทิพย์และเจโตปริยะญาณ พร้อมทั้งเกิดดวงตาเห็นธรรม ได้สำเร็จมรรคผล นิพพาน เทอญ
สาธุ สาธุ
กราบ 3 ครั้ง

 

สวด นสัสการพระพุทธเจ้า (นะโม 3 จบ)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

 

สวด บูชาพระรัตนตรัย (สวดมนต์)

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สะหวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)
มาตา ปิตุ คุณัง อะหัง วันทามิ (กราบ)
คุรูปัชฌายาจาริยะ คุณัง อะหัง วันทามิ (กราบ)

 

สวด อาราธนาศีล 5

ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

 

สวด ไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

 

สวด บทถวายพรพระ หรือ อิติปิโส

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชา จะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะธัมมะ สาระถิ สัตถาเทวะ มะนุสสานัง
พุทโธ ภะคะวะติ สะหวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม
สันทิฏฐิโกอะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุไนยโย ปาหุไนยโย ทักขิไณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัส สาติ

 


 

ตัวอย่างบทสวดมนต์ยอดนิยม

บทสวดมนต์ที่นิยมสวดกันนั้น มีหลายบท ซึ่งจะมีอานิสงส์เมื่อสวด ต่างกันไป สามารถเลือกสวดได้ตามความชอบ เวลา หรือตามแต่สถานการณ์ เช่น กำลังเดินทาง อาจจะสวดบทสวดที่ให้ความคุ้มครอง หรือ การนอนต่างถิ่น ในป่า ควรสวด กรณียเมตตสูตร เป็นต้น

 

1. บทสวด ชุมนุมเทวดา

** อานิสงส์ ของ บทสวด นี้ เป็นการเชื้อเชิญให้เทวดามาร่วมฟังบทสวดมนต์ เชื่อกันว่า เมื่อบรรดาเทวดามาร่วมฟังการสวด ก็จะช่วยปกป้องคุ้มครองให้ปลอดภัย ภัย อันตรายต่างๆ ไม่สามารถมากล้ำกรายผู้สวด ในอาณาบริเวณนั้น

ตั้งนโม 3 จบ ก่อนสวด ดังนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

สะรัชชัง สะเสนัง สะพันธุง นะรินทัง
ปะริตตานุภาโว สะทา รักขะตูติ
ผะริต๎วานะ เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา

อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ
สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน ทีเป รัฏเฐ
จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุม๎หิ เขตเต ภุมมา จายันตุ เทวา
ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา ติฏฐันตา สันติเก ยัง
มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ ฯ
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา ฯ

 

2. บทสวด กรณียเมตตปริตร หรือ กรณียเมตตสูตร

** อานิสงส์ สวดแล้วเทวดารักษา ภูตผีปีศาจไม่รบกวน เป็นที่รักของทั้งเทพ เทวดา มนุษย์และปีาศาจ เวลาไปนอนต่างถิ่น ต่างบ้าน ตามป่า เขา แคมปิ้ง ควรสวด เพื่อ ให้นอนหลับสบาย **

ตั้งนโม 3 จบ ก่อนสวด ดังนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
สันตินท๎ริโย จะ นิปะโก จะ อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา

เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา
ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
ภูตา วา สัมภะเวสี วา สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา

นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
พ๎ยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ
มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

เมตตัญจะ สัพพะโลกัส๎มิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ พ๎รัห๎มะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน
กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ

 

3. บทสวด พระคาถายอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก

** อานิสงส์ ของ บทสวด นี้ เชื่อกันว่า ผู้สวดจะไม่ตกอบายภูมิ ป้องกันอันตรายต่างๆ สวดครบ 7 วัน สวดครบอายุจะดีมาก จะบังเกิดโชคลาภ พ้นเคราะห์ภัยอันตราย ทุกข์ โศก ทั้งปวง**

ตั้งนโม 3 จบ ก่อนสวด ดังนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

1. อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วัจจะโส ภะคะวา

2. อะระหัง ตัง สะระณัง คัจฉามิ อะระหัง ตัง สิระสา นะมามิ
สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ
วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ
สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ สุคะตัง สิระสา นะมามิ
โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ

3. อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะธัมมะสาระถิ วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วัจจะโส ภะคะวา

4. อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ
ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ ปุริสะทัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ พุทธัง สิระสา นะมามิ

5. อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา

6. อิติปิ โส ภะคะวา ปะถะวีจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา เตโชจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา วาโยจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อาโปจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

7. อิติปิ โส ภะคะวา ยามาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวาตุสิตาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระติธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

8. อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมาฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

9. อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะเนวะสัญญา นาสัญญา ยะตะนะ อะรูปาวะจะระ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะ เนวะสัญญานา สัญญายะตะนะอะรูปาวะ จะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ เนวะสัญญานา สัญญายะตะนะ อะรูปาวะ จะระธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

10. อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปะฏิมัคคะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาปะฏิ มัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

11. อิติปิ โส ภะคะวา โสตาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

12. กุสะลา ธัมมา อิติปิ โส ภะคะวา อะ อา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ชมภูทีปัญจะอิสสะโร กุสะลา ธัมมา นะโม พุทธายะ นะโม ธัมมายะ นะโม สังฆายะ
ปัญจะ พุทธา นะมามิหัง อาปามะจุปะ ทีมะ สังอังขุ สังวิธาปุ กะยะปะ อุปะสะ ชะสุ
เหปาสา ยะโสโส สะสะ อะอะ อะอะ นิเตชะ สุเนมะ ภูจะนาวิเว อะสังวิสุโล ปุสะ ภุพะ อิสวาสุ สุสวาอิ กุสะลา ธัมมา จิตติวิอัตถิ

13. อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง อะ อา ยาวะชีวัง
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ สาโพธิ ปัญจะ อิสาะโร ธัมมา

14. กุสะลา ธัมมา นันทะวิวังโก อิติ สัมมาพุทโธ สุคะลาโน
ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ จาตุมะหาราชิกา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา
อิติ วิชชาจะระณะสัมปันโน อุอุ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตาวะติงสา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นันทะ ปัญจะ สุคะโต โลกะวิทู
มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ยามา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา พรหมมา สัททะ ปัญจะ สัตตะ
สัตตา ปาระมี อะนุตตะโร ยะมะกะขะยาวะ ชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

15. ตุสิตา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา ปุยะ ปะกะ ปุริ สะทัมมะสาระถิ
ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

16. นิมมา นะระติ อิสสะโร กุสะลา ธัมมา เหตุโปวะ สัตถา เทวะมะนุสสานัง
ตะถา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

17. ปะระนิมมิตะ อิสสะโร กุสะลา ธัมมา สังขาระขันโธ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
รูปะขันโธ พุทธะ ปะผะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

18. พรหมมา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นัจจิปัจจะยา
วินะปัญจะ ภะคะวะตา ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ
พุทธิลาโล กะลา กะระกะนา เอเตนะ สัจเจนะ
สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ

19. นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ
วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ
อัตติ อัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

20. อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง พรหมะสาวัง มะหาพรหมะสาวัง
จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติสาวัง เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง
อิสิสาวัง มะหาอิสิสาวัง มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง สัปปุริสาวัง มะหาสัปปุริสาวัง
พุทธะสาวัง ปัจเจกะ พุทธะสาวัง อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิวิชชา
ธะรานัง สาวัง สัพพะโลกา อิริยานัง สาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ

21. สาวัง คุณัง วะชะ พะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิกัมมัง
นิพพานัง โมกขัง คุยหะกัง ถานัง สีลัง ปัญญานิกขัง
ปุญญัง ภาคะยัง ตัปปัง สุขัง สิริ รูปัง จะตุวีสะติ
เสนัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ
หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

22. นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ
สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม อิติปิโส ภะคะวา

23. นะโม พุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

24. นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

25. นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

26. นะโม สังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะ ปะริตตัง

27. นะโม พุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
ยาวะ ตัสสะ หาโย นะโม อุอะมะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
อุ อะมะ อาวันทา นะโม พุทธายะ นะอะ กะติ นิสะ ระนะ อาระปะ ขุธัง มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะ นัต ตา

 

4. บทสวด พาหุง มหากา

** อานิสงส์ ของ บทสวด พาหุง หรือ พุทธชัยมงคงคาถา นี้ เป็นการกล่าวถึงบารมีของพระพุทธเจ้าที่เอาชนะมาร การสวดมีอานิสงส์นำสิริมงคลมาให้แก่ทั้งผู้สวด และ ผู้ฟัง เพื่อให้ชนะอุปสรรคต่างๆ ที่กำลังประสบพบเจอ บางท่านแนะนำว่า ไม่ควรสวดในป่า หรือในสถานที่ที่น่าจะมีภูตผี วิญญาณ เปรต อสูรกาย สัมภเวสี หรือโอปปาติกะ อาจจะมีปัญหา นอนไม่สบาย หรือมีสิ่งเหล่านั้นมารบกวน **

ตั้งนโม 3 จบ ก่อนสวด ดังนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

พาหุงสะหัส สะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆ ระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

มาราติเร กะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะยะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกาวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฉฐะคาถา โย
วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ

 

5. บทสวด ชินบัญชร

** อานิสงส์ ของ บทสวด นี้ เชื่อกันว่าเป็นสุดยอดแห่งคาถา เป็นการ อาราธนาบารมี คุณแห่งพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ มาปกป้องคุ้มครองตัว.ขจัดภัยจากสิ่งชั่วร้าย แต่ บทสวดเหล่านี้ บางท่านแนะนำว่า ไม่ควรสวดในป่า หรือในสถานที่ที่น่าจะมีภูตผี วิญญาณ เปรต อสูรกาย สัมภเวสี หรือโอปปาติกะ อาจจะมีปัญหา นอนไม่สบาย หรือมีสิ่ง เหล่านั้นมารบกวน ควรสวดในบ้านของตน หรือ สถานที่เฉพาะ **

ตั้งนโม 3 จบ ก่อนสวด ดังนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.
ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา.
สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.
หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก.
ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.
เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
กุมาระกัสสโป เถโร มะเหสี จิตตะ วาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิคุณากะโร.
ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ อุปาลี นันทะ สีวะลี เถรา
ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ.
เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.
ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
ชินา นานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตา
วาตะปิตตาทะสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.
อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะ เตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.
ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.
อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว ธัมมานุภาเวนะ
ชิตาริสังโฆ สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.

 

6. บทสวด พระคาถามหาจักรพรรดิ

** อานิสงส์ ของ บทสวด นี้ เชื่อกันว่า สวดแล้วให้โชคลาภ ร่ำรวย หมั่นสวดบ่อยๆ จะเกิดพลังงานบุญที่ยิ่งใหญ่ **

ตั้งนโม 3 จบ ก่อนสวด ดังนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

นโม พุทธายะ พระพุทธะไตรรัตนญาณ
มณีนพรัตน์ สีสหัสสะ สุธรรมา
พุทโธ ธัมโม สังโฆ ยะธาพุทโมนะ
พุทธะบูชา ธัมมะบูชา สังฆะบูชา
อัคคีทานัง วรังคันธัง สีวลี จะ มหาเถรัง
อหัง วันทามิ ทูรโต อหัง วันทามิ ธาตุโย
อหัง วันทามิ สัพพะโส
พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ

(สวดตามวัน อาทิตย์ 6 จบ / จันทร์ 15 จบ / อังคาร 8 จบ / พุธ 17 จบ /พฤหัส 19 จบ / ศุกร์ 21 จบ และ เสาร์ 10 จบ )

 

7. บทสวด โพชฌงคปริตร

** อานิสงส์ ของ บทสวด นี้ เชื่อกันว่า เป็นบทสวดที่ช่วยขจัดโรคร้าย สำหรับผู้สวด และ ผู้ที่ได้ฟัง **

ตั้งนโม 3 จบ ก่อนสวด ดังนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

โพชฌังโคสะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา วิริยัมปีติปัสสัทธิ โพชฌังคา จะตะถาปะเร สะมาธุเปกขะโพชฌังคา สัตเต เต สัพพะทัสสินา มุนินา สัมมะทักขาตา ภาวิตา พะ หุลีกะตา

สังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ จะ โพธิยา เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯเอกัสะมิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง คิลาเน ทุกขิเต ทิสะวา โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ เต จะ ตัง อะภินันทิตะวาโรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯ เอกะทา ธัมมะราชาปิ เคลัญเญนาภิปีฬิโต จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ ภะณาเปตะวานะ สาทะรัง สัมโมทิตะวา จะ อาพาธา ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส เอเตนะ สัจจะวัชเชนะโสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯ

ปะหีนา เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ มะเหสินัง มัคคาหะตะกิเลสาวะ ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะโสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯ

 


 

การแผ่เมตตาหลังสวดมนต์

หลังจากการสวดมนต์แล้ว ควรแผ่เมตตาให้เหล่าสรรพสัตว์ พ่อแม่ พี่น้อง เพื่อนฝูง ลูกหลาน หรือ เทวดา ภูตผี ดวงวิญญาญ ฯลฯ การแผ่เมตตาก็จะเป็นการสร้างบุญ กุศลให้วเองเช่นกัน หรืออย่างน้อยที่สุด ก็ต้องแผ่เมตตาให้ตัวเอง

 

สวดมนต์ แผ่เมตตาแก่ตนเองก่อน

อะหัง สุขิโต โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข

นิททุกโข โหมิ
ปราศจากความทุกข์

อะเวโร โหมิ
ปราศจากเวร

อัพยาปัชโฌ โหมิ
ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง

อะนีโฆ โหมิ
ปราศจากความทุกข์การทุกข์ใจ

สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ
มีความสุขกายสุขใจรักษาตนให้พ้นจากทุกภัยทั้งสิ้นเถิด

 

สวดมนต์ แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์

สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

อะเวรา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

อัพะยาปัชฌา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

การทำสมาธิหลังสวดมนต์

หลังจากสวดบทสวดมนต์เสร็จแล้ว หากมีเวลาว่าง ก็ควรนั่งทำสมาธิซักพัก แล้วจึงแผ่เมตตาให้เจ้ากรรมนายเวร สรรพสัตว์ทั้งหลาย หลังออกจากสมาธิ เพื่อให้ได้บุญ กุศลมากยิ่งขึ้น

 


 

ดาวน์โหลดไว้ในมือถือ ไม่ต้องต่อเน็ต

สำหรับผู้อ่านท่านใดที่ไม่ได้เชื่อมต่อเน็ตตลอดเวลา สามารถดาวน์โหลดคู่มือนี้ไปเก็บไว้ในมือถือ เพื่อความสะดวกในการเปิดใช้งาน

ดาวน์โหลดบทสวดมนต์ประจำวัน